200 แชร์โพสต์ในโซเฃียล หลังกลุ่มนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เปิดแสดงความคิดเห็นหลักสูตรครู4ปี


เพิ่มเพื่อน    

23ต.ค.61-โซเชียล แห่แชร์ โพสต์ "นิสิตครูว่าไง นโยบายใหม่ศธ.4หรือ 5” กว่า 200 แชร์ พร้อม แสดงความคิดเห็นหลากหลาย ทำให้ยังไม่มีข้อสรุป


ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ตามที่คณะกรรมการนิสิตปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (USCE) ได้เปิดพื้นที่ให้นิสิตนักศึกษาครู ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อ ”ถ้าหากวันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับฟังความคิดเห็นของคุณได้คุณอยากจะบอกอะไรรับท่านเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ?”  ประเด็น “นิสิตครูว่าไง นโยบายใหม่ศธ.4หรือ 5” ตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา ขณะนี้มีผู้สนใจแชร์เรื่องดังกล่าวถึง 209 ครั้ง กดสัญลักษณ์ถูกใจ จำนวน 179 ครั้ง สัญลักษณ์หน้า ว้าว 5 ครั้ง สัญลักษณ์หน้าหัวเราะ 4 ครั้ง สัญลักษณ์หัวใจ 3 ครั้ง  สัญลักษณ์หน้าโกรธ 2 ครั้ง สัญลักษณ์หน้าเศร้า 1 ครั้ง และแสดงมีผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็น จำนวน 75 ข้อความ

โดยการแสดงความคิดเห็นเป็นไปในทิศทางที่หลากหลาย มีทั้งข้อความในเชิงลบ เช่น "นโยบายไร้คุณภาพ ที่มาที่ไปไร้เหตุผล แก้ปัญหาไร้ความสำเร็จ ปฏิบัติตามกันไร้ความเข้าใจ ผล/ปัญหาที่ตามมาไร้ความรับผิดชอบ...การบริหารการศึกษาไทยโดยคนที่ไม่ศึกษาข้อเท็จจริงอย่างจริงจัง ก็คงขาดความเข้าใจอย่างแท้จริง และสังคมไทยก็คงไม่สามารถพัฒนาได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืนหรอก... ทัศนคติที่พวกฝ่ายบริหารควรปรับเปลี่ยนอย่างมีสติ คิดสิคิด คิดถึงบริบทของสังคมไทย คิดถึงคนไทย คิดถึงเด็กไทย คิดถึงอนาคตชาติไทย เอาให้เหมาะสมไม่ใช่ถมแต่ความคิดของตัวเอง ที่คิดเองเออเองมาตลอด." 
ข้อความเชิงบวก เช่น "เรียนหลักหลักสูตร 4 ปีมาก็ว่าดีอยู่นะคะ ขอให้รักในอาชีพจริงๆ พอมาทำงานก็ต้องมีความมุ่งมั่นในวิชาชีพ ที่สำคัญคือพื้นฐานจากครอบครัวและการศึกษาทั้งประถมและมัธยม ที่จะหล่อหลอมความรู้และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เขาแล้วส่งต่อมาในระดับอุดมศึกษา ต้องเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันมาอย่างดีไม่มีตกหล่นระหว่างทาง 4  ปีในรั้วมหาวิทยาลัยก็น่าจะเพียงพอค่ะ" 
และข้อความที่อธิบายข้อดีและข้อเสียของการปรับเปลี่ยน เช่น "ขอให้ข้อมูลในฐานะครู 4 ปีรุ่นเกือบสุดท้าย ระยะเวลา 4 ปี ฝึกสอน 1 ภาคเรียน สิ่งที่คิดว่าต่าง ณ ช่วงเวลานั้นคือ เรื่องความเข้าใจในบริบทของโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานจริง ถ้าวัดคุณภาพครูที่กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประสบการณ์ 5 ปี ย่อมดีกว่า 4 ปี ถ้าวัดด้วยการสอบด้วยข้อสอบปรนัย 4 ปีและ 5 ปี ก็ย่อมมีความรู้ไม่แตกต่างกันมาก ประสบการณ์,การแก้ไขปัญหา,จิตวิทยาการเรียนรู้ วัดไม่ได้ด้วยข้อสอบ รวมถึง การเป็นครูในสังกัด ต่างๆก็จะมีบริบทที่ต่างกัน เมื่อเข้าสู่วิชาชีพ ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยให้สามารถจัดการต่อปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดกับครูในระบบบ่อยครั้ง เนื่องมาจากบทบาทที่เป็นข้าราชการที่จะต้องสนองนโยบายต่อหน่วยงานระดับที่สูงกว่าโรงเรียน

ถ้าผู้บริหารระดับสูงมีความเข้าใจ เห็นใจ และต้องการให้เกิดการพัฒนา ของวิชาชีพครู ก็ควรจะมีความหนักแน่น คิดพิจารณาให้รอบด้าน การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ผลกระทบอีกหลายสิบปีต่อคุณภาพของคนในชาติ คุณภาพจะสอดคล้องกับกระบวนการคัดสรร สร้างสรรค์ ส่งเสริม และสนับสนุน ไม่ใช่ ใครก็ได้ที่จะทำหน้าที่ ครู"


ทั้งนี้ทางคณะกรรมการนิสิตปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (USCE) ได้แสดงความคืดเห็นด้วยว่า "อยากให้ทุกท่าน comment กันเชิงสร้างสรรค์ มีคุณค่าทางวิชาการ สามารถนำไปปรับใช้ได้ และมีประโยชน์ต่อสังคมนะครับ"
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"