รายงานตัวเลขผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/2561 กันเรียบร้อยแล้ว สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ทั้ง 11 แห่ง ซึ่งตัวเลขผลการดำเนินงานที่ออกมาก็เป็นไปตามที่คาดการณ์ โดยมีตัวเลขกำไรสุทธิรวมกันทั้งสิ้น 5.51 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.63 พันล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิรวมกันอยู่ที่ 4.74 หมื่นล้านบาท
ส่วนผลงานในงวด 9 เดือน ปี 2561 (ม.ค.-ก.ย.) นั้น กลุ่มธนาคารพาณิชย์โกยกำไรสุทธิรวมกันไปได้จำนวน 1.61 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.6 หมื่นล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิรวมกันอยู่ที่ 1.45 หมื่นล้านบาท โดยตัวเลขกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นทั้งในไตรมาสที่ 3 และในงวด 9 เดือน ปี 2561 นี้ เป็นผลมาจากการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและดีขึ้นของเศรษฐกิจไทย รวมถึงความพยายามในการผลักดันโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ไปจนถึงความชัดเจนของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่เป็นกำลังสำคัญในการเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคเอกชนที่จะลงทุนตาม ทำให้มีความต้องการใช้สินเชื่อเพิ่มขึ้นเป็นลำดับนั่นเอง
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งยอมรับว่ามีตัวเลขรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าภาพรวมผลการดำเนินงานจะมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นก็ตาม ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบมาจากมาตรการการยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัล สะท้อนจากตัวเลขรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด
“อาทิตย์ นันทวิทยา” กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ ยอมรับว่า รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยของธนาคารอยู่ที่ 1.03 หมื่นล้านบาท ปรับตัวลดลง 9.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะได้รับผลกระทบจากการยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัล หลังจากที่ลูกค้าส่วนใหญ่นิยมใช้บริการดิจิทัลมากขึ้น โดยในไตรมาส 3/2561 ธนาคารมีจำนวนลูกค้าบนแพลตฟอร์มดิจิทัลสูงถึง 7.9 ล้านคน เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2560 ที่ผ่านมา มีผู้ใช้บริการอยู่ที่ 5.5 ล้านคนเท่านั้น ประกอบกับมีร้านค้าที่หันไปใช้บริการชำระค่าสินค้าและบริการในระบบแม่มณีมากกว่า 1 ล้านร้านค้า ภายในเวลาอันรวดเร็ว ในช่วงไม่ถึง 1 ปี
เช่นเดียวกับ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย ที่ยอมรับว่ารายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ปรับตัวลดลง 3.52 พันล้านบาท คิดเป็น 7.34% ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยที่ลดลง และแน่นอนจากผลกระทบของการยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลด้วยเช่นกัน
เรื่องนี้น่าสนใจ เพราะเมื่อย้อนไปดูตัวเลขข้อมูลรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการของธนาคารพาณิชย์ไทย ในปี 2560 ซึ่งอยู่ที่ 1.96 แสนล้านบาท จากธนาคาร 30 แห่ง ซึ่งพบว่าตัวเลขรายได้ในส่วนนี้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ในปีนี้เชื่อว่ารายได้ตรงนี้ของธนาคารพาณิชย์อาจจะไม่เหมือนที่ผ่านมา แม้ว่าหลายฝ่ายจะประเมินว่ารายได้จะหายไปไม่มากก็ตาม เพราะการยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลจะยังถือเป็นส่วนน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนรายการที่คิดค่าธรรมเนียมของธนาคารทั้งหมด 12 รายการ อาทิ ค่าบริการบัตร ATM บัตรเดบิต เป็นต้น
แต่ปัจจัยสำคัญและน่าจับตาอยู่ที่บริการ “พร้อมเพย์” ที่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันมีประชาชนหันไปใช้บริการนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ดูจากตัวเลขสรุปการให้บริการพร้อมเพย์ ครบรอบ 1 ปี มียอดการทำธุรกรรมสูงถึง 127 ล้านรายการ มูลค่ารวม 4.9 แสนล้านบาท โดยค่าเฉลี่ยยอดการโอนผ่านบริการพร้อมเพย์ อยู่ที่ 3,860 บาทต่อครั้ง และมียอดผู้ใช้บริการพร้อมเพย์ทั้งสิ้น 39.3 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นบัญชีผูกกับบัตรประชาชน 26.7 ล้านเลขหมาย และบัญชีผูกกับเบอร์มือถืออีก 12.6 ล้านเลขหมาย สะท้อนชัดเจนว่าประชาชนมีความพร้อมใช้บริการพร้อมเพย์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้วยปัจจัยดังกล่าวนี้เอง ที่สะท้อนว่าธนาคารพาณิชย์ต้องเร่งปรับตัวหันมาสู้ศึกในแพลตฟอร์มดิจิทัลกันรุนแรงมากขึ้น การผลักดันแอปพลิเคชันที่มีฟังก์ชั่น มีบริการที่ทันสมัย จะเกิดขึ้นเพื่อช่วงชิงตลาดในส่วนนี้ การเพิ่มฐานลูกค้าในมุมดิจิทัลจะกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญของธนาคารพาณิชย์ ควบคู่ไปกับกลยุทธ์ด้านอื่นๆ เช่น การลงทุน ค่าธรรมเนียมอื่นๆ อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าท้ายที่สุด “ประชาชน” น่าจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการที่ทันสมัย และกลยุทธ์การแข่งขันของสถาบันการเงินที่งัดกันออกมาช่วงชิงลูกค้านั่นเอง.
ครองขวัญ รอดหมวน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |