ปัญหาทำร้าย-ทอดทิ้งผู้สูงวัย เรื่องใกล้ตัวที่ต้องเข้าถึงเข้าใจ


เพิ่มเพื่อน    

(“กอดหอมพ่อแม่ตั้งแต่วัยเยาว์” วิธีบอกรักเสริมสร้างครอบครัวอบอุ่น และแก้ปัญหาลูกหลานทอดทิ้งและทำร้ายบุพการี)

    เป็นข่าวอยู่เสมอๆ กับเหตุการณ์ลูกแท้ๆ ทำร้ายพ่อแม่สูงวัย กระทั่งได้รับบาดเจ็บเลือดตกยางออก หรือผู้ใหญ่บางรายเสียชีวิต หรือแม้แต่การใช้คำพูดรุนแรง ทำร้ายจิตใจคนวัยเกษียณ ตลอดจนการทอดทิ้งให้ท่านต้องอยู่ลำพัง สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าบุตรหลานจะทำไปโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ แต่การระลึกอยู่เสมอว่า บุพการีนั้นเป็นผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นสิ่งที่พึงกระทำ ทว่ารายละเอียดของการประพฤติไม่เหมาะกับพ่อแม่ย่อมมีความละเอียดซับซ้อน และเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ทั้งนี้ เพื่อให้การดูแลกันและกันของคนในครอบครัวอบอุ่นและเข้าใจกันทุกฝ่ายมากขึ้น นพ.ประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์ ให้ข้อมูลไว้น่าสนใจ  

(นพ.ประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์)

    นพ.ประพันธ์อธิบายว่า “อันดับแรกเมื่อพบเห็นข่าวลูกหลานทำร้ายคนสูงวัย หมอแนะนำว่ายังไม่ควรไปตีตราบุตรหลานที่กระทำรุนแรงต่อผู้สูงวัย แต่เราต้องแยกประเด็นปัญหาให้ออกก่อนว่า สาเหตุสำคัญที่เขาได้กระทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อพ่อแม่มันเกิดจากอะไร เช่น หากว่า “ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์” ที่โดยปกติแล้วอาการของผู้ป่วยนั้นมักจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น จากที่กินอาหารแล้วบอกว่าไม่ได้กิน หรือทำอะไรแล้วก็มักจะบอกว่าไม่ได้ทำ หรือบางครั้งมีคำพูดหยาบคายขึ้นมา เช่น คำว่า “ตอแหล” โดยที่ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวเอง เนื่องจากเป็นภาวะของโรคประจำตัว 

(แก้ปัญหาลูกหลานทำร้ายผู้ป่วยอัลไซเมอร์ สังคมอย่าเพิ่งตัดสินบุตรหลานที่กระทำรุนแรง เพราะการแก้ปัญหาที่ตรงจุด คือการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคให้บุตรหลานรับรู้ และผู้ดูแลเองจำเป็นต้องพาพ่อแม่ไปปรึกษาแพทย์ด้านสมอง เพื่อนำมาสู่การรักษาที่ตรงจุดในผู้ป่วย จะช่วยแก้ปัญหาได้ 2 เรื่องพร้อมกัน)

    แต่ลูกหลานที่ดูแลต้องเป็นคนรับฟังทุกวัน ตรงนี้จะทำให้เขาเกิดความเครียด กระทั่งแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา ในลักษณะของการกระโชกโฮกฮากต่อพ่อแม่ กระทั่งทำให้ผู้ที่พบเห็นมองว่าเป็นลูกที่ไม่ดี ตรงนี้ทางออกที่ดีที่สุด หมออยากแนะนำให้ลูกหลานที่ต้องดูแลพ่อแม่ป่วยโรคดังกล่าวเข้าใจอาการพื้นฐาน เนื่องจากเป็นอาการของโรค และจำเป็นต้องพาท่านไปพบแพทย์ด้านสมอง เพื่อรับการบำบัดอย่างถูกวิธี อีกทั้งคนภายนอกเองก็ต้องไม่รีบตีตราและตัดสินบุตรหลานที่ต้องดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะเขาอาจจะไม่เข้าใจปัญหาสุขภาพของพ่อแม่ เมื่อแก้ปัญหาตรงจุด มันก็จะลดความรุนแรงลงได้ทุกฝ่าย
    อีกหนึ่งสาเหตุของการ “ทำร้ายพ่อแม่เพราะฤทธิ์ของยาเสพติด” อันที่จริงแล้วเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ตรงนี้อาจไม่ใช่ความอกตัญญู เพราะอย่าลืมว่าผู้เสพนั้นไม่สามารถควบคุมสติและอารมณ์ได้ เพราะยาเสพติดจะมีผลต่อสมอง ทำให้ขาดสติและความยับยั้งชั่งใจได้ลดน้อยลง ที่สำคัญเมื่อเขาได้ลงมือทำร้ายพ่อแม่ไปแล้ว เมื่อมีสติก็จะมาเสียใจในภายหลัง ตรงนี้สังคมจึงไม่ควรตีตราความผิดเช่นเดียวกัน แต่ทางแก้ไขปัญหาคือ ต้องพาลูกหลานที่มีประวัติการใช้ยาเสพติดไปรักษาให้หายขาด เพื่อให้กลับมาดูแลผู้ให้กำเนิดด้วยความอบอุ่นอีกครั้ง หรือหากิจกรรมที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยทำ เพื่อป้องกันการใช้ยาเสพติดซ้ำอีก
    สุดท้ายคือปัญหาที่พบได้บ่อยๆ คือ “บุตรหลานปฏิเสธดูแลพ่อแม่เพราะขาดศีลธรรม” กรณีนี้มักพบในพ่อแม่ปกติไม่เจ็บป่วย แต่ถูกลูกหลานปล่อยปละละเลยไม่ดูแล โดยที่ไม่ได้ประสบปัญหาด้านสุขภาพแต่อย่างใด หรือสามารถประกอบอาชีพได้ปกติ ตรงนี้อาจเข้าข่ายอกตัญญู การแก้ปัญหานั้นก็คงต้องกลับมาที่การปลูกฝังเรื่องศีลธรรม ซึ่งอาจจะต้องขอความร่วมมือจากสถานศึกษาในการอบรมบ่มเพาะในเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องของการที่เราเป็นลูกหลาน จะต้องมีหน้าที่กตัญญูรู้คุณผู้ให้กำเนิด 
และสิ่งที่ลืมไม่ได้อีกอย่างหนึ่งคือ “การกอดพ่อแม่” บ่อยๆ และต้องหมั่นทำให้เคยชินตั้งแต่เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กผู้ชายที่หลายคนมักจะอายกับการกอดพ่อแม่ ตรงนี้อาจจะต้องปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมของเรา อีกทั้งเราต้องยอมรับว่าสังคมไทยขาด    ในเรื่องนี้ เพราะบางครั้งลูกหลานไม่จำเป็นต้องบอกให้พ่อแม่รู้ว่ารัก แต่การแสดงความรักด้วยการโอบกอดจะทำให้ครอบครัวอบอุ่นได้ ลองคิดเอาง่ายๆ ว่า ตอนที่เราเป็นเด็กและพ่อแม่กอดเรา เด็กๆ ยังรู้สึกอบอุ่น ดังนั้นเมื่อเราโตขึ้นและหมั่นไปกอดท่านบ่อยๆ ผู้สูงอายุจะรู้สึกดีแค่ไหน ดังนั้นการกอดบุพการีเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และยังเป็นตัวเชื่อมครอบครัวให้อบอุ่น ที่จะช่วยแก้ปัญหาการทอดทิ้งผู้สูงวัยได้ทางหนึ่ง แต่ทุกอย่างก็ต้องประกอบกันหลายส่วน โดยเฉพาะความกตัญญูรู้คุณผู้ให้กำเนิดร่วมด้วย”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"