พาณิชย์เผยธุรกิจ ก.ย. ปิดกิจการพุ่ง 11%


เพิ่มเพื่อน    

 

จัดตั้งธุรกิจก.ย. 6,313 ราย ลด 3% ส่วนยอดเจ๊ง 1,899 ราย พุ่ง 11% “พาณิชย์” รับทั้งปีจดจัดตั้งอาจพลาดเป้า 8 หมื่นราย แต่ยังเติบโตมากกว่าปีก่อน

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า สถิติการจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนก.ย. 2561 พบว่ามีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศจำนวน 6,313 ราย ลดลง 3% เทียบกับก.ย. 2560 มูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ 4.80 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 52% ส่งผลให้การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) 2560 มีจำนวน 5.62 หมื่นราย เพิ่มขึ้น 1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ช่วง 9 เดือนมูลค่า 2.40 แสนล้านบาท ลดลง 9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรกเดือนก.ย. 2561 ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไปจำนวน 592 ราย คิดเป็นสัดส่วน 9% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 356 ราย คิดเป็นสัดส่วน 6% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 182 ราย คิดเป็นสัดส่วน 3%

“การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในเดือนก.ย.ลดลงประมาณ 3% ถือเป็นตัวเลขไม่น่ากังวล สาเหตุที่มีการจัดตั้งธุรกิจลดลงน่าจะเป็นรอบวัฎจักรของการจดทะเบียนในช่วงนี้จะน้อยกว่าทุกปีอยู่แล้ว เพราะช่วงต้นปีมีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้นมาก ส่วนกรณีที่นักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาไทยน้อยลง ไม่น่าจะกระทบต่อยอดการจัดตั้งธุรกิจในอนาคต เพราะเชื่อว่ารัฐบาลจะสร้างความเชื่อมั่นดึงนักท่องเที่ยวกลับมาได้” นายวุฒิไกร กล่าว

สำหรับการจดทะเบียนเลิกกิจการเดือนก.ย. 2561 มีจำนวน 1,899 ราย เพิ่มขึ้น 11% เทียบกับก.ย. 2560 มีมูลค่าทุนจดทะเบียนเลิกกิจการ 6,555 ล้านบาท ลดลง 37.58% ส่งผลให้มีการจดทะเบียนเลิกกิจการช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) 2561 จำนวน 1.16 หมื่นราย เพิ่มขึ้น 0.31% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีทุนจดทะเบียนเลิกกิจการช่วง 9 เดือน มูลค่า 6.23 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ขณะที่ ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรกในเดือนก.ย. 2561 ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไปจำนวน 177 ราย คิดเป็นสัดส่วน 9% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 128 ราย คิดเป็นสัดส่วน 7% และธุรกิจค้าสลากกินแบ่ง จำนวน 58 ราย คิดเป็นสัดส่วน 3%

นายวุฒิไกร กล่าวว่า ส่วนแนวโน้มการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจปี 2561 คาดว่าอาจจะมียอดการจัดตั้งไม่ถึงเป้าหมายที่เคยประเมินไว้ทั้งปี 8 หมื่นราย แต่มีขยายตัวมากกว่าปี 2560 ที่มียอดการจดจัดตั้งทั้งสิ้น 7.45 หมื่นราย ซึ่งสาเหตุที่ยอดการจัดตั้งขยายตัวไม่ถึงเป้าดังกล่าว เนื่องจากปีที่ผ่านมารัฐบาลมีการออกมาตรการให้นิติบุคคลสามารถนำสินทรัพย์มาใช้เป็นทุนจดทะเบียน ทำให้เพิ่มแรงกระตุ้นในการเข้ามาจดจัดตั้งมากขึ้น โดยในปีนี้รัฐบาลไม่ได้ขยายระยะเวลามาตรการดังกล่าว ทำให้การจดจัดตั้งขยายตัวไม่ร้อนแรงเหมือนปีที่ผ่านมา

“ทิศทางการจัดตั้งธุรกิจยังมีแนวโน้มสดใส โดยคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มียอดการจด 7.45 หมื่นราย แต่อาจได้ไม่ถึงเป้าหมายที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ 8 หมื่นราย เนื่องจากไม่ได้มีการขยายเวลาใช้มาตรการให้นิติบุคคลสามารถนำสินทรัพย์มาใช้เป็นทุนจดทะเบียน แต่ก็ยังมีแนวโน้มการเติบโตอยู่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐที่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป และอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวสูงสุด รวมทั้งมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองและชุมชน ส่งผลให้ธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร และ ที่พักโรงแรม ในส่วนภูมิภาคเกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้น” นายวุฒิไกร กล่าว

ปัจจุบันมีธุรกิจดำเนินกิจการ (ณ วันที่ 30 ก.ย. 2561) จำนวน 7.10 แสนราย  มูลค่าทุน 18.01 ล้านล้านบาท  แบ่งเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 1.85 แสนราย คิดเป็นสัดส่วน 26.07%  บริษัทจำกัด 5.24 แสนราย  คิดเป็นสัดส่วน 73.76% และบริษัทมหาชนจำกัด 1,216 ราย คิดเป็นสัดส่วน 0.17%


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"