สานพลัง พม.และหน่วยงานภาคีแก้ปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกินจังหวัดสระแก้ว   มอบที่ดินนิคมสร้างตนเอง-ที่ดิน สปก.ให้ชาวบ้านที่ขาดแคลนกว่า 3,000 ไร่


เพิ่มเพื่อน    

จ.สระแก้ว/ สานพลัง พม. และหน่วยงานภาคีแก้ไขปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกินใน จ.สระแก้ว  มอบที่ดินนิคมสร้างตนเอง  100  ไร่ให้ประชาชน  79 ครอบครัว  เพื่ออยู่อาศัยและทำกิน  เตรียมขยายผลที่ดินนิคมฯ ทั่วประเทศ  และนำที่ดิน ส.ป.ก.ที่ยึดคืนจากผู้ครอบครองที่ไม่ถูกต้องในจังหวัดกว่า 3,000 ไร่  นำมาจัดสรรให้ประชาชนที่ขาดแคลนที่ดินทำกินครอบครัวละ 6 ไร่  โดย พอช.สนับสนุนงบสร้างบ้านและพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวละ 72,000 บาท  ด้าน ผช.รมต.พม.เผยจะนำเรื่องที่ดินของหน่วยงานรัฐที่ไม่ใช้ประโยชน์มาให้ประชาชนได้ทำกินเสนอเข้าคณะกรรมการจัดการที่ดินแห่งชาติเพื่อพิจารณาเดือนหน้า

 

วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี  องค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World  Habitat  Day’  มีเป้าหมายเพื่อให้นานาประเทศให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย  หรือมีที่อยู่อาศัยที่ไม่เหมาะสม  และหาแนวทางแก้ไขปัญหา  โดยในปี 2561 นี้  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’  ร่วมกับขบวนองค์กรชุมชน  และหน่วยงานต่างๆ จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกขึ้นในจังหวัดต่างๆ  ตลอดช่วงเดือนตุลาคมนี้  เพื่อรณรงค์แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของประชาชนที่มีรายได้น้อย

 

โดยวันนี้ (19 ตุลาคม)  ที่บริเวณที่ดินนิคมสร้างตนเอง  ตำบลผ่านศึก  อ.อรัญประเทศ  จ.สระแก้ว  มีการจัดงานเนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลก  “สานพลัง พม.และภาคี  ก่อสร้างสุข  เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน”   โดยมีพลเอกสุรศักดิ์   ศรีศักดิ์  ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ  นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์  รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  นางสาวเฉลิมศรี  ระดากูล  ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  นายวิชิต  ชาตไพสิฐ  ผู้ว่าฯ จ.สระแก้ว  ผู้แทนหน่วยงานต่างๆ  ผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสระแก้ว  และประชาชนเข้าร่วมงานประมาณ 500   คน

 นายปาลิน  ธำรงรัตนศิลป์  ผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสระแก้ว  กล่าวว่า  การจัดงานในวันนี้  มีสาระสำคัญคือ  การมอบที่ดินทำกินในพื้นที่นิคมสร้างตนเองตำบลคลองน้ำใสพื้นที่ 100 ไร่  (อยู่ในการดูแลของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  กระทรวง พม.) ให้แก่ประชาชนที่มีรายได้น้อยและขาดแคลนที่ดินทำกินในตำบลผ่านศึก      อ.อรัญประเทศ  จำนวน  79 ครอบครัว  โดยแต่ละครอบครัวจะได้ที่ดินปลูกสร้างบ้าน  30-45 ตารางวา  ขนาดบ้าน  4x6 - 6x8  ตารางเมตร  และที่ดินทำกินครอบครัวละ 1 ไร่  โดยมอบให้ในลักษณะที่ดินแปลงรวม  ไม่ให้กรรมสิทธิ์และไม่สามารถซื้อขายได้  โดยประชาชนที่เข้าอยู่อาศัยจะมีรายได้จากการปลูกผักสวนครัว  สมุนไพร  ไม้ยืนต้น  ไม้เศรษฐกิจ  ฯลฯ  และจะเริ่มก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเร็วๆ นี้

 

นอกจากนี้ภายในงานวันนี้ยังมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU.) “การพัฒนาโครงการบ้านมั่นคงชุมชนในพื้นที่นิคมสร้างตนแอง”  ระหว่างกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  อบต.ผ่านศึก  และขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสระแก้ว

 

“เจตนารมณ์ของบันทึกความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในครั้งนี้  เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตและการอยู่อาศัยของคนจนในชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของนิคมสร้างตนเองตำบลคลองน้ำใส  ให้มีความมั่นคง  มีสภาพแวดล้อม  สังคม  และเศรษฐกิจที่ดี  โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา  ทั้งนี้ครัวเรือนที่เข้าอยู่อาศัยในที่ดินนิคมฯ จะมีกระบวนการพัฒนาต่างๆ  เช่น  มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์  เพื่อเป็นแหล่งทุนของชุมชน  มีการสร้างระบบเศรษฐกิจ  การสร้างอาชีพ  รายได้  ด้วยการทำเกษตรกรรมที่ปลอดภัยไร้สารพิษ  มีการจัดการขยะ  น้ำเสีย  ฯลฯ  เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่มีรายได้น้อย”  นายปาลินกล่าว  และว่า  นอกจากที่ดินของนิคมสร้างตนเองตำบลคลองน้ำใสที่นำมาจัดสรรให้แก่ประชาชนที่มีรายได้น้อยแล้ว  ยังมีที่ดินนิคมสร้างตนเองทั่วประเทศอีกประมาณ 40 แห่งที่จะนำมาจัดสรรให้แก่ประชาชนที่มีรายได้น้อยและขาดแคลนที่ดินทำกินต่อไป

 

นางสาวเฉลิมศรี  ระดากูล  ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  กล่าวว่า  พอช.ได้สนับสนุนการการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประชาชนที่เข้าร่วมในโครงการนี้จำนวน 79  ครอบครัวตามโครงการบ้านมั่นคงชนบทที่ พอช.ดำเนินการอยู่ทั่วประเทศ  โดยแบ่งเป็นงบสร้างบ้าน  40,000 บาท  งบสาธารณูปโภคและคุณภาพชีวิต  24,800 บาท  การจัดขบวน/การรวมกลุ่ม 7,200 บาท  เฉลี่ยครัวเรือนละ 72,000 บาท  รวมเป็นเงินทั้งหมด  5,688,000 บาท

 

นอกจากนี้ในจังหวัดสระแก้ว  พอช.ได้ร่วมกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  (ส.ป.ก.) นำที่ดิน ส.ป.ก.ที่ยึดคืนมาจากผู้ที่ครอบครองไม่ถูกต้องนำมามอบให้แก่ประชาชนที่ขาดแคลนที่ดินทำกินตามนโยบายของรัฐบาล  โดยในจังหวัดสระแก้วมีที่ดินที่ยึดคืนมาจำนวน  6 แปลง  คือ  1.แปลงที่ดิน ส.ป.ก. ตำบลหนองม่วง  อ.หนองม่วง  ขนาดพื้นที่ 655 ไร่เศษ    2.ที่ดิน ส.ป.ก. ตำบลป่าไร่  อ.อรัญประเทศ  ขนาดพื้นที่ 578 ไร่เศษ   3.ที่ดิน ส.ป.ก. ตำบลคลองหินปูน                อ.วังน้ำเย็น  ขนาดพื้นที่ 318 ไร่เศษ  4.ที่ดิน ส.ป.ก. ตำบลหนองแวง  อ.หนองม่วง  ขนาดพื้นที่ 611 ไร่เศษ  5.ที่ดิน ส.ป.ก. ตำบลโนนหมากเค็ง  ขนาดพื้นที่ 693 ไร่เศษ  และ 6.ที่ดิน ส.ป.ก. ตำบลวัฒนานคร  อ.วัฒนานคร   ขนาดพื้นที่ 326 ไร่เศษ  รวมทั้งหมด  3,181 ไร่เศษ

 

ทั้งนี้ พอช.มีเป้าหมายสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เข้าอยู่อาศัยในที่ดิน   ส.ป.ก. ในจังหวัดสระแก้วช่วงปี 2561-2562  รวม 219 ครัวเรือน   ครัวเรือนละ  72,000  บาท   งบประมาณรวม  15.7 ล้านบาทเศษ  โดยขณะนี้ดำเนินการแล้วในที่ดิน ส.ป.ก.หนองม่วง  อ.หนองม่วง  จำนวน  63 ครัวเรือน  โดยแต่ละครัวเรือนจะได้รับที่ดินสร้างบ้าน 1 ไร่  และที่ดินทำกิน  5 ไร่  นอกจากนี้ยังสนับสนุนการซ่อมแซมบ้านเรือนที่ยากจนมีสภาพทรุดโทรม  ตามโครงการบ้านพอเพียงชนบทในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว  รวม  298  ครัวเรือน  ครัวเรือนหนึ่งไม่เกิน 18,000 บาท  รวมเป็นเงิน  5,190,000  บาท

 

ขณะที่ตั้งแต่ปี 2558  ส.ป.ก.ได้ยึดที่ดินคืนจากผู้ที่ครอบครองไม่ถูกต้องทั่วประเทศแล้วประมาณ  300,000 ไร่  เพื่อนำมาจัดสรรเป็นที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนที่ขาดแคลนที่ดินทำกิน   โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  มีเป้าหมายจะสนับสนุนการสร้างบ้านมั่นคงชนบทในที่ดิน ส.ป.ก.ประมาณ 2,000 ครัวเรือน   ซึ่งขณะนี้ดำเนินการไปแล้วใน 10 จังหวัด  เช่น  กาญจนบุรี  อุทัยธานี  นครราชสีมา  สระแก้ว  ฯลฯ

พลเอกสุรศักดิ์ (เสื้อน้ำเงิน)

พลเอกสุรศักดิ์  ศรีศักดิ์  ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง พม. กล่าวว่า  พื้นที่นิคมสร้างตนเองในอดีตเป็นพื้นที่ที่ทางราชการสงวนเอาไว้เพื่อความมั่นคง  เพราะเป็นพื้นที่ชายแดน  แต่ปัจจุบันปัญหาตามแนวชายแดนคลี่คลายลงไป  จึงนำที่ดินนี้มาให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยและทำกินสำหรับประชาชนที่มีความเดือดร้อน  นอกจากนี้ในช่วงเดือนหน้า (พฤศจิกายน) กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ จะนำเรื่องที่ดินของหน่วยงานรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ทั่วประเทศ  มานำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดการที่ดินแห่งชาติ (คทช./มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) เพื่อให้พิจารณาอนุญาตให้ประชาชนที่ยากจนได้เข้าไปใช้ประโยชน์  ซึ่งในช่วงแรกอาจจะให้อยู่อาศัยและทำกินในลักษณะชั่วคราว  ระยะเวลา 30 ปี

 

“ช่วงแรกอาจให้ประชาชนอยู่อาศัยชั่วคราวก่อนในรูปแบบการเช่า  หากแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แล้ว  ต่อไปอาจจะให้เอกสารสิทธิ์แก่ประชาชน  ซึ่งหากผลักดันไม่สำเร็จในรัฐบาลนี้  ก็ต้องรอรัฐบาลชุดต่อไป  และจะต้องช่วยกันผลักดันต่อไป  ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ   รัฐบาลตั้งเป้าหมายว่าประชาชนทุกคนจะต้องมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง”  พลเอกสุรศักดิ์กล่าว

มอบหนังสือเข้าทำประโยชน์ในที่ดินนิคมฯ

 

สำหรับสถานการณ์ที่อยู่อาศัยในประเทศไทย   ประเทศไทยมีครัวเรือนทั้งหมดประมาณ 21 ล้านครัวเรือนมีประชาชนที่มีรายได้น้อยขาดแคลนที่อยู่อาศัยประมาณ  3 ล้านครัวเรือน  รัฐบาลมอบหมายให้การเคหะแห่งชาติจัดทำแผนงานรองรับประชาชนในลักษณะการเช่าหรือเช่าซื้อประมาณ  2 ล้านครัวเรือน   สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ จัดทำแผนแม่บทพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี ( พ.ศ.2560-2579)  สำหรับประชาชนที่มีความเดือดร้อนและมีรายได้น้อย จำนวนประมาณ 1 ล้านครัวเรือน  ขณะนี้ดำเนินการไปแล้วประมาณ 100,000 ครัวเรือน  ตามโครงการต่างๆ  เช่น  บ้านมั่นคงเมือง, บ้านมั่นคงชนบท, บ้านพอเพียงชนบท (สนับสนุนการซ่อมแซมบ้านเรือนที่มีสภาพทรุดโทรม)  การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าว, คนไร้บ้าน  รวมทั้งการสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่อาศัยในที่ดินนิคมสร้างตนเองและที่ดิน ส.ป.ก.

 

ลงนามบันทึกความร่วมมือ                

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"