เมื่อเร็วๆนี้ "โอเลย์" ทำการสำรวจกับกลุ่มผู้หญิงไทย เพื่อสอบถามทัศนคติของผู้หญิงเกี่ยวกับอายุที่มากขึ้น พบว่า 86 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงไทยรู้สึกไม่ยุติธรรมที่สังคมได้ตั้งความคาดหวังในตัวพวกเธอโดยตัดสินจาก “ช่วงอายุ” กว่า 94 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิง ในช่วงอายุ 25 - 30 ปี ยอมรับว่า ต้องเผชิญกับความคาดหวังจากคนรอบข้างให้พวกเธอมีอาชีพการงานที่มั่นคง พร้อมสภาพทางการเงินที่คล่องตัว นอกจากนี้ผู้หญิงกว่า 80 เปอร์เซนต์ ยังถูกคาดหวังให้มีความสัมพันธ์ที่มั่นคงในช่วงอายุนี้อีกด้วย
ขณะที่วัย 30 คือ ช่วงอายุที่ผู้หญิงรู้สึกว่าตัวเองถูกสังคมคาดหวังและจับตามองมากเป็นพิเศษในทุกๆ เรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการแต่งงานมีครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ ที่มีมากถึงกว่า 71 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วย ความคาดหวังที่ต้องรีบมีลูกหลังแต่งงาน กว่า 64 เปอร์เซ็นต์
จะเห็นได้ว่าผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ยังคงต้องเผชิญกับความคาดหวังจากสังคมและคนรอบข้างในทุกช่วงอายุ ส่งผลให้ผู้หญิงกว่าครึ่งประเทศมีความกลัวในเรื่องของอายุที่เพิ่มขึ้น เพราะรู้ดีว่าอายุที่เพิ่มขึ้นนั้นมาพร้อมกับความคาดหวังจากคนรอบข้าง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |