“กรุงไทย” ลุ้นเศรษฐกิจไทยปีนี้โตแรงแตะ 4.5% ด้านไอเอ็มเอฟประเมินจีดีพีมีโอกาสขยายตัวได้ถึง 4.6% จากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่ง ไม่สะท้านปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน อาทิ สงครามการค้าที่ยืดเยื้อระหว่างสหรัฐ-จีน การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และการขยับพอร์ตสินเชื่อเสี่ยงของนักลงทุน
นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงาน Global Business Development and Strategyธนาคารกรุงไทย เปิดเผยถึงกรณีที่รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) เดือน ต.ค. 2561 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่าเศรษฐกิจไทยดีขึ้นกว่ารายงานเมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา โดยปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโต 4.6% จากเดิม 3.9% ว่า ใกล้เคียงกับที่กรุงไทยคาดการณ์ว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะเติบโต 4.5% อย่างไรก็ตามไอเอ็มเอฟยังประเมินว่าปีหน้าเศรษฐกิจไทยเติบโต 3.9% ในขณะที่กรุงไทย มองปีหน้าเติบโต 4.3%
“ไอเอ็มเอฟกังวลเศรษฐกิจประเทศกลุ่มตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนาเป็นพิเศษ จากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่ยืดเยื้อ การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และการปรับพอร์ตสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุน ซึ่งไทยก็อยู่ในกลุ่มนี้ แต่เศรษฐกิจไทยมีปัจจัยพื้นฐานดีกว่าประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ด้วยกันมาก เราจึงมองผลลบต่อเศรษฐกิจไทยไม่รุนแรงเท่าไอเอ็มเอฟ”นายพชรพจน์ กล่าว
นายพชรพจน์ กล่าวอีกว่า ไอเอ็มเอฟพบว่าอัตราเงินเฟ้อมีทิศทางขาขึ้นชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ สะท้อนให้เห็นว่าระยะข้างหน้าอัตราเงินเฟ้ออาจเร่งตัวมากกว่าที่คาด ขณะที่แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของไทย เพิ่งเริ่มต้นเห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทำให้กรุงไทย คาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป สู่ระดับ 2.00% ในปีหน้า
ขณะที่ประเมินตลาดเงินและตลาดทุนว่า สำหรับตราสารหนี้ไทย มองว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรไทยมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยความเสี่ยงเงินเฟ้อ และตามทิศทางพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่มีโอกาสปรับสูงขึ้นในปีหน้า สู่ระดับ 3.5%หรือมากกว่านั้นจากประมาณ 3% ในตอนนี้ ขณะที่ปัจจุบันอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทย อ้างอิงพันธบัตรรัฐบาล อายุ 10 ปีของไทยในปัจจุบันอยู่ที่ 2.88% เพิ่มขึ้น 0.34% จากต้นปี ซึ่งผลตอบแทนที่สูงขึ้นจะเป็นแรงกดดันต่อตลาดหลักทรัพย์ของไทยได้เช่นกัน
สำหรับค่าเงินบาทในปีหน้าคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากสภาพคล่องที่ยังคงมีอยู่ในระดับสูง จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย แต่การแข็งค่าจะถูกจำกัดด้วย 3 ปัจจัยคือ ผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่มีส่วนทำให้การส่งออกของไทยเติบโตได้ไม่ดีเท่าปีนี้ เงินเฟ้อที่สูงขึ้น และรายได้จากนักท่องเที่ยวจีนที่ชะลอตัวลงในระยะนี้ จึงขอแนะนำนักลงทุนและผู้ประกอบการให้ระมัดระวังความเสี่ยงจากค่าเงินบาทอ่อน จากภาวะตลาดโลกที่มีการปรับพอร์ตสินทรัพย์เสี่ยงลง ด้วยความกังวลเกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟด รวมทั้งการเมืองของสหรัฐฯ ก่อนการเลือกตั้งกลางเทอมในเดือน พ.ย. นี้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |