การท่องเที่ยวนั้นถือว่าเป็นจุดเด่นที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมาอย่างช้านาน ด้วยเอกลักษณ์ที่แตกต่าง และวัฒนธรรม-ประเพณีที่รักษากันมาอย่างยาว สร้างเสน่ห์และความแปลกใหม่ให้กับนักท่องเที่ยว จนได้รับการยกย่องจากหลายๆ ประเทศว่าเป็นหนึ่งในที่ที่ควรจะมาเยี่ยมเยือน
ความเข้มแข็งของการท่องเที่ยวไทยดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดจากความนิยมของแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคใต้ ภาคเหนือ หรือภาคอีสาน ที่ได้รับการตอบรับอย่างดีจากคนในประเทศและคนต่างประเทศด้วย ซึ่งเป็นจุดแข็งที่หน่วยงานต่างๆ จะนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจ จึงเกิดโครงการต่างๆ ที่สนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศไทย
อย่างในปัจจุบันที่รัฐบาลพยายามผลักดันการท่องเที่ยวในรูปแบบเมืองรอง ในโครงการค่าลดหย่อนเที่ยวเมืองรอง หรือที่เรียกว่า "ค่าการเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดท่องเที่ยวรอง" ใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งจะต้องเป็นการท่องเที่ยวในประเทศเฉพาะพื้นที่ 55 จังหวัดที่ประกาศให้เป็นจังหวัดท่องเที่ยวรอง ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.2561 และยังมีอีกหลายๆ โครงการ เช่น ไทยเท่ เป็นต้น
ถึงการท่องเที่ยวจะได้รับความนิยมอย่างไร แต่สิ่งที่ยังเป็นจุดอ่อนทำให้การเที่ยวไทยพัฒนาไปได้ไม่สุด ก็คงเป็นเรื่อง "ของฝาก" ที่จังหวัดที่ไม่ใช่เมืองใหญ่อาจจะทำให้เกิดความนิยมได้ยาก เพราะยังขาดการโฆษณาสร้างการรับรู้ หรือการบอกต่อปากต่อปาก ถึงแม้จะเป็นของดีที่มีการทำมาอย่างช้านานก็ตาม
ทั้งนี้ หน่วยงานต่างๆ ต้องให้ความสนใจกับเรื่องนี้อย่างมาก เพราะของฝากเป็นอีกจุดที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่ของฝากของแต่ละจังหวัดจะมีเอกลักษณ์ โดดเด่ด มีเรื่องราว และที่สำคัญคือหาซื้อที่อื่นไม่ได้ ต้องไปในที่ที่นั้นจริง ๆ ซึ่งก็ถือว่าเป็นจุดแข็งอย่างมากของการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนักท่องเที่ยวเองก็จะรู้ในจุดนี้ดี อีกอย่างการมีเรื่องราวของญี่ปุ่นทำให้เกิดการบอกกันปากต่อปากที่เป็นการโฆษณาไปในตัว
ก่อนหน้านี้ประเทศไทยก็มีโครงการที่จะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มาเป็นของฝากของที่ที่นั้น และอย่าง OTOP หรือ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ แต่พอขาดการต่อยอด ขาดการให้ความสนใจ และเงินสนับสนุนที่จะพัฒนา ก็อาจจะทำให้โครงการไม่เป็นที่นิยมเหมือนก่อน แต่ตอนนี้เห็นว่าสินค้าชุมชนจะถูกหยิบขึ้นมาพัฒนาอีกครั้งโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้จัดตั้งโครงการสร้างสรรค์อัตลักษณ์สินค้าอุตสาหกรรมชุมชนสู่สากล หรือ “THAIDEN (ไทยเด่น)” ขึ้น
ซึ่งมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมของใช้ ของตกแต่งและของที่ระลึกที่สามารถต่อยอดสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีการพัฒนาศักยภาพไปสู่ระดับที่สูงขึ้น เพราะพิจารณาถึงแนวโน้มพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว พบว่ามีความต้องการในการได้รับประสบการณ์ ความบันเทิง และการบริโภคสินค้าที่มีอัตลักษณ์เพิ่มมากขึ้น
โดยโครงการดังกล่าวได้เฟ้นหาและคัดเลือกผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเด่นมีอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ในแต่ละจังหวัดเข้าสู่กระบวนการออกแบบและพัฒนาสินค้าในเฟสที่ 1 โดยจะคัดเลือกให้เหลือตัวแทนจังหวัดละ 1 ราย รวมทั้งสิ้น 77 ราย เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตเชิงพาณิชย์และต่อยอดด้วยการตลาดดิจิทัลจากพันธมิตร เช่น AIS Business, ธนาคารกสิกรไทย และ King Power พร้อมเชื่อมโยงให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อให้เกิดการขยายการผลิตในท้องถิ่นและรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยวของชุมชนได้สูงขึ้น
แต่การพัฒนาของฝากก็ต้องคำนึงถึงหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตราสินค้า เนื่องจากตราสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญลำดับแรกๆ ที่จะใช้สื่อสารและสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภค โดยในปัจจุบันผู้ประกอบการไทยยังคงติดอยู่กับการใช้รูปแบบเดิมๆ, การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะต้องมีความแข็งแรงทนทาน มีความแปลกและแตกต่างจากสินค้าคู่แข่ง เพื่อสร้างความประทับใจระหว่างผู้ให้และผู้รับ รวมถึงจะต้องสามารถยืดอายุของสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี, การพัฒนาการเข้าถึงช่องทางดิจิทัลและออนไลน์ ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ดีที่สุดในปัจจุบัน ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องหันมาทำตลาดออนไลน์ ทั้งด้วยช่องทางการจัดจำหน่าย การบอกเล่าเรื่องราว การโฆษณาประชาสัมพันธ์
หากโครงการเกิดขึ้นมาจริงๆ เราเองที่เป็นคนไทยก็ต้องช่วยสนับสนุนของฝากจากในประเทศ เพื่อให้การท่องเที่ยวของประเทศเติบโตขึ้นไปอีก จะได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |