เอกชนเผยเทคโนโลยีเปลี่ยนกดแผงโซลาร์ต่ำลงต่อเนื่อง ส่งผลโซลาร์รูฟท็อปมาแรง แถมแบตเตอรี่เริ่มถูก ทำให้เกิดความมั่นคงมากขึ้น พร้อมร่วมประสานเสียงหนุนกระทรวงพลังงานขับเคลื่อนพีดีพีใหม่ที่สนับสนุนโซลาร์รูฟท็อปเต็มพิกัด
นายดุสิต เครืองาม ประธานอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทยและกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้การลงทุนผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาที่อยู่อาศัย(โซลาร์รูฟท็อป)ลงทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 100,000-300,000 บาทเท่านั้นและมีความคุ้มทุนภายใน 6-7 ปีจึงถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่เข้าถึงครัวเรือนแล้ว และทำให้เอกชนรายใหญ่หันมาผลิตเองใช้เอง(IPS)มากขึ้นดังนั้นหากกระทรวงพลังงานทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า(PDP 2018) ปี 2561-80 ให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้และเกิดความชัดเจนนโยบายโซลาร์รูฟท็อปภาคประชาชนก็เชื่อว่าจะทำให้การลงทุนติดตั้งมีมากขึ้นในปี2562
“ การปฏิรูปพลังงานมุ่งเน้นการเปิดเสรีโซลาร์รูฟท็อปที่ให้ผลิตเองใช้เองเป็นหลักหากเหลือขายก็จะเป็นสิ่งที่ดีเพราะจะเป็นประโยชน์กับประเทศเพราะราคารับซื้อสามารถกำหนดเท่ากับราคาขายส่งได้และอนาคตเชื่อว่าจะต่ำกว่าราคาขายปลีก ซึ่งกระทรวงฯเองมีแนวทางทำโซลาร์ภาคประชาชนที่จะมีการรับซื้อส่วนที่เหลือก็ถือว่าจะทำให้ประชาชนที่คิดจะติดตั้งไม่ต้องกังวลว่าถ้าไฟเหลือแล้วจะไหลเข้าระบบไม่ได้แต่หากระบบสายส่งรองรับไม่ได้มากก็สามารถจำกัดการรับซื้อช่วงแรกที่อาจกำหนดว่าปีละเท่าใด”นายดุสิต กล่าว
อย่างไรก็ตามกรณีก่อนหน้านี้รัฐมีแนวคิดที่จะเก็บค่าสำรองไฟฟ้า(Backup Rate)สำหรับโซลาร์รูฟท็อปล่าสุดนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงานเองระบุชัดเจนว่าไม่มีนโยบายดังกล่าว ซึ่งจากการ ศึกษาของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานคาดว่าใน 20 ปีข้างหน้าไทยจะสามารถติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปผลิตไฟได้รวมประมาณ 10,000 เมกะวัตต์
นายสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า การลงทุนผลิตไฟพลังงานแสงอาทิตย์เดิม 1 เมกะวัตต์ลงทุนสูงถึง 125 ล้านบาทแต่ขณะนี้เหลือ 25 ล้านบาท แบตเตอรี่อดีต1,000เหรียญฯต่อกิโลวัติชั่วโมงเหลือ 250-300 เหรียญฯขณะที่รอบแบตเตอรี่ก็ใช้ได้มากขึ้น หากราคาแบตเตอรี่อาจลดลงเหลือระดับ 100 เหรียญฯคาดว่าจะทำให้การผลิตไฟจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลำบากแน่นอน
“โซลาร์ฯเริ่มตอบโจทย์ความมั่นคงและยั่งยืนมากขึ้นจากนวัตกรรมเรื่องแบตเตอรี่ที่คิดว่าจะยังไม่หยุดแค่นี้ทำให้วันนี้การติดตั้งมีมากโดยเป็น 2 รูปแบบหลักคือ 1.ลงทุนผลิตเองใช้เอง 2.มีบริษัทมาลงทุนติดตั้งให้แล้วจำหน่ายไฟให้ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่เริ่มทำมากขึ้นในเรื่องนี้และมีการแข่งขันสูงในการเสนอขายไฟที่ต่ำ”นายสุวิทย์กล่าว
นายสุเมธ สุทธภักติ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนส.อ.ท. กล่าวว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าปรับเฉลี่ย ( LCOE) ของไฟฟ้าจากกังหันลมและเซลล์แสงอาทิตย์ในสหภาพยุโรปใกล้เคียงกันมากและอยู่ในระดับที่แข่งขันได้กับเชื้อเพลิงจากฟอสซิลแต่สำหรับไทยยอมรับว่าพลังงานลมLCOE ยังอยู่ระดับ 4บาทกว่าต่อหน่วยแต่หากมองความคุ้มค่าในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในระยะยาวสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)ที่ต้องปรับปรุงใหม่ให้สอดรับกับแผนดีพีพีฉบับใหม่จะคงสัดส่วนการผลิตไว้ที่ 3,002 เมกะวัตต์เมื่อสิ้นสุดปลายแผนปี 2580
" การมองเรื่อง Disruptive ต้องถามว่าเรามองไปไกลแค่ไหน สมาร์ทซิตี้จะเป็นทั้งเมืองหรือว่าจะเป็นเฉพาะที่จะเป็น Energy 4.0 ฯลฯ วันนี้เราต้องยอมรับว่าโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เราเองยังไม่รองรับจึงเห็นว่าการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าทั้งหมดรัฐต้องมุ่งสิ่งนี้ส่วนเรื่องนวัตกรรมและ Disruptive เป็นเรื่องที่เอกชนจะเข้ามาทำ"นายสุเมธ กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |