แก้จนอย่างเป็นรูปธรรม


เพิ่มเพื่อน    


    ใกล้เข้ามาเต็มทีแล้วสำหรับการเดินหน้า “มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” วงเงินดำเนินการ 3.56 หมื่นล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็น งบประมาณสำหรับโครงการเพื่อรองรับมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต วงเงิน 1.88 หมื่นล้านบาท และงบประมาณสำหรับค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษาและวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรมจากร้านธงฟ้า และร้านอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์ กำหนด วงเงิน 1.38 หมื่นล้านบาท โดยมาตรการดังกล่าวเพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อต้นปี 2561
    ถือว่าเป็นมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ระยะที่ 2 ที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจากโครงการในระยะแรกที่เน้นการบรรเทาภาระค่าครองชีพ ผ่านเงินช่วยเหลือด้านอุปโภคบริโภค การเดินทางต่างๆ เป็นต้น โดยมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการนี้ ก็ยังคงมุ้งเน้นให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่มาลงทะเบียนในโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 จำนวน 11.4 ล้านคนเหมือนเดิม
    แต่จะเน้นหนักไปที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน หรือไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี จำนวน 5.3 ล้านคน โดยการฝึกอบรมเพิ่มทักษะ และพัฒนาอาชีพ ทั้งการสนับสนุนให้มีอาชีพ และการสนับสนุนให้เป็นเจ้าของกิจการของตัวเอง ซึ่งจะเป็นการต่อยอดให้ผู้มีรายได้น้อยมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง และจะหลุดพ้นจาก “ความยากจน” ในที่สุด
    โดยในปีแรก กระทรวงการคลังตั้งเป้าหมายว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยผลักดันให้ผู้มีรายได้น้อยในกลุ่มเป้าหมายหลักที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี หลุดจากเส้นความยากจนได้ 25% หรือ 2.85 ล้านราย
    และที่ดูเหมือนจะเป็นความภูมิใจของรัฐบาลในการดำเนินงานครั้งนี้ เพราะมาตรการดังกล่าวเป็นการบูรณาการความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง เป็นต้น เพื่อให้การพัฒนาผู้มีบัตรสวัสดิการเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ด้วยการวางแนวทางในการพัฒนา 4 มิติ ได้แก่ 1.การมีงานทำ จำนวน 5 โครงการ 2.การฝึกอบรมและการศึกษา จำนวน 10 โครงการ 3.การเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ จำนวน 11 โครงการ และ 4.การเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน จำนวน 8 โครงการ รวมทั้งสิ้น 34 โครงการ
    ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีโครงการของธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อีก 6 มาตรการ 18 โครงการ อาทิ มาตรการพัฒนาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยธนาคารออมสิน จำนวน 3 มาตรการ 10 โครงการ เช่น โครงการสินเชื่อ โครงการเงินฝาก เป็นต้น ส่วนมาตรการพัฒนาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดย ธ.ก.ส.มีทั้งสิ้น 3 มาตรการ 8 โครงการ อาทิ โครงการพัฒนาตัวเอง โครงการพัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ และการลดภาระหนี้ทั้งในและนอกระบบ
    โดยจะมีการเปิดให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการจำนวน 11.4 ล้านคนลงทะเบียนตามมาตรการดังกล่าว โดยเป็นภาคสมัครใจ ไม่มีการบังคับ แต่ผู้ที่ลงทะเบียนก็จะได้สิทธิพิเศษต่างๆ ที่รัฐบาลจัดเสริมเพิ่มให้ โดยผู้ลงทะเบียนจะได้รับวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นเพิ่มเติม เช่น ผู้ถือบัตรสวัสดิการที่มีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี จะได้รับวงเงินเพิ่มเติมอีก 200 บาทต่อคนต่อเดือน จากเดิมได้รับวงเงินอยู่แล้ว 300 บาทต่อคนต่อเดือน ก็จะรวมเป็น 500 บาทต่อคนต่อเดือน ส่วนผู้ที่ถือบัตรและมีรายได้มากกว่า 3 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี จะได้รับวงเงินเพิ่มเติมในบัตร 100 บาทต่อคนต่อเดือน จากเดิมได้รับ 200 บาทต่อคนต่อเดือน ก็จะเพิ่มเป็น 300 บาทต่อคนต่อเดือน
    มาตรการครั้งนี้อาจจะถือว่าเป็นมาตรการที่สมบูรณ์แบบในการเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ให้ผู้มีรายได้น้อย และนี่อาจจะเป็นโอกาสสำคัญที่ผู้มีรายได้น้อยจะหลุดพ้นคำว่า “ยากจน” อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะมาตรการเป็นการเสริม เพิ่มศักยภาพบุคคล เพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพ ที่หากมองในระยะยาวมาตรการแบบนี้น่าจะตอบโจทย์ความมั่นคงของรายได้ได้ดีกว่าการอัดฉีดเม็ดเงินเข้ากระเป๋าผู้มีรายได้น้อยเพียงอย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมา.

ครองขวัญ รอดหมวน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"