น้ำมันปัจจัยเสี่ยงปลายปี


เพิ่มเพื่อน    


    ช่วงนี้คนใช้รถบนท้องถนนได้แต่บ่นอุบ เพราะราคาน้ำมันขายปลีกมีแต่สวิงขึ้นมากกว่าสวิงลง ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการที่ราคาน้ำมันตลาดโลกมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาระหว่างพี่เบิ้มสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน
    โดยรัฐบาลสหรัฐเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ระงับการซื้อน้ำมันดิบจากอิหร่านโดยสิ้นเชิง ภายในวันที่ 4 พ.ย. มิฉะนั้นจะถูกสหรัฐทำการคว่ำบาตร ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ามาตรการคว่ำบาตรอิหร่านจะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันในตลาดลดลงราว 500,000-2,000,000 บาร์เรล  
    แน่นอนเมื่ออุปทานลดลง ขณะเดียวกันก็เข้าใกล้ช่วงฤดูหนาวในประเทศทางเหนือ ส่งผลให้ความต้องการ หรืออุปสงค์มีมากขึ้นไปด้วย และเมื่ออุปสงค์มากอุปทานน้อย ก็เป็นไปตามหลักเศรษฐศาสตร์ที่ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งสูงทะยาน
    โดยสถานการณ์ล่าสุด ราคาน้ำมันดิบดูไบก็ยืนค้างระดับ 80 เหรียญฯ/บาร์เรล มาซักระยะแล้ว และแนวโน้มปลายปีนี้อาจจะขยับสูงขึ้นได้อีก ทำให้เกิดความกังวลว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยอาจจะต้องเจออุปสรรค 
    ทั้งนี้ ในรายงานนโยบายการเงินฉบับเดือน ก.ย.2561 ระบุชัดเจนว่า หากราคาน้ำมันเริ่มอยู่ในระดับ 80 ดอลลาร์/บาร์เรล อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในเรื่องค่าครองชีพและกำลังซื้อ เพราะหากราคาน้ำมันดิบไต่สูงไปเรื่อย ก็จะไปกดดันให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศขยับตัวขึ้นตาม  ซึ่งที่น่าห่วงมากที่สุดก็คือ ราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นน้ำมันทางเศรษฐกิจ หากราคาขายปลีกทะลุเกิน 30 บาท/ลิตร ก็จะส่งผลกระทบลามไปทั่ว นับตั้งแต่การขนส่ง การเดินทาง และจะกลายเป็นต้นทุนแฝงที่ประชาชนจะต้องแบกรับ 
    ล่าสุด ศูนย์วิจัยกสิกรไทยก็ได้ศึกษาถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันต่อภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยในปี 2561 ซึ่งในส่วนของทิศทางราคาน้ำมันดูไบ จะมีโอกาสเข้าใกล้ระดับ 85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เงินเฟ้อในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้เร่งตัวขึ้นกว่าที่ประเมินไว้บ้าง แต่เชื่อว่าภาครัฐก็คงจะตรึงราคาน้ำมันดีเซล และก๊าซหุงต้ม LPG ไปจนถึงสิ้นปี 2561 ซึ่งก็จะช่วยลดทอนผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลกลงได้บ้าง โดยประเมินว่า มองอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2561 ไว้ที่ร้อยละ 1.1 ส่วนจีดีพีไทยคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 
    แต่ที่น่าห่วงคือ นโยบายรักษาเสถียรภาพราคาพลังงานของภาครัฐ จะสามารถยืนหยัดกับการพยุงราคาน้ำมันได้ดีแค่ไหน กรณีราคาน้ำมันดิบขยับตัวอยู่ในราคาที่สูงอย่างยาวนาน และภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยที่ 85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2562 จะเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 0.7-1.1 ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐในการตรึงราคาพลังงาน และผลกระทบต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 0.2-0.4 ซึ่งก็มาจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและดุลการค้าของไทยที่ลดลง 
    จะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันจะกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อแผนการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่คาดว่าในช่วงดังกล่าว รัฐบาลเองก็จะต้องยุ่งเตรียมพร้อมในการทำงานด้านการเมืองมากกว่าความใส่ใจต่อการบริหารเศรษฐกิจ จึงนับเป็นความท้าทายอย่างมากที่ราคาน้ำมันแพงเข้ามาประจวบเหมาะกับการเตรียมจะเลือกตั้ง ส.ส.ในปีหน้า 
    จากนี้คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ภาครัฐจะเข้ามาดูแลค่าครองชีพของประชาชนอย่างไร เพราะในขณะนี้ก็มีหลายแห่งเรื่องใช้ราคาน้ำมันเป็นตัวปรับขึ้นราคาสินค้าบ้างแล้ว 
    คงยังจำกันได้ ย้อนหลังไปซัก 10 ปีก่อน ที่เราได้เห็นราคาน้ำมันดิบทะลุ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล ก็พบว่าคนไทยได้รับผลกระทบมาก แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามตรึงดีเซลไว้ก็ตาม แต่การชดเชยแทบจะไม่พอ ต้องมีการงัดมาตรการเสริมอีกเพียบ เช่น ลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลเหลือลิตรละ 0.005 บาท เป็นต้น กว่าจะผ่านช่วงนั้นมาได้ นับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างหนักมาก
    อันนี้ก็ได้แต่ฝากรัฐบาลชุดปัจจุบันอย่าเพิ่งมองข้ามเรื่องราคาน้ำมันตอนนี้เพราะว่า หากบริหารจัดการไม่ดี ก็อาจจะไปกระทบกับคะแนนเสียงทางการเมืองได้.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"