เครือข่ายเยาวชนขอปลดล็อกต่ำกว่า18 ปรึกษาสุขภาพจิตได้เอง ไม่ต้องผ่านผู้ปกครอง


เพิ่มเพื่อน    

10ต.ค.61-เครือข่ายเยาวชน  ร้อง ปลดล็อก เด็กต่ำกว่า 18 ให้สามารถเข้ารับการรักษาทางด้านสุขภาพจิตได้เอง โดยไม่ต้องผ่านการยินยอมจากผู้ปกครอง ชี้มีกรณีตัวอย่างที่จะฆ่าตัวตาย แต่ล้างท้องทัน ซึ่งหมอรู้ว่าป่วยจิต แต่ให้การรักษาไม่ได้เพราะไม่มีผู้ปกครองเซนยินยอม ด้าน รองอธิบดี เผย เป็นเรื่องสากลที่จะคุ้มครองเด็ก เพราะบางกลุ่มไม่รู้ว่าป่วยต้องให้ผู้ปกครองพามา รับนำเรื่องเข้าหารือเพื่อทบทวนต่อไป

 


ที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายเยาวชน 3 เครือข่าย ประกอบด้วย สภาเด็กและเยาวชน กทม. เลิฟแคร์คลับ และเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ ประมาณ 20 คน  เข้ายื่นหนังสือ “เพื่อสิทธิการตัดสินใจในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตวัยรุ่น” โดยมีข้อเรียกร้องใน 3 ประเด็น  คือ 1.ขอให้พิจารณาแก้ไขมาตรา 21วรรค3 ในพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 เพื่อให้เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี สามารถตัดสินใจเข้ารับการบำบัดรักษาทางด้านสุขภาพจิตได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องผ่านการยินยอมจากผู้ปกครอง 2. เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก ของให้กรมสุขภาพจิตขอให้กรมสุขภาพจิตประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตให้มากขึ้น เพื่อให้วัยรุ่นตระหนักรู้และเข้าใจปัญหาสุขภาพจิตอย่างถูกวิธี และ 3.ขอให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตในเด็ก โดยมี นพ.สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นผู้รับหนังสือ

นายสหัสวรรษ สิงห์ลี โฆษกสภาเด็กและเยาวชน กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ปัจจุบันปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เด็กเกิดปัญหาสุขภาพจิต ทั้ง การเรียน ครอบครัว สิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งเมื่อต้องการไปปรึกษาแพทย์แต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากต้องมีใบอนุญาตจากครอบครัว แต่ทั้งนี้ตนก็ยอมรับว่าผู้ปกครองควบคุมดูแลก็เป็นสิ่งที่ดี แต่อย่างน้อยก็ควรที่จะเปิดโอกาสให้เด็ก เข้าสู่ระบบการศึกษาและในกรณีที่ต้องกินยาก็สามารถรับได้ด้วยตัวเองในกรณีที่ไม่อยากบอกผู้ปกครอง ซึ่งบางกรณีผู้ปกครองเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดเอง การที่จะให้พาไปรักษาเป็นเรื่องยาก และเมื่อบอกมักไม่ยินยอมและตีตราว่าปัญหาสุขภาพจิตหมายถึงเป็นบ้า ซึ่งเคยมีเพื่อนของตนเคยได้กินยาฆ่าตัวตาย แต่คุณหมอล้างท้องได้ทัน ซึ่งแพทย์ก็ทราบว่ามีปัญหาสุขภาพจิต แต่ก็ไม่สามารถให้การเยียวยาต่อไปไม่ได้เพราะไม่มีผู้ปกครอง

นพ.สมัย กล่าวว่า  เป็นเรื่องที่ดีที่เด็กและเยาวชนได้มายื่นหนังสือในวันนี้ เพราะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ และ กลยุทธของกรมสุขภาพจิต ทั้งในเรื่องการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกกลุ่มวัยการสร้างความตระหนักและการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต และการเพิ่มการเข้าถึงบริการ ซึ่งจะได้นำข้อเรียกร้องของกลุ่มตัวแทนเด็กและเยาวชน เข้าหารือเพื่อทบทวน รวมทั้งจะมีการศึกษาในประเด็นตัวอย่างต่อไป ซึ่งการกำหนดให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องมีผู้ปกครองให้ความยินยอมเป็นเรื่องสากล ไม่ใช่แต่ประเทศไทย ที่กำหนดเช่นนี้เพื่อปกป้องเด็ก เพราะวัยรุ่นบางส่วนไม่รู้ตัวว่าป่วย ต้องให้ผู้ปกครองพามา

ด้าน พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รอง ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กทม. กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตพบเจอบ่อยครั้งที่ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี บางคน ประเมินสุขภาพจิตตัวเองพบว่าเข้าข่ายเป็นโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า ก็มาพบจิตแพทย์ ซึ่งแม้กฎหมายจะกำหนดว่าการบำบัดรักษาจะต้องมีผู้ปกครองให้ความยินยอม แต่ในเรื่องของการให้คำปรึกษาให้คำแนะนำโดยที่ไม่ได้มีการรักษาหรือจ่ายยาก็สามารถทำได้ ซึ่งเราก็จะให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองเบื้องต้นและให้เอกสารและคำแนะนำในการไปพูดคุยกับพ่อแม่ว่า จะพูดคุยอย่างไรในการให้พาเข้ามารับการรักษา แต่หากเป็นกรณีที่ฉุกเฉิน เช่น ทำร้ายร่างกายตนเอง ทำร้ายร่างกายคนอื่น ตรงนี้สามารถทำการรักษาได้ และจะมีการติดตามต่อเนื่อง

 พญ.วิมลรัตน์ กล่าวว่า สำหรับข้อกังวลในส่วนของเด็กที่ไม่ได้อยู่กับผู้ปกครองหรือไม่มีผู้ปกครองนั้น ตรงนี้เราทำงานร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงทุกรูปแบบและไม่มีญาติหรือใครดูแล ส่วนจะมีปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ จะมีการประเมิน ซึ่งหากประเมินพบว่ามีความเสี่ยงก็สามารถรับรองในการเข้าถึงการรักษาได้ แต่หากยังมีผู้ปกครอง ก็จะมีนักสังคมสงเคราะห์ไปติดต่อเพื่อขอลายเซ็นในการอนุญาตในการักษาซึ่งเรื่องเหล่านี้ก็มีการทำงานเป็นเครือข่ายอยู่.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"