10 ต.ค.61-นิธิ เอียวศรีวงศ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนบทความเรื่อง "ความแตกแยกกับนายกฯ พระราชทาน" เผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาไท มีเนื้อหาบางส่วนระบุว่า
มองข้อเสนอของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธด้วยความเป็นมิตรและความเห็นใจที่สุด นั่นคือข้อเสนอที่พยายามยุติเผด็จการ คสช.โดยสันติ ไม่ต้องมีฝ่ายใดเสียเลือดเสียเนื้อ ได้รัฐบาลแห่งชาติที่อำนาจสูงสุดอันปราศจากการโต้แย้งตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่นำประเทศกลับสู่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และกลับสู่รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วไป
แต่ข้อที่ตะขิดตะขวงใจจนไม่อาจยอมรับได้ของคนอีกจำนวนไม่น้อยก็คือ ต้องอาศัยอำนาจสูงสุดอันปราศจากการโต้แย้งเพื่อแก้ปัญหาทางการเมืองโดยสงบ ข้ออ้างเช่นนี้มีอันตรายทางการเมือง ในด้านหนึ่งจะถูกอ้างซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมืองนอกระบบ อย่างที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว อีกด้านหนึ่งก็คือทำให้อำนาจสูงสุดอันปราศจากการโต้แย้งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแย่งอำนาจทางการเมือง กลายเป็นอำนาจที่มีฝักมีฝ่าย และมีผลประโยชน์ (ทางอำนาจ, ทางเศรษฐกิจ, หรือทางอุดมการณ์และวัฒนธรรม) ซึ่งจะทำให้คุณสมบัติปราศจากการโต้แย้งหายไป เพราะขัดกับหลักการแห่ง"พระราชอำนาจ"ในวัฒนธรรมไทย
ความขัดแย้งในสังคมไทยครั้งนี้เป็นความขัดแย้งกันของกลุ่มคนที่สนับสนุน"ระบอบปกครอง"ต่างกัน ความขัดแย้งเชิงนโยบายนั้นปรองดองกันได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ความขัดแย้งเชิงระบอบปกครองไม่มีทางจะปรองดองกันได้เลย ด้วยเหตุดังนั้นกติกาของความขัดแย้งจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะจำกัดมิให้ความขัดแย้งบานปลายไปสู่การจลาจลและสงครามกลางเมือง
หลายคนคิดว่า หากความแตกแยกในสังคมยังดำรงอยู่เช่นนี้ ประเทศชาติจะก้าวต่อไปได้อย่างไร ผมกลับคิดว่าความขัดแย้งเชิงระบอบในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญและขาดไม่ได้ของการ"ก้าวต่อไป"ของไทยด้วยซ้ำ หากมัวแต่หาทาง"ปรองดอง"โดยไม่มีคำตอบไปเรื่อยๆ เราก็ไม่วายต้องหันกลับมาสู่ความขัดแย้งที่ร้าวลึกเช่นนี้อีก ต่างจากความขัดแย้งเชิงนโยบายว่าเราควรรับจำนำข้าวทุกเม็ดในราคาสูงหรือไม่ หนทางประนีประนอมระหว่างสองฝ่ายมีอยู่ และหากใช้กติกาของระบอบประชาธิปไตยโต้แย้งกัน ในที่สุดก็คงจะได้นโยบายที่พอยอมรับได้ว่า จะช่วยให้ชาวนาไทยพัฒนาไปสู่การผลิตที่มีประสิทธิภาพขึ้นในระบบทุนนิยมอย่างไรจนได้
ไม่มีใครสัญญาว่าจุดแตกหักจะนำไปสู่ความรุ่งโรจน์งอกงามเพียงอย่างเดียว แต่จุดแตกหักปลดล้อคที่ทำให้ประเทศชะงักงันลงได้ และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยในความขัดแย้งเชิงระบอบ หากคนไทยส่วนใหญ่ไม่กล้าเสี่ยงแตกหัก และยอมอยู่ภายใต้ คสช.ต่อไปเรื่อยๆ ในที่สุดระบอบใหม่ที่ปลดล้อคประเทศได้ก็คือประชาธิปไตยภายใต้การนำตามรัฐธรรมนูญ 2560 จะดีหรือไม่ดีก็ตาม แต่ประเทศชาติก้าวต่อไปได้ ส่วนจะก้าวไปไหนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
คงจำวลีที่นายทหารกลุ่มหนึ่งใช้เมื่อสามสิบปีที่แล้วได้ นั่นคือวลีที่เรียกว่า "อำนาจบริสุทธิ์" พวกเขาคิดว่าอาชีพทหารทำให้พวกเขาเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองบ้านเมืองให้ไปรอดปลอดภัยได้ดีที่สุด เพราะถึงพวกเขามีอำนาจจากกำลังอาวุธก็จริง แต่เป็นอำนาจบริสุทธิ์
ถามว่า"บริสุทธิ์"จากอะไร? คำตอบคือบริสุทธิ์จากผลประโยชน์ทุกชนิด แตกต่างจากนักการเมืองซึ่งมีอำนาจตามกฏหมาย แต่เป็นอำนาจไม่บริสุทธิ์ เพราะมีผลประโยชน์ส่วนตัวหลายด้าน และที่จริงทหารต่างจากคนในอาชีพอื่นๆ ด้วย (อาจยกเว้นพระภิกษุกระมัง) เพราะคนในอาชีพอื่นทำงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าของหน่วยงาน แต่ก็ผูกความเจริญของหน่วยงานไว้กับความเจริญส่วนตัว แต่ทหารคิดว่าตัวอยากให้หน่วยงานก้าวหน้ามั่นคง โดยตนไม่ได้เอาประโยชน์อะไรเลยจากความก้าวหน้ามั่นคงนั้น
การศึกษาของนายทหารไทยเน้นด้านอุดมการณ์เสียจนมองไม่เห็นความเป็นจริงด้านอื่นเลย จึงไม่แปลกที่นายทหารบางกลุ่มจะคิดว่าอาชีพทหาร"บริสุทธิ์"จากผลประโยชน์ส่วนตัว
ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเพื่อชี้ให้เห็นว่า ความคิดถึง"อำนาจบริสุทธิ์"เช่นนี้ เป็นแกนกลางสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมาแต่โบราณ แต่ยังดำรงอยู่อย่างค่อนข้างมีชีวิตทีเดียวในหมู่คนบางประเภทสมัยหลัง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |