ช่วงนี้กระแสการลงทุนในบิตคอยน์ยังคงแรงต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีการออกมาเตือนกันตลอด แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ที่ชอบความท้าทายทั้งหลายลดความกลัวลงได้เลย ยังคงกระโดดเข้าไปแจมอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน และไม่ใช่เฉพาะในต่างประเทศเท่านั้น ในไทยเองยังมีการลงทุนในบิตคอยน์ฟิวเจอร์ของ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) และกำลังจะเปิดขายดิจิทัล โทเคน ของบริษัท เจ เวนเจอร์ส จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบมจ.เจมาร์ท (JMART) ซึ่งก็ต้องมาดูในหลักการอีกทีว่าเข้าข่ายอะไรที่ต้องห้ามบ้าง
เมื่อช่วงต้นเดือน ม.คที่ผ่านมา กระแสบิตคอยน์ในไทยได้ฮือฮาขึ้น เมื่อ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ประกาศเปิดให้นักลงทุนสามารถซื้อขายบิตคอยน์ฟิวเจอร์สอย่างเป็นทางการเจ้าแรกในประเทศไทย โดยบริการดังกล่าวไม่ใช่บิตคอยน์โดยตรง แต่เป็นบิตคอยน์ ฟิวเจอร์ ซึ่งเป็นการซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สที่ซื้อขายในตลาด The Chicago Mercantile Exchange (CME) และ The CBOE Futures Exchange (CBOE) ซึ่งเป็นตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในสหรัฐอเมริกาที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Commodity Futures Trading Commission ของสหรัฐอเมริกา (US CFTC)
ที่สำคัญ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกมาระบุว่า บริษัทหลักทรัพย์ไทยสามารถบริการลูกค้าที่ประสงค์จะลงทุนผ่านตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศดังกล่าวได้อยู่แล้ว เนื่องจากเป็นตลาดที่อยู่ใต้กำกับขององค์กรสมาชิก International Organization of Securities Commissions (IOSCO) ซึ่งมีข้อตกลงความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันด้วย ทำให้การเปิดบริการดังกล่าวรอดไป
จากนั้นช่วงกลางเดือน ม.ค.ได้ฮือฮาอีกรอบ เมื่อ JMART แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า บริษัท เจ เวนเจอร์ส จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นในสัดส่วน 80% อยู่ระหว่างการเตรียมระดมทุนด้วยดิจิทัล โทเคน ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (Initial Coin Offering: ICO) ใช้ชื่อว่า “JFin” Coin จํานวน 300 ล้านเหรียญ ราคาเสนอขายอยู่ที่ 0.20 เหรียญสหรัฐ (20 เซนต์) ต่อโทเคน หรือเหรียญ รวมมูลค่าระดมทุนในรอบ ICO อยู่ที่ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 660 ล้านบาท
และก็เช่นเดิม เมื่อมีการลงทุนที่เกี่ยวกับดิจิทัล ก็ต้องมีการออกมาชี้แจงจาก ก.ล.ต.ตามเคย โดย ก.ล.ต.ระบุว่า กรณีที่ JMART เผยแพร่ข่าวว่าบริษัทย่อยจะออก ICO นั้น ยังไม่มีรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวที่เพียงพอ จึงยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า ICO ดังกล่าวจะมีลักษณะที่เข้าข่ายเป็น ICO ที่เป็นหลักทรัพย์หรือไม่ ทั้งนี้ หากเป็นการระดมทุนที่เข้าข่ายเป็นหุ้นหรือหุ้นกู้ ผู้ออกก็มีหน้าที่ต้องดำเนินการขออนุญาตจาก ก.ล.ต.ตามปกติ และขอให้ผู้ลงทุนใช้วิจารณญาณศึกษารายละเอียดเพื่อให้เข้าใจชัดเจนก่อนตัดสินใจลงทุนด้วย
ขณะเดียวกัน ก็ยังคงเป็น ก.ล.ต.ที่ต้องเดินหน้าหาเกณฑ์มาดูแลการซื้อขาย ICO ซึ่งนายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยถึงความคืบหน้าเกณฑ์กำกับดูแล ICO ว่า จะสามารถประกาศเกณฑ์ดังกล่าวให้มีผลบังใช้ในไตรมาสแรก ปี 61 ภายหลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจาก ICO ในต่างประเทศขยายตัวรวดเร็วมาก และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทย หาก ICO ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรมารองรับ จะทำให้ประชาชนและนักลงทุนไม่รับรู้ ICO มีสถานะและความชัดเจนที่สามารถซื้อได้หรือซื้อไม่ได้
และล่าสุดกระทรวงการคลังได้ประกาศแจ้งเตือนซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลที่อาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 ซึ่งตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ ได้วางหลักข้อกฎหมายว่า ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยโฆษณา หรือประกาศเชิญชวนให้ลงทุนใดๆ ที่มีพฤติกรรมจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราสูง โดยไม่มีกิจการใดที่ถูกต้องตามกฎหมายรองรับ อาจมีลักษณะเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
ก็คงต้องรอดูกันต่อไป ว่าการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัลทั้งหลายจะมีผลอย่างไรบ้าง ซึ่งเข้าใจว่าผลตอบแทนดีจริง แต่ความเสี่ยงมีมากกว่าเยอะ ดังนั้น การที่หลายหน่วยงานออกมาเตือนแล้วเตือนอีก ต้องเข้าใจถึงปัญหาที่จะตามมาแน่นอน ถ้าอยากจะลงทุนกันจริงๆ ควรจะรอให้มีเกณฑ์ออกมากำกับอย่างชัดเจนจะดีกว่า เพราะอย่างน้อยถ้าเจ็บ ก็จะได้มีทางเยียวยาบ้าง.
ปฏิญญา สิงห์พิสาร
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |