งานศิลปะปลุกสำนึก'เที่ยวไทยไม่ซื้อขายงาช้าง'


เพิ่มเพื่อน    

 

     ช้างแอฟริกันที่ใกล้สูญพันธุ์ เพราะถูกเข่นฆ่าจากนักล่าเพื่อเอางาช้างไปขาย ทำให้มีการรณรงค์ต่อต้านการซื้อขายงาช้าง แต่ก็ไม่ได้ทำให้การลักลอบซื้อขายงาช้างถดถอยลงไป โดยตลาดมืดการค้างาข้างยังคงเติบโตและดำเนินต่อไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะตลาดในประเทศแถบเอเชีย ที่เป็นทั้งแหล่งผลิตและเส้นทางการลักลอบขนส่ง ซึ่งประเทศไทยก็นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของทางผ่านการลักลอบนำเข้างาช้างที่สำคัญ จากรายงานของกลุ่มนักอนุรักษ์ เดือนมีนาคม 2556 ที่ฟิโอนา มาเซลส์ ผู้เขียนรายงานการวิจัยหลักเกี่ยวกับการลักลอบค้างาช้าง และซาแมนธา สตรินด์เบิร์ก นักวิทยาศาสตร์ของ Wildlife Conservation Society พบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประชากรช้างป่าในแอฟริกาที่เป็นศูนย์กลางของวิกฤติลักลอบล่าสัตว์ลดลงถึงร้อยละ 62 โดยผลการศึกษาวิจัยข้อมูลผลสำรวจจำนวนช้างในแอฟริกากลางที่มีการรวบรวมไว้มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา 
    ด้วยเหตุนี้ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย (WWF-Thailand) ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สายการบินนกสกู๊ต และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดนิทรรศการศิลปะรูปหล่อเรซิ่นภาพช้างแอฟริกันแม่ลูก ภายใต้งาน เที่ยวไทยไร้การซื้อขายงาช้าง (Travel Ivory Free) เพื่อรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวมีความตระหนักรู้ ความเข้าใจ และความรับผิดชอบร่วมกันในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำจากงาช้าง โดยงานมีไปจนถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2561 ณ ลานด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 

 

ศิลปะรูปหล่อเรซิ่นช้างแอฟริกันแม่ลูกจัดแสดงที่หอศิลป์ กทม.


    นาวสาวเยาวลักษณ์ เธียรเชาว์ ผู้อำนวยการองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (ประเทศไทย) (WWF-Thailand) กล่าวว่า งานนิทรรศการดังกล่าวนับว่าเป็นอีกความพยายามในการนำศิลปะมาสร้างเป็นแรงกระตุ้น ความตระหนักรู้และเข้าใจให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทยในการไม่ซื้อขายงาช้าง เพราะในทุกปี ช้างป่าแอฟริกันกว่า 20,000 ตัวถูกฆ่าเพื่อเอางา ทำให้ประชากรช้างป่าแอฟริกันลดลงจากกว่า 1.3 ล้านตัวในปี 2522 เหลือ 415,000 ตัว จากการสำรวจเมื่อปี 2559 และหากอัตราการลดลงอย่างต่อเนื่องยังดำเนินต่อไป ในไม่ช้าช้างแอฟริกันจะสูญพันธุ์ในที่สุด 
    “งาช้างจะถูกป้อนไปยังตลาดค้างาช้างขนาดใหญ่ในเอเชีย โดยเฉพาะในไทยนับว่าเป็นประเทศหลักในการลักลอบการค้างาช้าง ซึ่งมีหลายเส้นทางในการขนส่ง ซึ่งสถานการณ์ช่วงนี้นับว่านักท่องเที่ยวมีการซื้อขายลดลง และพื้นที่จำหน่ายในต่างจังหวัดหรือในกรุงเทพฯ อย่างสวนจตุจักร ก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน แต่ในการค้าใต้ดินหรือทางออนไลน์ยังไม่มีการยืนยันว่ามีจำนวนที่ลดลงหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การลดความต้องการและยุติปัญหาการซื้อขายงาช้าง โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ นักท่องเที่ยว และตลาดผู้ขายงาช้างในประเทศ ในฐานะเจ้าบ้านที่ต้องปฏิเสธการขายด้วยเช่นกัน” เยาวลักษณ์กล่าว

 


    ผอ.องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย กล่าวด้วยว่า การค้างาช้างผิดกฎหมาย ถือเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ เช่นเดียวกับการค้ายาเสพติด และได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ทั้งการออกพระราชบัญญัติการครอบครองงาช้าง พ.ศ.2558 และการรวมช้างแอฟริกันเป็นหนึ่งในสัตว์คุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 หรือมีการตรวจ DNA งาช้าง เพื่อระบุว่ามาจากประเทศใด ในฐานะองค์กรด้านการอนุรักษ์ จึงตั้งใจที่จะขับเคลื่อนการทำงานเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหานี้อย่างถาวร และเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการยุติการฆ่าช้างเอางา 
    นายวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินผู้รังสรรค์ผลงาน เล่าว่า ผลงานชิ้นนี้ขนาดความกว้าง 7 เมตร สูง 1.8 เมตร ได้สร้างมาจากความสะเทือนใจที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน และยิ่งได้รับรู้เรื่องราวของช้างแอฟริกันที่ถูกฆ่าเพื่อเอางาช้างไปขาย ทำให้เชื่อมโยงภาพช้างไทยในหลายเหตุการณ์ที่อยู่ในความทรงจำของเราก็ปรากฏขึ้น จึงอยากจะจำลองภาพช้าง 2 ตัว โดยมีตัวลูกสีขาว แสดงถึงความบริสุทธิ์ แต่ในขณะเดียว สีขาวก็สะท้อนให้เห็นว่ามันกำลังจะเลือนหายไปเมื่อเติบโตขึ้นรึป่าว และช้างผู้เป็นแม่ที่ถูกตัดตรงส่วนขา ซึ่งอาจจะเกิดคำถามว่าทำไมไม่เป็นส่วนอื่น แต่นั่นคือการสะท้อนความไม่มีเหตุผลของมนุษย์ในการฆ่าช้าง เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ โดยไม่ถึงคำนึงถึงความคุมค่า หรือผลกระทบต่างๆ ต่อการฆ่าช้าง 1 ตัว 
    “ที่ตัวช้างต้องให้เป็นสีใสๆ ทำไมไม่เหมือนสีช้างจริงๆ นั้น ก็เพราะต้องการให้เห็นว่าบางสิ่งบางอย่างกำลังเลือนหายไป และพรมสีแดงที่มีความหมายถึงความมั่งคั่ง ที่มนุษย์กำลังเหยียบย่ำ แต่มันคือเลือดทารุณกรรมสัตว์ที่ถูกทำร้าย ซึ่งเมื่อคนที่ผ่านมาได้เห็นอาจจะทำให้ฉุกคิดและเกิดจินตนาการในเหตุการณ์การทำร้ายหรือฆ่าสัตว์ และอาจจะไม่ใช่แค่ช้าง แต่สัตว์ทุกๆ ตัวที่กำลังโดนทำร้ายและใกล้สูญพันธุ์จากการกระทำของมนุษย์” วศินบุรี กล่าว 

 


 วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
 

   ด้านศรีมาลา วราภาสกุล ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ ททท. กล่าวว่า ในประเทศไทยช้างนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง และเพื่อให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาได้เข้าใจและเห็นความสำคัญ เพราะประเทศไทยกลายเป็นที่ซื้อหาของฝากงาช้างที่มีขนาดใหญ่ จึงได้มีการจัดกิจกรรมในจังหวัดที่มีช้าง ได้มีการนำเสนอหรือพานักท่องเที่ยวไปสัมผัสการดูแลและอนุรักษ์ช้าง การเชื่อมโยงวิถีชีวิตช้างและคนไทย การดูแล รักษา และการนำศิลปะมาสร้างให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ก็จะทำให้เกิดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์และยั่งยืน 
    อย่างไรก็ตาม ผู้สนใจชมงานศิลปะช้างสามารถรับชมได้แล้วตั้งแต่วันนี้-10 ตุลาคม 2561 ณ ลานด้านหน้า หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมให้ร่วมทำ โดยการถ่ายภาพพร้อมโพสต์ลงสื่อสังคมออนไลน์ พร้อมติดแฮชแท็ก #TravelIvoryFree เพื่อส่งแรงกระตุ้นไปยังภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาข้อกฎหมายในเรื่องการซื้อขายงาช้างในประเทศไทยต่อไป

 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"