“สรรพสามิต” โชว์ผลงานรีดภาษีปีงบ 61 วืดเป้าหมายเฉียด 2 หมื่นล้านบาท ภาษีบุหรี่สุดแผ่วต่ำกว่าเป้าหมาย 30% ถึง 2 เดือนติด ลุ้น ครม. เคาะกฎหมายรีดเงินบุหรี่ซองละ 2 บาทอุ้มกองทุนสุขภาพ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การเก็บภาษีกรมสรรพาสามิตเดือน ก.ย. 2561 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2561 อยู่ที่ 6.32 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 7.74 พันล้านบาท หรือ 10.9% เนื่องจาก ภาษีน้ำมันต่ำกว่าเป้าหมาย 1.34 พันล้านบาท หรือ 4.5% ภาษีเบียร์ต่ำกว่าเป้าหมาย 5.26 พันล้านบาท หรือ 32.7%
นอกจากนี้ ภาษีสุราต่ำกว่าเป้าหมาย 5.26 พีนล้านบาท หรือ 23.3% และภาษียาสูบเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 2.43 พันล้านบาท หรือ 30.7% ซึ่งเป็นการเก็บภาษีบุหรี่ต่ำกว่าเป้าหมายถึง 30% เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน เนื่องจากการเก็บภาษีบุหรี่เข้าสู่ภาวะปกติ จากที่ก่อนหน้านี้มีการต่ำเป้าหมายในเดือนต้นๆ ของปีงบประมาณไว้ต่ำ เพื่อให้ดูเก็บได้กว่าสูงกว่าเป้าหมาย
ทั้งนี้ การเก็บภาษีกรมสรรพสามิตทั้งปีงบประมาณ 2561 จัดเก็บได้ 5.8 แสนล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 1.95 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 3.3% โดยมีภาษีน้ำมัน เบียร์ และสุรา เป็นสินค้าหลักที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ ในขณะที่ภาษีรถยนต์และยาสูบจัดเก็บได้สูงว่าประมาณการ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวอีกว่า จากแนวโน้มเก็บภาษีบุหรี่ที่เข้าสู่ภาวะปกติและต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้มากถึงเดือนละ 30% ทำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่จะมีการประชุมกันในวันที่ 10 ต.ค. นี้ ต้องตัดสินใจว่าจะผ่านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดเก็บเงินสมทบเพื่อสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยงานบริการภาครัฐในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยให้เก็บเงินจากบุหรี่อีกซองละ 2 บาท ให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นเงินปีละประมาณ 3 พันล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุข เสนอหรือไม่ หลังจากที่สัปดาห์มา ครม. ยังไม่เห็นชอบโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บอกว่ายังพิจารณากันอยู่ยังไม่ได้ตัดสินใจทำอะไร
ทั้งนี้ หากร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับ จะให้บุหรี่ที่ขายปัจจุบันซองละไม่เกิน 60 บาท จะต้องปรับราคาขายไปเป็นซองละไม่ต่ำกว่า 90 บาท และบุหรี่ที่ปัจจุบันขายอยู่ซองละเกิน 60 บาท จะต้องปรับราคาขึ้นอีกซองละไม่ต่ำกว่า 5 บาท เนื่องจากบุหรี่ขายซองละไม่เกิน 60 บาท ปัจจุบันเสียภาษีตามมูลค่าอยู่ 20% แต่หากถูกเก็บเข้ากองทุนอีกซองละ 2 บาท จะทำให้ไม่เหลือกำไรต้องปรับราคาขึ้นเกิน 60 บาท ทำให้ต้องเสียภาษีตามมูลค่าเป็น 20%
นอกจากนี้ หากมีการเก็บเงินภาษีบุหรี่อีก 2 บาท คาดว่าจะทำให้ยอดขายบุหรี่ลดลงมาก เพราะผู้บริโภคหันไปสูบยาเส้น และบุหรี่เถื่อน ทำให้เงินที่ส่งเข้ากองทุนสุขภาพไม่ถึงปีละ 3 พันล้านบาท รวมถึงการเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตบุหรี่ก็จะต่ำกว่าเป้าหมายมากขึ้น ยังไม่รวมถึงผลกระทบกับผลการดำเนินของการยาสูบแห่งประเทศไทบ (ยสท.) และ ชาวไร่ผู้ปลูกใบยาสูบที่จะได้รับผลกระทบมากขึ้น
ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้ทำการประชาพิจารณ์พ.ร.บ. ดังกล่าว ซึ่งมีหลายฝ่ายคัดค้าน โดยเฉพาะประเด็นการเก็บเงินสมทบจากสินค้าบุหรี่ 2 บาทเข้ากองทุนเพียงประเภทเดียว ไม่รวมสินค้าบาป สุรา เบียร์ และยาเส้น เหมือนกับการเงินภาษีเข้ากองทุนอื่นที่มีการตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |