5 ต.ค.61- หลังนายสุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านปรัชญา คอลัมนิสต์ผู้ใช้นามแฝงว่า "นักปรัชญาชายขอบ" ถูกผู้ใช้นามแฝง I pad โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว กรณีการร้องเรียนพระวัดไทร พระราม 3 ตีระฆังรบกวนผู้อาศัยในคอนโดมิเนียมซึ่งสร้างหลังจากมีวัดแล้วร่วม 100 ปี โดยโจมตีว่า สังคมที่อ้างว่าเป็น สังคมพุทธ ทำไมเป็นสังคมไร้วุฒิภาวะกันจัง กรณีคนร้องเรียนเรื่องเสียงระฆังวัดตอนดึกรบกวนการนอน ต่อให้มีเพียง 1 คนร้องเรียน เขาก็มีสิทธิร้องเรียนครับ เขาแค่ใช้สิทธิไม่มีอำนาจไปบังคับวัดให้ทำตามที่ร้องเรียน หรือบังคับให้เปลี่ยนประเพณีที่คนส่วนใหญ่เชื่อได้ ทำไมพยายามไปกล่าวหาว่าเขาเป็นพวกโรคจิตอ่ะ ราวกับจะล่าแม่มดคนที่เขาออกมาบอกว่าตัวเองเดือดร้อนและแค่ใช้สิทธิร้องเรียนเท่านั้น
ชื่อของนายสุรพศจึงโด่งดังในโลกโซเชียล และล่าสุดเข้ายังคงโพสต์ข้อความเป็นระยะ เช่น
...ถ้าคนส่วนมากสรุปกันว่า "เสียงระฆังไม่ก่อปัญหา" แล้วคน 1 คน ร้องเรียนตาม "สิทธิ์" ไม่ได้ใช้ความรุนแรงหรือก่ออันตรายแก่ใคร เขาสร้่างปัญหาอะไรหรือครับ ถึงต้องล่าแม่มด
สังคมที่ดีในทัศนะชาวพุทธคือสังคมแบบไหน เป็นสังคมที่คนคิดต่าง เห็นต่างมีสิทธิ์พูดหรือร้องเรียนสิ่งที่เขาคิดว่าตนเดือดร้อนได้หรือไม่.......
.....วิจารณ์ระฆัง-คอมโดสั้นๆ นิดเดียว ยอดผู้ติดตามพุ่ง Followed by 9,964 people วิจารณ์ปัญหาการแยก-ไม่แยกศาสนาจากรัฐมานานหลายปี ยอดไม่ขึ้น....
.....ขรรมๆ ผมเสนอแยกศาสนาจากรัฐชาวพุทธไม่ว่าอะไร แต่เสนอให้พระใช้ปัญญาและกรุณาแก้ปัญหาเรื่องระฆัง-คอนโด ชาวพุทธคลั่งกันใหญ่.....
.....แล้วไงครับ ถ้าเขาเดือดร้อนกับเสียงและใช้สิทธิร้องเรียน เขาผิดอะไร แลัวพระควรใช้ตรรกะโง่ๆแบบคุณตอบชาวบ้านหรือใช้ปัญญา.....
.....นึกถึงคำถาม "แยกศาสนาจากรัฐแล้วจะเอาอะไรามาแทน เอาคานท์,มิลล์หรือ"
ยืนยันว่า ถ้าประเทศนี้สามารถเอาคานท์, มิลล์มาแทนได้จะดีมาก มีแต่เอาคานท์,มิลล์และปรัชญาสายอื่นๆมาแทนเท่านั้น สังคมนี้ถึงจะพัฒนาไปสู่การมีวุฒิภาวะรู้จักใช้เหตุผล เคารพสิทธิเสรีภาพ ศักดิ์ศรีของมนุษย์ได้
ยกเลิกการบังคับเรียนศาสนาในโรงเรียนให้เรียนปรัชญาและสิทธิพลเมืองแทน
นี่คือหนทางเดียวที่จะพัฒนาสังคมให้ก้าวพ้นจากลัทธิล่าแม่มดทางศาสนาและทางการเมือง พ้นจากความมั่วระหว่างศาสนากับการเมือง ไปสู่การมีเสรีภาพและประชาธิปไตย ความมีเหตุผล และมีวัฒนธรรมยึดความชอบธรรมตามหลักการประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง....
แล้วนายสุรพศ ทวีศักดิ์ มีแนวคิดอื่นๆในโซเชียลอย่างไร เมื่อเข้าไปดูในเฟซบุ๊กของนักวิชาการด้านปรัชญา รายนี้พบว่า มีโพสต์ประเด็นทางการเมืองสลับกันไปกับกรณีพระตีระฆัง เช่นกรณี นายวีระ สมความคิด ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน และเลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน และ น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ได้ให้สัมภาษณ์หลังการรายงานตัวต่ออัยการในคดีชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้งที่สกายวอล์กแยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา หรือคดีชุด MBK39
เขาโพสต์แสดงความเห็นว่า....ยกเลิก ม.44,คำสั่งคสช.,ประยุทธ์ลาออก!.....
หรือกรณีการประชุมของพรรคเพื่อไทยเมือวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา
โดยเขาโพสต์ข้อความว่า .....อุดมการณ์ 9 ข้อ คำขวัญใหม่คนจำง่ายอีกแล้ว พรรคคู่แข่งตายแน่ๆ ถ้าเผด็จการไม่หาเรื่องยุบพรรคเพื่อไทยก่อน....
และยังมีโพสต์ประเด็นการเมืองอื่นๆ เช่น
......บางคนมองการที่ทักษิณใช้นโยบายประชานิยมหาเสียงกับคนต่างจังหวัด คนชนบทเข้าสู่อำนาจเสมือนเป็น "ตราบาปทักษิณ" และในทางกลับก็มองชาวบ้านเสื้อแดงที่สนับสนุนทักษิณเป็นเสมือน "ตราบาปของชาวบ้าน" ที่สนับนักการเมืองโกง กระทั่งประณามว่าเป็นขี้ข้าทักษิณ
แต่หากมองคนระดับชาวบ้านอย่างเรียนรู้และพยายามเข้าใจ ถามว่าคนที่ไร้อำนาจต่อรองทางการเมืองมาตลอด หากมีโอกาสที่จะเลือกนักการเมืองที่ทำให้พวกเขามีอำนาจต่อรองขึ้นมาบ้างเพื่อให้ได้ประโยชน์ที่ต้องการผ่านนโยบายประชานิยม พวกเขาจะเลือกไหม คำตอบก็คือพวกเขาต้องเลือกแน่นอน และไม่ผิดด้วยที่เลือก
การเลือกในทางการเมืองเอาเข้าจริงก็ไม่เคยมี "ตัวเลือกบริสุทธิ์" ให้คนเลือก บางครั้งคนต้องเลือกร่วมมือกับพวกที่กดขี่ตัวเองด้วยซ้ำ เช่นบรรดาทาสชาวแอฟริกันเลือกสมัครเป็นทหารอาสาร่วมรบในสงครามปฏิวัติอเมริกา ด้วยหวังว่าพวกเขาจะได้สิทธิอะไรบ้างจากชัยชนะของการปฏิวัติ แต่ก็ไม่ได้อะไรเลย หลังชัยชนะของการปฏิวัติพวกเขาต้องต่อสู้กับคนขาวอีกยาวนานมากกว่าจะเลิกทาส และเลิกแบ่งแยกสีผิว.....
นอกจากนี้นายสุรพศ ยังเป็นคอลัมนิสต์ ในเว็บไซต์ประชาไท และมติชน มีผลงานมากมาย เช่นงานเขียนเรื่อง"เฌอปรางกับเสรีภาพสนับสนุนอำนาจละเมิดเสรีภาพ" ที่มีเนื้อหาบางตอนว่า...
....ยิ่งตลกร้ายมากขึ้น เมื่อคุณประวิตรให้สัมภาษณ์ว่า “นายรังสิมันต์ โรมจะไปจำกัดสิทธิ์ น.ส.เฌอปรางได้อย่างไร เพราะเขาจะทำอะไรก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล”
ประเด็นคือ การประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล คสช.ไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคล แต่เป็นเรื่องสาธารณะ และไม่ใช่เรื่องของ “สิทธิ” เพราะตามหลักสิทธินั้นถือว่า “การใช้สิทธิต้องอยู่บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิคนอื่นด้วยเสมอ” แต่การประชาสัมพันธ์ผลงานให้รัฐบาล คสช. คือการสนับสนุนอำนาจที่ละเมิดสิทธิทางการเมืองของประชาชน
พูดให้ชัดคือ การที่เฌอปราง (หรือใครก็ตาม) ร่วมงานกับรัฐบาลจากรัฐประหาร ย่อมมีความหมายเป็นการสนับสนุนอำนาจที่ละเมิดสิทธิทางการเมืองและเสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออกของประชาชน มันจึงไม่มีหลักสิทธิของสำนักปรัชญาเสรีนิยม หรือหลักสิทธิมนุษยชนข้อไหน หลักประชาธิปไตยที่ไหนในโลกที่กำหนดไว้ว่า “บุคคลมีสิทธิสนับสนุนอำนาจล้มล้างและ/หรือละเมิดสิทธิของประชาชน”......
เมื่อต้นปี 2555 นายสุรพศ ตกเป็นผู้ต้องหาคดี กระทำความผิดกฏหมายตาม มาตรา112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการโพสต์ข้อความที่ถูกกล่าวหาลงบนความเห็นท้ายบทความที่เผยแพร่ในประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์จำนวนสองข้อความ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |