สหรัฐส่งมอบโบราณวัตถุ ยุคก่อนประวัติศาสตร์คืนไทย 12รายการ


เพิ่มเพื่อน    


    หลังจากประเทศไทยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย เพื่อตรวจสอบ พิจารณาติดตาม และขอคืนมาเป็นสมบัติ และมรดกวัฒนธรรมของชาติ ต่อไป โดยได้มอบหมายให้กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ   และกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานหลักร่วมกันดำเนินภารกิจสำคัญนี้ ล่าสุด  กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมสารนิเทศ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้ประสานและเป็นผู้แทนรับมอบโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์จากผู้ประสงค์มอบชาวอเมริกันรายหนึ่ง รวมจำนวน 12 รายการ และได้นำกลับคืนสู่มาตุภูมิไทยเรียบร้อยแล้ว โดยจะส่งมอบให้กรมศิลปากร เพื่อดูแลรักษาเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสืบไป 

    ก่อนหน้านี้มีการตรวจสอบ โบราณวัตถุจำนวน 12 รายการ ที่ชาวอเมริกันรายหนึ่งประสงค์ขอมอบคืน จากภาพถ่ายว่ามีแหล่งที่มาจากประเทศไทยหรือไม่ กรมศิลปากรจึงนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านวิชาการ เพื่อติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมมีมติเห็นสมควรรับคืน เพราะเป็นโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทย

    ต่อมา กรมศิลปากรจึงขอความอนุเคราะห์จากกระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะกรมสารนิเทศ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการประสานผู้มอบ เป็นผู้แทนรับมอบ และจัดส่งโบราณวัตถุดังกล่าว ผ่านช่องทางการทูตมายังประเทศไทย โดยโบราณวัตถุทั้ง 12 รายการ มาถึงกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 


    โบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ จำนวน 12 รายการ ที่ชาวอเมริกันมอบคืนให้ประเทศไทยครั้งนี้ ประกอบด้วย ภาชนะดินเผา วัฒนธรรมบ้านเชียง 9 รายการ แบ่งเป็นภาชนะผิวสีเทาเข้มถึงสีดำ อายุประมาณ 3,000-4,300  ปีมาแล้ว 2 รายการ ภาชนะลายเชือกทาบประดับด้วยเส้นนูน อายุประมาณ  3,000-4,300  ปีมาแล้ว 1 รายการ ภาชนะลายขูดขีดผสมการระบายสีแดง อายุประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว 2 รายการ และภาชนะลายเขียนสี อายุประมาณ 1,800-2,300 ปีมาแล้ว 4 รายการ


     ส่วนอีก 3 รายการ ได้แก่ ลูกกลิ้งดินเผา วัฒนธรรมบ้านเชียง อายุประมาณ 1,800-2,300 ปี มาแล้ว หินดุดินเผา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการขึ้นรูปภาชนะ อายุประมาณ 2,300-4,000  ปีมาแล้ว และชิ้นส่วนกำไลทำด้วยสำริด อายุประมาณ 3,000-3,500 ปีมาแล้ว

    นายประทีป  เพ็งตะโก รองอธิบดีกรมศิลปากรโบราณวัตถุเหล่านี้ แม้ไม่ทราบแหล่งที่พบหรือที่มาแน่ชัด แต่สามารถบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิต ประเพณี พิธีกรรม ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อันเป็นภูมิปัญญาของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ นับว่ามีคุณค่า ความสำคัญ และประโยชน์ทางวิชาการโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ เมื่อกรมศิลปากรได้รับมอบแล้ว จะดำเนินการจัดทำทะเบียนบัญชีเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน โบราณวัตถุที่เสียหายหรือเสื่อมสภาพ จะได้รับการซ่อมสงวนรักษาตามหลักการอนุรักษ์ และเก็บรักษาไว้ที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป.

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"