ไจก้าเปิดโผ 4 สถานีรถไฟฟ้าวิกฤติคนล้น จี้เพิ่มขบวนรถ แอร์พอร์ตลิงก์เล็งถอดเบาะ


เพิ่มเพื่อน    


ไจก้าเปิดโผ 4 สถานีรถไฟฟ้าวิกฤติคนล้น ต้องรอ 2-3 ขบวน ด้านคมนาคม-บีทีเอสรับมีปัญหาเกิดหลายสถานี ลั่นแก้ได้ภายในสองปี แอร์พอร์ตลิงก์เล็งถอดเบาะแก้แออัด เผยลดความถี่เหลือ 5 นาทีต่อเที่ยวหลังเสริมรถวิ่ง

รายงานข่าวองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า)ระบุว่าจากการศึกษาระบบขนส่งมวลชนด้านรถไฟฟ้าในกรุงเทพนั้นพบว่ามีปริมาณหนาแน่นอย่างมากในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนคือ 07.30 ส่งผลให้ประชาชนต้องรอเสียเวลาเดินทางและเสียเวลารอรถหลายขบวนโดยเฉพาะ 1.สถานีรามคำแหงของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ วิกฤติมากที่สุดต้องรอรถอย่างน้อย 2 ขบวนเสียเวลาเดินทาง 7-28 นาที 2.สถานีสะพานตากสินรถไฟฟ้าบีทีเอสวิกฤติมาก ต้องรอรถอย่างน้อย 2 ขบวนเสียเวลาเดินทาง 10-20 นาที 3.สถานีอ่อนนุชรถไฟฟ้าบีทีเอส วิกฤติมาก ต้องรอรถอย่างน้อย 2 ขบวนเสียเวลารอ 8-10 นาที 4.สถานีลาดพร้าวรถไฟฟ้าใต้ดิน วิกฤติมาก ต้องรอรถอย่างน้อย 2 ขบวนเสียเวลารอ 8-10 นาที

อย่างไรก็ตาม JICA มองว่าผู้ให้บริการรถไฟฟ้าจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนขบวนรถเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตโดยเฉพาะแอร์พอร์ตลิงก์ซึ่งปัจจุบันมีรถวิ่งบริการจำนวน 8 ขบวนซึ่งน้อยกว่าเฉลี่ยที่ควรจะเป็นซึ่งอยู่ที่ราว 20 ขบวนในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ทั้งนี้หากรถไฟฟ้าทุกสายที่เปิดบริการขณะนี้มีรถเพียงพอตามค่าเฉลี่ยแล้วจะสามารถรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้ 130% คิดเป็นวันละ 158,000 คนต่อชั่วโมงต่อเส้นทาง จากปัจจุบันรองรับได้ 68,800 คนต่อชั่วโมง
ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่าในส่วนของรฟม.นั้นยอมรับว่ามีปัญหาดังกล่าวจริงในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินโดยเฉพาะช่วงชั่วโมงเร่งด่วนที่ผู้โดยสารต้องเสียเวลารอรถไฟฟ้าอย่างน้อย 2-3 ขบวนในสถานีหลักชั้นในได้แก่ สถานีลาดพร้าว สถานีเพชรบุรี สถานีสุขุมวิทและสถานีศูนย์ประชุมสิริกิติ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามขณะนี้รฟม.ได้ใช้วิธีแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนโดยการถอดเบาะรถไฟฟ้าโดยการถอดเบาะตู้กลางของรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินครบทั้ง 19 ขบวนแล้วโดยรถไฟฟ้า 1 ขบวนจะมี 3 ตู้ ตู้ละ 42 ที่นั่ง รวม 126 ที่นั่ง โดยจะถอดเบาะออกในตู้กลาง คิดเป็นตู้ละ 14 ที่นั่งรวมสามตู้ 42 ที่นั่ง ทำให้ที่นั่งเหลือ 84 ที่นั่ง ซึ่งที่ผ่านมาได้เสียงตอบรับจากประชาชนดีมากเนื่องจากสามารถบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมเชื่อว่าปัญหารถไฟฟ้าใต้ดินแน่นจะเริ่มคลี่คลายลงในปี 2562 และหมดไปในปี 2563 โดยในช่วงต้นปีหน้าจะเริ่มรับมอบขบวนใหม่ 3 ขบวนจะส่งผลให้ความถี่ต่อขบวนลดลงเหลือ 2.30 นาที จากปัจจุบัน 3 นาที จากนั้นเมื่อส่งมอบครบทั้ง 35 ขบวนในปี 2563แล้วจะลดระยะเวลาการรอรถไฟฟ้าลงได้ 1 ใน 3 หรือลดลง 30% คิดเป็นความถี่ 2 นาทีต่อขบวนซึ่งเป็นระยะเวลาทำรอบดีที่สุดที่จะเป็นไปได้ สำหรับปริมาณรองรับเพิ่มนั้นอยู่ที่ 1,000 คน/ขบวน/เที่ยว

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส)กล่าวว่าปัญหาความแออัดภายในสถานีอ่อนนุชและสถานีสะพานตากสินนั้นปัจจุบันมีปัญหาผู้โดยสารหนาแน่นในชั่วโมงเร่งด่วนจริง โดยเฉพาะสถานีสะพานตากสินซึ่งอยู่ในเส้นทางบีทีเอสสายสีลมปัจจุบันนั้นประสบปัญหาคอขวดบริเวณสถานีส่งผลให้ความถี่เดินรถต่อขบวนมากราว 4-6 นาที ส่งผลให้ผู้โดยสารอาจต้องรอรถไฟหลายขบวนดังนั้นบีทีเอสจึงมีแผนลงทุนราว 1.1 พันล้านบาท เพื่อขยายสถานีดังกล่าวขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ฉบับสมบูรณ์เพื่อเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) คาดว่าจะเสนอได้ภายในเดือนพ.ย. นี้หากได้รับความเห็นชอบจะดำเนินการก่อสร้างทันทีใช้ระยะเวลาก่อสร้างราว 2 ปีเศษ 

อย่างไรก็ตามขณะที่สถานีอ่อนนุชนั้นปัญหาได้คลี่คลายลงมากแล้วตั้งแต่การปรับระบบบีทีเอส ปัจจุบันมีความถี่ต่อขบวนที่ราว 2.40 นาที ดังนั้นปัญหาผู้โดยสารหนาแน่นจะเริ่มคลี่คลายลงภายใน 2 ปี ขณะนี้มีแผนลงทุนจัดซื้อรถใหม่ทั้งสิ้น 46 ขบวน วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะสามารถส่งมอบได้ในปลายปีนี้ราว 10 ขบวน เพื่อรองรับการเปิดเดินรถไฟฟ้าสีเขียวใต้ส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการในเดือนธ.ค.นี้ ส่วนอีก 36 ขบวนจะส่งมอบทั้งหมดเพื่อนำมาให้บริการภายในปลายปี 62

ขณะที่นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด กล่าวว่าแอร์พอร์ตลิงก์ประสบปัญหาผู้โดยสารหนาแน่นช่วงชั่วโมงเร่งด่วนจริง สำหรับสถานีรามคำแหงนั้นเป็นอีกหนึ่งสถานีที่ผู้โดยสารหนาแน่น นอกจากนี้ยังมีสถานีอื่นๆที่มีปริมาณผู้โดยสารมากช่วงเช้าและเย็นได้แก่ สถานีพญาไท สถานีมักกะสัน สถานีหัวหมากและสถานีลาดกระบังเป็นต้น ดังนั้นแอร์พอร์ตลิงก์จึงเร่งนำรถซ่อมบำรุงออกมาวิ่งบริการปัจจุบันมี 8 ขบวน โดยมีแผนการเดินรถในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนแบ่งเป็น รถไฟฟ้า 6 ขบวนวิ่งปกติ และอีก 2 ขบวนเป็นรถเสริมตามสถานีที่หนาแน่น ส่งผลให้ความถี่ในของเที่ยววิ่งและระยะเวลาการรอลดลงถึง 100%                                                                                          
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"