อุตฯเร่งเครื่องหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดออกทีโออาร์ 4 โครงสร้างพื้นฐานอีอีซีในเดือน ต.ค. นี้ พร้อมเตรียมข้อมูลเสนอบอร์ด กพอ. เห็นชอบในวันที่ 4 ต.ค.นี้ พร้อมเตรียมแผนพัฒนาสมาร์ท ซิตี้
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2561 ว่าที่ประชุมมีการเสนอความคืบหน้าของกรอบการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) รวม 4 โครงการ เพื่อเตรียมจะเสนอข้อมูลให้กับคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในวันที่ 4 ต.ค. 2561 นี้
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าโครงสร้างพื้นฐานทั้ง 4 โครงการ ที่นอกเหนือจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คณะกรรมการบริหารเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กบอ.) วางกำหนดการเพื่อออกหนังสือชี้ชวนผู้สนใจลงทุนในเดือนต.ค. 2561 นี้ โดยแบ่งเป็น 1. สนามบินอู่ตะเภา โดยอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกองทัพเรือ โดยจะเปิดให้มีเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในการสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ โดยจะมีการกำหนดเอกชนผู้ร่วมทุนในเดือน ก.พ. 2562 และเปิดดำเนินการภายในปี 2566
2.โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานสนามบินอู่ตะเภา ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ ซึ่งจะมีการกำหนดเอกชนผู้ร่วมทุนภายในเดือน ธ.ค. 2562 โดยเป็นการพัฒนาศูนย์ซ่อมใหม่ที่ขนาดใหญ่ขึ้น โดยกำหนดเปิดดำเนินการกลางปี 2565
3. โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ซึ่งจะเปิดชี้ชวนผู้ลงทุนภายในเดือนนี้และได้เอกชนร่วมทุนในเดือน ก.พ. 2562 เพื่อลงทุนพัฒนาระบบรางเชื่อมระบบขนส่งจากเรือขึ้นมาบนราง และถมทะเลเพื่อรองรับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุตเพิ่มขึ้น 8 ล้านตู้ต่อปี จากปัจจุบันที่รองรับได้อยู่ที่ 10.8 ล้านตู้ต่อปี
4. โครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 โดยเป็นการขยายท่าเรือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 10.8 ล้านตันต่อปี และสินค้าเหลว ประมาณ 4 ล้านตันต่อปี โดยอยู่ภายใต้การดูแลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) โดยช่วงแรกจะเป็นการถมทะเลเพื่อพัฒนาท่าเรือ และคลังก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะใช้เวลา 3-5 ปีในการพัฒนา และช่วงที่ 2 คือท่าเรือสินค้าเหลว โดยจะชี้ชวนผู้ลงทุนต.ค. นี้ และกำหนดได้เอกชนร่วมทุนในเดือน ม.ค.2562 ก่อนที่จะเปิดกำเนินการต้นปี 2568
“การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) โดยรวมเงินลงทุนทั้ง 5 โครงการทั้งสิ้น 650,000ล้านบาท โดยรัฐบาลจะลงทุน 30% หรือประมาณ 200,000 ล้านบาท”นายกอบศักดิ์ กล่าว
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะ กพอ. กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีการหารือถึงแผนพัฒนาโครงการแผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลระยะเวลา 5 ปี (สมาร์ท ซิตี้ ดิจิทัล ปาร์ค) ที่จะมีการออกประกาศเชิญชวนเอกชนที่สนมใจลงทุนในวันที่ พ.ย. 2561 นี้ ซึ่งจะเป็นการพัฒนา 8 แผนงานหลัก อาทิการพัฒนาศูนย์ทดสอบ 5G การการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอินเตอร์เน็ต ออฟ ติงส์(ไอโอที) และโครงสร้างพื้นฐาน ท่อร้อยสาย เคเบิ้ลใยแก้วนำแสงและเสา เป็นต้น
“โครงการสมาร์ท ซิตี้ ทั้ง 8 แผนงาน มีการใช้งบประมาณรวมแล้วกว่า 18,000 ล้านบาท และมีการอนุมัติงบมาเบื้องต้นแล้ว แต่ขณะเดียวกันจะมีการของบประมาณกลาง ของปีงบประมาณ 2562 เพิ่มเติมอีก 813 ล้านบาท เพื่อมาเสริมในการดำเนินงานเพิ่มเติม”นายคณิศ กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |