อธิบดีกรมศิลป์ฯยันยังไม่พบวัตถุโบราณที่หอระฆัง วัดพระยาทำวรวิหารสูญหาย


เพิ่มเพื่อน    

 

 

2ต.ค.61-อธิบดีกรมศิลป์ แจงยังไม่พบร่องรอยของหาย  จากหอระฆัง วัดพระยาทำวรวิหาร  เผยมีการทำงานเปนระบบ ตรวจเช็คทำบัญชีโบราณวัตถุ ก่อนบุรณณะ   และตรวจสอบอีกครั้ง ยังไม่พบมีอะไรหาย อย่างที่ชาวบ้านเข้าใจ


กรณีชาวบ้านชุมชนวัดพระยาทำวรวิหาร ถนนอรุณอมรินทร์ กว่า 30 คน รวมตัวจี้ถามผู้เกี่ยวข้องเรื่องพระเครื่อง โบราณวัตถุ ภายในหอระฆัง วัดพระยาทำวรวิหาร หายไป โดยอ้างว่ามีคนหยิบติดมือกลับบ้านแล้วเกิดอาถรรพณ์ รวมถึงให้กรมศิลปากรชี้แจงกระบวนการทำงานบูรณะนั้น เมื่อวันที่ 1 ต.ค. นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองโบราณคดีถึงการดำเนินการบูรณะโบราณสถาน โดยผู้รับจ้างได้มีการกำหนดขั้นตอนดำเนินงานขุดตรวจทางโบราณคดี พร้อมทั้งบันทึกภาพถ่ายสภาพก่อนการขุดตรวจ ระหว่างการขุดตรวจและหลังจากเสร็จการขุดตรวจในแต่ละระดับชั้น อีกทั้งมีการบันทึกลักษณะชั้นดินทางโบราณคดี การบันทึกเก็บข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดี และวิเคราะห์หลักฐานที่จากการขุดตรวจทั้งหมด


นายอนันต์กล่าวว่า จากการขุดตรวจชั้นฐานเดิมของเจดีย์ เป็นชั้นดินทรายถมผสมดินร่วน พบโบราณวัตถุประเภทเศษเครื่องถ้วยขลิบสีเหลือง สีเขียว และลวดลายเบญจรงค์ โดยรอบบริเวณพื้นที่ขุดตรวจ นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของเท้ายักษ์และร่องรอยของลำตัวพญานาค ที่ประดับด้วยเครื่องถ้วยลายครามด้านทิศเหนือของเจดีย์ ซึ่งยังคงเหลือลวดลายปูนปั้นเกล็ดพญานาคและชิ้นกระเบื้องถ้วยลายครามที่ใช้ประดับ โดยการดำเนินงานจัดเก็บหลักฐานทางโบราณคดีพบเพียงการเรียงอิฐครอบ ซึ่งฐานดังกล่าวที่พบประดับด้วยเศษชิ้นส่วนกระเบื้องถ้วยลายคราม ถ้วยปูและถ้วยปลา ตลอดทั้งแนวรอบเจดีย์หอระฆัง มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ทั้งนี้ จากลวดลายของเครื่องถ้วยสันนิษฐานว่าเป็นเครื่องถ้วยแหล่งผลิตเตาเดียวกับวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 


นายอนันต์กล่าวด้วยว่า จากการตรวจสอบและประเมินสภาพชุดฐานหอระฆัง วัดพระยาทำวรวิหาร ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเดิมในสมัยแรกสร้าง โดยมีการประดับกระเบื้องเคลือบนั้น พบว่าสภาพปูนที่ยึดติดกระเบื้องเคลือบมีความเสื่อมสภาพ โดยสังเกตได้จากกระเบื้องเคลือบที่ถูกนำมาตีให้แตกบนพื้นผิวปูนบางชิ้นหลุดร่วง รวมถึงบริเวณบางด้านของหอระฆังก็แทบไม่หลงเหลือร่องรอยการประดับส่วนนี้ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าถูกรบกวนตั้งแต่เมื่อสร้างมีการซ่อมบูรณะปรับเปลี่ยนฐานในสมัยที่ 2 ดังนั้น การจัดเก็บหลักฐานทางโบราณคดีจะดำเนินการโดย 2 วิธี โดยวิธีแรก เป็นการตัดยกการเข้าเฝือก เป็นขั้นตอนการป้องกันไม่ให้พังขณะตัดยก และวิธีที่สอง เป็นการเก็บรายชิ้น เป็นวิธีการเก็บหลักฐานทางโบราณคดีในแต่ละชิ้นที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทั้งนี้ กรมศิลปากรได้มีการจัดทำทะเบียนรายละเอียดของโบราณวัตถุชิ้นต่างๆ มีการบันทึกภาพ ระดับ ตำแหน่ง จำนวนชิ้น และวิธีการบูรณะแต่ละส่วนเอาไว้ทั้งหมดแล้ว


 “ผมคิดว่าการดำเนินการบูรณะโบราณสถานของกรมศิลปากรมีขั้นตอนการทำงานที่เป็นอย่างเป็นระบบ มีแบบแผนงานการบูรณะ เพื่อให้การบูรณะออกมาดังเดิม ทั้งนี้ อาจจะมีกระเบื้องประดับบางชิ้นส่วนที่แตกหรือเสียหาย เราได้มีการเก็บมาทำความสะอาดและเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นต้นแบบของการบูรณะ และจัดทำชิ้นส่วนใหม่ กรณีที่มีการแตกสลายไป ซึ่งจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่พบว่าชิ้นส่วนโบราณวัตถุสูญหายไปแต่อย่างใด ดังนั้น อยากให้ชาวบ้านเข้าใจถึงการทำงานของกรมศิลปากรด้วย นอกจากนี้ ขอให้ไม่ต้องกังวลถึงภายในโบราณสถานจะมีกรุพระ เพราะเท่าที่ตรวจสอบไม่พบว่ามีการบรรจุไว้แต่อย่างใด” อธิบดีกรมศิลปากรกล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"