หมอจุฬาแฉอีกกลยุทธ์ระยำ!การจัดสารพิษอยู่ในมือกลุ่มผลประโยชน์จากสารพิษทั้งสิ้น


เพิ่มเพื่อน    

2 ต.ค.61- -ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thiravat Hemachudha ต่อเนื่องในประเด็นสารพิษในพืชผัก ที่กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่าปลอดภัย 

ล่าสุดเข้าโพสต์ว่า เราจะเอาพวกมันอีกหรือ??

เปิดเผยความจริงเบื้องหลังที่มีคนของกระทรวงสาธารณสุข และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ออกมาพูดว่าพืชผักผลไม้มีสารพิษปะปนอยู่ไม่อันตรายและล้างออกได้ซึ่งไม่เป็นความจริง และนอกจากนั้นยังกล่าวอ้างว่าระดับสารพิษที่ปะปนนั้นปริมาณน้อยนิดตามค่ามาตรฐานที่ได้ตั้งขึ้น

และที่สำคัญคือผู้ที่มาจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่บอกความจริงกับประชาชนว่าที่กล่าวถ้อยแถลงว่ามีสารพิษเปื้อนอยู่เพียง 10% ของตัวอย่างตรวจ ความจริงแล้วตัวเองไม่ได้ตรวจสารพาราควอท ไกลโฟเสท และความสามารถในการตรวจสารพิษฆ่าแมลงซึ่งมีอยู่สี่กลุ่มด้วยกันและในประเทศไทยให้ขึ้นทะเบียน 280 ชนิดสามารถตรวจได้เพียง 28 ชนิดและจะกล่าวได้อย่างไรว่าพืชผักผลไม้ไม่มีสารพิษเหล่านี้ และอีก 200 กว่าชนิดที่ตรวจไม่ได้ทำไมไม่บอกประชาชนให้ทราบ และต้องกล่าวย้ำที่ล้างออกนั้นล้างออกได้เฉพาะที่ติดที่เปลือกหรือที่ผิวแต่สารพิษแต่ละชนิดมีความสามารถซึมเข้าไปในเนื้อเยี่อ และวิธีการล้างในแต่ละแบบเช่นน้ำไหลน้ำเกือด่างทับทิมโซดาไฟเป็นต้นจะได้ผลไม่เท่ากัน ในสารพิษแต่ละชนิดและนอกจากนั้นที่ว่าได้ผลนั้นไม่ได้ผลเกิน 50 หรือ 70% ด้วยซ้ำ

เมื่อสืบสาวราวเรื่องไปแล้วจะพบว่า การแถลงของคนในกระทรวงสาธารณสุขและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับกระทรวงเกษตร

นี่เป็นอีก กลยุทธ์ระยำอีกหนึ่งที่พยายามที่จะทำให้มีการใช้สารพิษต่อเนื่องไปอีก โดยทุกอย่างยังคงอยู่ในกำมือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงอุตสากรรมซึ่งทำงานร่วมกับบริษัทสารพิษมาตลอด 30 40 ปี และทำลายความน่าเชื่อถือของกระทรวงสาธารณสุขลงไปอีก

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ร่วมกับกรรมการวัตถุอันตรายซึ่งอาศัยพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายโดยคนเหล่านี้ต่างก็มาจากบริษัทนำเข้าบริษัทจำหน่ายหน่วยราชการกระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนให้ใช้สารพิษเหล่านี้ฆ่าประชาชนคนไทย

จะเห็นว่าในกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ในหัวข้อปริมาณสารพิษตกค้าง:มีเฉพาะหน่วยงานราชการ และสมาคมสารพิษ 2 สมาคมลำดับ 11-12  ส่วนลำดับ 10 คือ ซีพี

ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน (ลำดับ 13 เป็นกรรมการวัตถุอันตราย และ ลำดับที่ 14 เป็นอนุกรรมการเฉพาะกิจ พิจารณาพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต) เป็นกรรมการและอนุฯที่สนับสนุนให้มีการใช้สาพิษ 3 ชนิดต่อ

มติของสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 5 ปี 2555 ประชาชนเคยเรียกร้องให้องค์กรผู้บริโภค และภาคสังคมมีส่วนร่วมในการกำหนดค่า MRL นอกจากกลุ่มสมาคมค้าสารพิษแต่ไม่ได้รับการยอมรับ

มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555

มติ 5.5 ความปลอดภัยทางอาหาร: การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ข้อ 1.2 ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการกำหนดค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit: MRL) ตามมาตรฐานสากล และส่งเสริมความรู้แก่สังคมเพื่อปกป้องสุขภาวะประชาชน

และในข้อ 2 ข้อ 2 ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ดำเนินการปรับปรุงประกาศกฎเกณฑ์การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย โดยให้องค์กรสาธารณะประโยชน์ เป็นผู้คัดเลือกตัวแทนของตนแต่ละสาขาเพื่อให้ได้ตัวแทนที่แท้จริงตามเจตนารมณ์

ความพยายามที่จะสร้างความปลอดภัยให้กับคนไทยไม่สำเร็จ!!!!!!

การจัดสารพิษกำจัดศัตรูพืชและการกำหนดความปลอดภัยในผัก ผลไม้ สินค้าเกษตร จึงอยู่ในหน่วยงานของราชการและกลุ่มผลประโยชน์จากสารพิษทั้งสิ้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"