11 งานศิลปะเสียดสีเสรีภาพการใช้อินเทอร์เน็ตไทย


เพิ่มเพื่อน    

ผลงานสนามเด็กเล่นเสมือนของจริงของฉัน ชวนผู้ชมรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ต

 

     ประติมากรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยรวบรวมภาพต่างๆ จากข่าวมากมายที่เผยแพร่ในประเทศไทย สะท้อนการมีส่วนร่วมของคนไทยบนอินเทอร์เน็ตที่ชื่อ Watch! เป็น 1 ใน 11 ผลงานศิลปะจากศิลปินหลายเชื้อชาติที่ต้องการพลิกปัญหาเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ซ่อนอยู่ใต้สังคมไทย ผ่านนิทรรศการ "อินเทอร์เน็ต ยูนิเวอร์แซลิตี้ บียอนด์ เวิดส์"   
    นิทรรศการนี้เกิดจากความร่วมมือของสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) และองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิ์ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างเสรี เปิดกว้าง เท่าเทียม และมีประสิทธิภาพ เนื่องในโอกาสวันที่ระลึกสากลแห่งการเข้าถึงข้อมูลสำหรับทุกคน ซึ่งตรงกับวันที่    28 กันยายนของทุกปี โดยจัดขึ้นบนสวนดาดฟ้า ชั้น 5 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันนี้ถึง 14 ตุลาคม 2561 ผู้สนใจเข้าชมฟรี

 

Watch! ประติมากรรมสื่อการมีส่วนร่วมไทยบนอินเทอร์เน็ต 


    ในงานเปิดนิทรรศการยังจัดเสวนาโต๊ะกลมหัวข้อ "เสรีภาพแห่งศิลปะ" นำโดยมิซาโกะ อิโตะ ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและตัวแทนยูเนสโก สำนักงานส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, เป็นเอก รัตนเรือง ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย, อนุชา บุญยวรรธนะ ผู้กำกับและนักเขียนบทภาพยนตร์ไทย, วีร์ วีรพร กราฟฟิกดีไซเนอร์ผู้ร่วมแสดงผลงาน เป็นต้น 
    มิซาโกะ อิโตะ ผู้เชี่ยวชาญจากยูเนสโก กล่าวว่า การมีแหล่งอินเทอร์เน็ตค้นหา อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปะ รวมถึงเผยแพร่ผลงานต่างๆ ให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง จะเปิดโอกาสให้ผู้คนเข้าถึงนักสร้างสรรค์ระดับท้องถิ่นและศิลปินที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากขึ้น ขณะที่ศิลปินก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน การผลิตผลงาน การเชื่อมโยงกับประเด็นต่างๆ และการมีส่วนร่วมบนโลกออนไลน์ ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อยากที่ทราบกันดีคนค่อนโลกเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จากผลวิจัยพบรายได้ทางเศรษฐกิจกว่าครึ่งหนึ่งมาจากอินเทอร์เน็ตและแนวโน้มสูงขึ้น แต่แน่นอนมีปัญหาท้าทายต่างๆ เช่น การคุกคามทางสื่อ เครือข่ายออนไลน์ และบล็อกเว็บไซต์ 
    "แนวคิดอินเทอร์เน็ตสำหรับทุกคน ตั้งอยู่บนพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ สิทธิมนุษยชน, ความเปิดกว้าง, ความสามารถในการเข้าถึงได้, การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย ซึ่งเป็นที่มาของนิทรรศการส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในครั้งนี้ เราจัดแสดงชิ้นงานจากศิลปินและนักออกแบบหลากเชื้อชาติ จำนวน 11 คน ทั้งศิลปินไทย เวียดนาม ญี่ปุ่น ฯลฯ มีงานประติมากรรม วิดีโอ รูปภาพ หนังสือ ชวนให้ผู้ชมค้นหาและเข้าใจแนวคิดเพื่อทุกคนของยูเนสโก" มิซาโกะกล่าว และชวนมาชมนิทรรศการ 

 

 

       ด้าน วีร์ วีรพพ ศิลปินเจ้าของผลงาน Watch! กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตทำให้ความสัมพันธ์ของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป ไม่เฉพาะคนทำงานสร้างสรรค์ ในมุมมองศิลปินการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้รับรู้ทั้งความรู้สึกและผลตอบรับของผลงานอย่างรวดเร็ว ศิลปินบางคนทำงานเพื่อเรียกร้องความสนใจ อยากให้ได้ยอดไลค์ทันทีโดยไม่คำนึงผลกระทบหรือความรับผิดชอบ ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์งานทันที อาจขาดความยั้งคิด แต่ตนก็มองว่าการพูดคุยอย่างอิสระเป็นความงดงาม
    ส่วนผลงานชุดนี้ วีร์เล่าว่า รวบรวมภาพต่างๆ จากข่าวที่มีการเผยแพร่กว้างขวาง กลายเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับคนไทยส่วนใหญ่ ชิ้นงานตั้งคำถามถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ ว่ามีผลกระทบต่อคนในการสร้างสังคมที่ดีขึ้นหรือไม่ และการส่วนร่วมทางสังคมกว้างแค่ไหนในไทย อินเทอร์เน็ตเป็นได้มากกว่าแหล่งข้อมูลหรือไม่ นิทรรศการนี้ศิลปินแต่ละคนนำเสนอและมองเรื่องอินเทอร์เน็ตไม่ซ้ำกัน น่าสนใจ 
    เป็นเอก รัตนเรือง ผู้กำกับหนัง แสดงทัศนะในงานเสวนาครั้งนี้ว่า ในยุคก่อนนักวิจารณ์ภาพยนตร์มีผลกับการควักเงินในกระเป๋าเพื่อเข้าชมหนังซักเรื่องในโรงหนัง ซึ่งนักวิจารณ์เหล่านี้สะสมประสบการณ์ ความรู้ และข้อมูลที่เกี่ยวกับหนังจนเชี่ยวชาญ แต่ยุคนี้นักวิจารณ์หนังไม่มีอิทธิพลต่อผู้คนแล้ว กลายเป็นบล็อกเกอร์อวยไส้แตกแหกไส้ฉีก มีเพจหนัง บล็อกหนังเกิดขึ้นมากมาย ตนตั้งคำถามถึงคุณภาพของหนัง แต่ก็เข้าใจพฤติกรรมคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป รวมถึงวัฒนธรรรมของโลกอินเทอร์เน็ต เราต้องการรู้เพียงแค่นี้จริงๆ เขียนยาวกว่านี้ก็ไม่อ่าน เพราะมีเรื่องราวมากมายรอให้พวกเขาอ่านอีกเยอะ 

 


  ช่างฝีมือ 4.0 งานสะท้อนความรู้ท้องถิ่นอยู่รอดในโลกเทคโนโลยี
 

     สนใจชมผลงานศิลปะที่ให้ความรู้ผู้ชมเกี่ยวกับความรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ต และชิ้นงานเสียดสีสังคม การเมือง และประชาธิปไตยในประเทศไทย แวะเวียนมาชมได้ที่ชั้น 5 TCDC กรุงเทพฯ ถึงวันที่ 14 ตุลา. ปิดวันจันทร์. 
 

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"