1 ต.ค.61-นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า ในปี 2534 ตนและอีกหลายคน ชุมนุมกันอยู่ที่ลานโพธิ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญปี 2534 เปิดช่องให้กับคนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งในเวลานั้นสังคมไทยเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง จนกระทั่งมีนักการเมืองอาวุโสคนหนึ่งบอกว่าให้ไปแก้ไขกันในสภา
ซึ่งตนได้คุยกับคณะในขณะนั้นว่า สุดท้ายแล้วจะนำไปสู่ปัญหาและความตาย จนกลายเป็นวิกฤตของชาติ หลังจากนั้นมีการเลือกตั้งที่เรียกว่า 35/1 รัฐบาลคณะรักษาความเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ในขณะนั้น แม่ทัพนายกองภายใต้รหัส 0143 คุมทุกเหล่าทัพ จัดตั้งกันตั้งแต่ระดับกองร้อย ไปถึงระดับกองพัน รวมถึงกองพลบริหารแบบเบ็ดเสร็จทั้งหมด และได้กวาดต้อนเอานักการเมือง ไปตั้งพรรคสามัคคีธรรม
แต่ก่อนหน้านั้นสังคมไทยได้ยอมให้รัฐธรรมนูญผ่าน เนื่องจากผู้นำ รสช. ออกโทรทัศน์ด้วยกันโดยระบุว่า ข้าพเจ้าและพวกทุกคน ไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่าผลจากการรวบรวมนักการเมืองบรรดาสีเทาทั้งหลายในนามพรรคสามัคคีธรรมชนะการเลือกตั้งลำดับที่ 1 และส่งทหารไปเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทย และพรรคกิจสังคม ได้จัดตั้งรัฐบาล
แต่สุดท้าย หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมถูกนักข่าวสิงคโปร์ตั้งคำถาม เรื่องการถูกแบล็คลิสต์ไม่ให้เข้าประเทศสหรัฐอเมริกาในกรณีคดียาเสพติด ดังนั้นทุกอย่างได้ถูกออกแบบมาแล้ว จึงเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า เสียสัตย์เพื่อชาติ นำไปสู่การต่อสู้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดำรงอยู่ในตำแหน่งได้เพียง 47 วันเท่านั้น แต่กลับมีคนตาย 40 ศพ สูญหาย 40 และบาดเจ็บกว่า 1 พันคน
ดังนั้นสิ่งที่ตนพยายามอธิบายมาโดยตลอดนั้น เป็นเพราะตนเข้าใจสถานการณ์ อีกครั้งในห้วงเวลาที่มีการต่อสู้ เรื่องรัฐธรรมนูญปี 2560 นั้น ไม่คาดคิดว่าจะแพ้ประชามติ เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์มาร่วมโหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ปรากฏว่า ผลประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญเป็นฝ่ายชนะ
ตนในฐานะที่เป็น ประธาน นปช. ได้แสดงความรับผิดชอบ ในฐานะที่ไปรบแล้วแพ้กลับมา จึงประกาศในขณะนั้นว่าเมื่อตนไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รวมถึงทำหน้าที่รณรงค์กันอย่างเต็มที่ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด จึงขอไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง
ดังนั้นหากเราจะเร่งทุกอย่างโดยไม่สนใจอะไร บทเรียนพฤษภาทมิฬก็มีให้เห็นกันอยู่ โดยส่วนตัวความคิดของตนแตกต่างไปจากนักเลือกตั้งทั่วไป เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2560 หนักกว่ารัฐธรรมนูญปี 2534 เป็นร้อยเท่า และยิ่งมีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อองคาพยพพรรคการเมืองมีการเปิดตัวโดยมีคนในรัฐบาลและกลุ่มการเมือง รวมตัวกันอยู่ในพรรคการเมืองนั้น ซึ่งเป็นการพิสูจน์ได้ชัดเจนว่า กรรมการและผู้เล่นเป็นคนคนเดียวกัน ดังนั้นในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง หากประสบชะตากรรมเช่นเดียวกันในการรณรงค์ประชามติจะทำอย่างไร
นายจตุพรกล่าวด้วยว่า วันนี้เราต้องการประชาธิปไตย แต่ไม่ว่าจะเสนออะไร ก็ไม่เป็นประชาธิปไตย ถามว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นนี้เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ โดยเฉพาะ ส.ว. มาจากการแต่งตั้งจำนวน 250 คน มีสิทธิ์โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี บวกกับเสียงข้างน้อยจากสภาผู้แทนราษฎร 126 เสียงจาก 500 ถามว่าเป็นประชาธิปไตยหรือไม่
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีอำนาจเหนือกว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เหล่านี้ เรียกว่าประชาธิปไตยหรือไม่ ดังนั้น เราเพียงต้องการเสนอทางออก ว่า หากต้องการเป็นผู้เล่นก็ให้ลาออกจากการเป็นกรรมการ อีกครั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้ถูกออกแบบไว้ให้แก้ไขยากราวกับเดินทางไปพระอาทิตย์.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |