'วันที่อยู่อาศัยโลก' World Habbitat Day สร้างบ้าน สร้างชีวิตใหม่ รูปธรรมจากตำบลคลองหินปูน-บ้านหาดเล็ก


เพิ่มเพื่อน    

 องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันที่อยู่อาศัยโลกหรือ ‘World  Habbitat Day’ เริ่มครั้งแรกในปี พ.. 2528  มีเป้าหมายเพื่อให้สังคมโลกและรัฐบาลนานาประเทศให้ความสำคั­และหาทางแก้ไขปั­หาการไม่มีที่อยู่อาศัย-ที่อยู่อาศัยไม่มั่นคง  หรืออยู่อาศัยในสภาพที่ไม่เหมาะสม  รวมถึงปั­หาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนยากจนในทุกภูมิภาคของโลก

ในประเทศไทย  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  มีหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประชาชน  คือ  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชนและการเคหะแห่งชาติ  โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือพอช.’ มีบทบาทในการสนับสนุนให้ชุมชนและผู้ที่เดือดร้อนรวมตัวกันแก้ไขปั­หา  ผ่านโครงการต่างๆ ที่ พอช.สนับสนุน  เช่น  โครงการบ้านมั่นคงในเมืองและชนบท  บ้านพอเพียงชนบท (ซ่อมแซมบ้านเรือนที่ยากจน) การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าว  คนไร้บ้าน  ฯลฯ 

ขณะที่การเคหะแห่งชาติจัดทำโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ ในลักษณะสำเร็จรูป  เพื่อให้ประชาชนเช่า-ซื้อ  และผ่อนส่งในระยะยาว  เช่น  แฟลต  บ้านเอื้ออาทร  ฯลฯ  กลุ่มเป้าหมายเป็นคนชั้นกลาง  ข้าราชการ  ประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถในการผ่อนชำระ  ไม่ต้องรวมตัวกันจัดทำโครงการเหมือนกับ พอช.

(สมชาติ  ภาระสุวรรณ)

แผนแม่บทที่อยู่อาศัย 20 ปี’  ตั้งเป้าคนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยภายในปี 2579

สมชาติ  ภาระสุวรรณ  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  กล่าวว่า  ประเทศไทยมีครัวเรือนทั้งหมดประมาณ  21.32 ล้านครัวเรือน  มีผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยและต้องการที่อยู่อาศัยประมาณ  3.5 ล้านครัวเรือน   ซึ่งรัฐบาลพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา  ให้ความสำคั­กับการแก้ไขปั­หาดังกล่าว  จึงมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ จัดทำแผนแม่บทที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (..2560-2579) ขึ้นมา  มีเป้าหมายรวม  1,053,702 ครัวเรือน  (ส่วนที่เหลือประมาณ 2 ล้านครัวเรือน  การเคหะแห่งชาติรับไปดำเนินการ) แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ  20 ปี 

แยกเป็น 1.แผนพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนแออัดและผู้มีรายได้น้อยในเมือง  รวม 77 จังหวัด จำนวน 6,450 ชุมชน รวม 701,702 ครัวเรือน(แยกเป็นบ้านมั่นคงทั่วประเทศ  จำนวน 6,450 ชุมชน รวม  690,000 ครัวเรือน ชุมชนริมคลอง  กรุงเทพฯ  74 ชุมชน  รวม 11,004  ครัวเรือน  และคนไร้บ้าน 3 ศูนย์  กรุงเทพฯ/ขอนแก่น/เชียงใหม่  รวม 698 ครัวเรือน)

2.แผนพัฒนาผู้มีรายได้น้อยในชนบท รวม 76 จังหวัด  จำนวน 5,362 ตำบล  รวม 352,000 ครัวเรือน หรือ  โครงการบ้านพอเพียงชนบท  เพื่อซ่อมแซมบ้านเรือนผู้มีรายได้น้อยในชนบท  5,362 ตำบล  รวม 352,000 ครัวเรือน

แผนแม่บทฯ ฉบับนี้   มุ่งเน้นให้คนไทยทุกคนเข้าถึงสิทธิในที่อยู่อาศัย  มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ  โดยจะใช้เป็นกรอบในการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะยาว  และเสริมสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยของประชาชนที่มีความเดือดร้อน  โดยมีวิสัยทัศน์คือ คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่ว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในปี 2579”  ผอ.พอช.กล่าว

ผอ.พอช.กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการว่า  ขณะนี้ พอช.สนับสนุน โครงการบ้านมั่นคงเมือง ไปแล้ว

(เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2556-กันยายน 2561)  รวมพื้นที่ดำเนินการ 74 จังหวัด  388 เมือง  รวม  1,088  โครงการ  จำนวน  108,215  ครัวเรือน  (รวมการพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนริมคลองลาดพร้าว  กรุงเทพฯ จำนวน 31  ชุมชน  รวม 2,916 ครัวเรือน  และศูนย์พัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านที่จังหวัดเชียงใหม่และขอนแก่น)

โครงการบ้านมั่นคงชนบท  (ปีงบประมาณ 2560-2561) รวม 14 จังหวัด  21 เมือง 36 โครงการ  จำนวน 3,155 ครัวเรือน  ซึ่งมีทั้งการก่อสร้างบ้านในที่ดินใหม่ (44 %) และปรับปรุงในที่ดินเดิม (56%) ส่วนให­่เป็นที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) และที่ดินป่าสงวนแห่งชาติที่อนุ­าตให้ประชาชนเข้าไปอยู่อาศัย

โครงการบ้านพอเพียงชนบท  หรือการซ่อมแซมบ้านเรือนที่ยากจนในชนบท (ปีงบประมาณ 2560-2561) จำนวน 1,583 พื้นที่ รวมซ่อมแซมแล้ว  31,622 ครัวเรือน

หลักการสำคั­ในการแก้ไขปั­หาที่อยู่อาศัยของ พอช.ก็คือ ให้ชุมชนเป็นแกนหลักในการแก้ไขปั­หาของตนเอง  โดยมีหน่วยงานภายนอก เช่น พอช. และภาคีเครือข่ายต่างๆ ให้การสนับสนุน  เปลี่ยนจากการที่หน่วยงานรัฐเคยทำให้มาเป็นชาวบ้านผู้เป็นเจ้าของปั­หาดำเนินการเอง  โดยชาวบ้านที่เดือดร้อนจะต้องรวมกลุ่มกัน ร่วมกันสำรวจข้อมูลชุมชนและครัวเรือน  กำหนดทางเลือกการปรับปรุงชุมชน  ร่วมกันออกแบบบ้าน ออกแบบผังชุมชน ร่วมกันออมทรัพย์เพื่อเป็นทุน ไปจนถึงการบริหารงานก่อสร้างบ้าน  ผอ.พอช. อธิบายหลักการแก้ไขปั­หาที่อยู่อาศัย 

ส่วนบทบาทของ พอช.นั้น สมชาติบอกว่า พอช.จะมีหน้าที่สนับสนุนกระบวนการทำงานของชาวบ้าน  เช่น  ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปทำงานกับชาวบ้าน  ให้คำแนะนำการรวมกลุ่ม ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์และสหกรณ์เคหสถาน  มีสถาปนิกชุมชนลงไปให้ความรู้ให้คำแนะนำ รวมทั้งอุดหนุนงบประมาณด้านสาธารณูปโภค และสนับสนุนสินเชื่อเพื่อก่อสร้างบ้าน  ทั้งนี้ พอช.จะให้สินเชื่อในนามกลุ่ม  ไม่ให้เป็นรายบุคคล  และชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ที่ชาวชุมชนร่วมกันจัดตั้งขึ้นมา

 

การพัฒนาเมืองไม่ใช่การไล่คนจนออกไป !!”

Natalja  Wehmer  จากโครงการที่อยู่อาศัยแห่งสหประชาชาติ (UN-Habitat) กล่าวว่า  เมื่อไหร่ก็ตามที่คนพัฒนา  ประเทศนั้นก็จะพัฒนาไปด้วย  แต่ปัจจุบันประชากร  20%  ในประเทศต้องอาศัยอยู่ในสลัม  อยู่ในที่ที่มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี  เราจะทำอะไรกับปั­หานี้ได้หรือไม่ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคั­  และปั­หาเหล่านี้เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตัดสินใจร่วมกัน อย่างไรก็ตาม  ในการเข้าถึงที่ดิน  การเข้าถึง

ทรัพยากรจากภาครัฐ  เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย  แต่ UN มีเป้าหมายเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน

(Sustainable Development Goals - SDGs)

วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน  มีเป้าหมายบรรลุภายในปี 2573 (SDGs 2030 Agenda)  เป็นข้อตกลงที่รัฐบาลทุกรัฐบาลที่เป็นสมาชิก UN  ให้การเห็นชอบในการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ  การออกแบบเมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  ผู้มีรายได้น้อยจะเป็นกลุ่มคนที่ได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง  และตัวเองต้องลุกขึ้นมาพัฒนาตนเองด้วย ผู้แทนสหประชาชาติกล่าวนอกจากนี้การพัฒนาที่ยั่งยืนไม่เพียงแต่มีเป้าหมายเพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น  แต่ยังมีเป้าหมายในการสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่นและชุมชน  ซึ่งทุกคนสามารถใช้เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเครื่องมือสำคั­ในการเจรจาต่อรองกับหน่วยงานรัฐได้  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ทั้งการแก้ไขปั­หาความยากจน  ที่อยู่อาศัย  ล้วนแล้วแต่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งสิ้น  อีกทั้งเป็นเรื่องที่รัฐบาลได้ลงนามบันทึกข้อตกลงในการดำเนินงานแก้ไขปั­หาเหล่านี้แล้ว  จึงอยากให้แต่ละเมือง แต่ละพื้นที่ได้วางเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของตนเอง  และพัฒนาต่อยอดเรื่องเหล่านี้ให้ไปสู่ระดับประเทศได้

สมสุข  บุ­­ะบั­ชา  ที่ปรึกษาคณะกรรมการ

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชนกล่าวว่าเมืองต่างๆ ในประเทศไทยและในเอเซียมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก  การเปลี่ยนแปลงของเมืองที่จะเกิดขึ้นได้ก็จะเกิดการไล่รื้อ  เมือง  ผู้คน  ชุมชน  ระบบโครงสร้างความสัมพันธ์ผู้คนในเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่ง 1 ใน 7 ประชากรในโลกยังต้องอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยที่ไม่มั่นคง  บางเมืองคนมากกว่าครึ่งต้องอาศัยอยู่ในสลัม

แนวโน้มความท้าทายของการพัฒนาในประเทศเอเชีย  จะเกิดการเคลื่อนย้ายผู้คนจากชนบทเข้าเมือง  รัฐบาลแต่ละประเทศมีแนวโน้มในการรวมศูนย์มากขึ้น  เกิดการไล่ที่  เกิดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อทำมาหากิน  การอยู่อาศัยแบบปัจเจกมากขึ้น  ที่อยู่อาศัยอยู่ไกล  ต่างคนต่างอยู่  ไม่มีงบประมาณในการพัฒนาเรื่องที่อยู่อาศัย

ตัวอย่างของประเทศสิงคโปร์  ที่ใช้เรื่องที่อยู่อาศัยในการสร้างสถานภาพ  สร้างความเป็นพลเมืองให้กับผู้คนในเมือง  คนสิงคโปร์มากกว่า 90 % อาศัยอยู่ในแฟลต  หลายประเทศทั่วโลกอยากนำแนวทางนี้มาพัฒนาที่อยู่อาศัยเป็นต้นแบบ  แต่โมเดลนี้ไม่ได้เหมาะสมกับทุกพื้นที่

ในเมืองไทย  มีกระบวนการคิดค้นการแก้ไขปั­หาที่อยู่อาศัยได้อย่างก้าวหน้าและรวดเร็ว  คือการแก้ไขปั­หาโดยประชาชน  ซึ่งเรื่องของที่อยู่อาศัยไม่ใช่สินค้า  ไม่ใช่ให้ใครมาสร้าง  แต่ที่อยู่อาศัยคือการสร้างชุมชน  ต้องให้คนในชุมชนเป็นหลักในการพัฒนา  สมสุขกล่าว

สมสุขกล่าวถึงเรื่องการพัฒนาเมือง 3 ทิศทาง  คือ  1. เศรษฐกิจนำ  2. กายภาพเป็นหลัก (ต้องมีชุมชน  มีเมืองที่ดี  และสวยงาม ) 3. คนและสังคมเป็นหลัก  ดังนั้นเมืองจะพัฒนาไปทำไมถ้าไม่พัฒนาเพื่อคนในเมือง ? และให้ประชาชนมีส่วนร่วม เชื่อมโยง  วางแผน  และมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน  ซึ่งการทำเรื่องที่อยู่อาศัย  คือระบบการอยู่อาศัยร่วมกัน  ไม่ใช่เฉพาะแต่เรื่องที่อยู่ที่นอน แต่เป็นการสร้างสิทธิขั้นพื้นฐานร่วมกัน  มีสวัสดิการ  มีสังคมร่วมกัน  ช่วยเหลือกัน  ชุมชนเป็นรากฐานของการสร้างเมือง  เป็นประชาชนที่ตื่นรู้

 “การพัฒนาเมืองไม่ได้หมายความว่าต้องไล่คนจนออกไป  แต่เป็นการเปลี่ยนการพัฒนาใหม่  คนเดิม  ชุมชนเดิม  แต่ปรับปรุงที่อยู่อาศัยใหม่  จัดพื้นที่ใหม่  ได้ inclusive  city  หมายถึงการที่คนทุกคนในเมืองได้เป็นส่วนหนึ่งของเมือง  ได้มีที่อยู่อาศัยที่ดี  สวยงาม  ปลอดภัยในที่ดินเดิม ดังนั้นเรื่องบ้านและที่อยู่อาศัย  จึงเป็นจุดเริ่มต้น  นำไปสู่การพัฒนาเรื่องอื่นๆ อย่างรอบด้าน  เป็นการสร้างระบบใหม่ของเมืองที่มีองค์ประกอบจากท้องถิ่น  ชุมชน  สถาบันการศึกษา  และภาคีอื่นๆ สมสุขกล่าวสรุป

 

จัดกิจกรรมรณรงค์วันที่อยู่อาศัยโลกทั่วประเทศ

วันที่อยู่อาศัยโลกปี 2561 ตรงกับวันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม  เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนทั่วประเทศได้จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคั­กับการแก้ไขปั­หาที่อยู่อาศัยของคนจน  เช่น  เครือข่ายสลัม 4 ภาคจะติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปั­หาที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ชุมชนต่างๆ จะได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟรางคู่-รถไฟความเร็วสูง  และยื่นหนังสือถึงองค์การสหประชาชาติที่หน้าสำนักงานถนนราชดำเนินนอก  กรุงเทพฯ

ภาคเหนือจะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ใน 16 จังหวัด  และมีการทำกิจกรรมต่างๆ  เช่น  การรวมตัวยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการในแต่ละจังหวัดเพื่อให้ความสำคั­ในการแก้ไขปั­หาที่อยู่อาศัยของชาวบ้านที่เดือดร้อน  การระดมจิตอาสาสร้างบ้านให้ผู้สูงอายุที่จังหวัดอุตรดิตถ์ (วันที่ 9-11 ตุลาคม) การจัดนิทรรศการแก้ไขปั­หาที่อยู่อาศัยและเวทีเสวนา

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมในภาคใต้ที่จังหวัดตรัง (ปั­หาที่ดินการรถไฟ) และสตูลภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดนครราชสีมาและสุรินทร์กรุงเทพฯ ที่ชุมชนริมคลอง กสบ.หมู่ 5 เขตสายไหม และที่ห้องประชุมสำนักงานองค์การสหประชาชาติ   ถนนราชดำเนินนอก (วันที่ 10 ตุลาคมภาคตะวันออกที่ตำบลหาดเล็ก อ.คลองให­่ จ.ตราด (ที่ดินกรมเจ้าท่า วันที่ 11 ตุลาคม) ภาคกลางที่จังหวัดนครสวรรค์ (14-15 ตุลาคม) ฯลฯ

 

สร้างบ้าน-สร้างชีวิตใหม่ที่ ต.คลองหินปูน จ.สระแก้ว

ในอดีตพื้นที่ในจังหวัดปราจีนบุรีและใกล้เคียงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้นานาพรรณ  แต่เมื่อรัฐบาลเปิดสัมปทานป่าไม้ (ประมาณปี พ.. 2509-2511)  พื้นที่แถบนี้จึงกลายเป็นพื้นที่ราบ  ผู้คนทั่วสารทิศ  โดยเฉพาะจากภาคอีสานจึงหลั่งไหลเข้ามาทำงานรับจ้างในปางไม้  รวมทั้งบุกเบิกที่ดินทำกิน  สร้างหมู่บ้าน  สร้างชุมชนใหม่ขึ้นมา

เช่นเดียวกับที่ตำบลคลองหินปูน อ.วังน้ำเย็น  .สระแก้ว  (เดิมขึ้นอยู่กับ ต.เขาฉกรรจ์  .สระแก้ว  .ปราจีนบุรี) ราวปี 2510 เป็นต้นมา 

มีพี่น้องจากภาคอีสานอพยพเข้ามาทำกินและบุกเบิกที่ดินเป็นจำนวนมาก  ส่วนให­่ทำนา  ปลูกข้าวโพด  อ้อย  มันสำปะหลัง  เผาถ่าน  ฯลฯ  คนที่สะสมทุนรอนได้ก็จะซื้อและขยายที่ดินออกไป  ส่วนให­่เป็นที่ดินมือเปล่า’  คือไม่มีเอกสารสิทธิใดๆ เพราะเป็นที่ดินที่อยู่ในการดูแลของกรมป่าไม้  (ต่อมากรมป่าไม้ให้หน่วยงานต่างๆ เข้าใช้ประโยชน์ตามคำขอ  เช่น  นิคมสหกรณ์  องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) สปก. ฯลฯ)

ละอองดาว  สีลาน้ำเที่ยง  อดีตผู้ให­่บ้านหมู่ 6 ตำบลคลองหินปูน  เล่าว่า  ตำบลคลองหินปูนมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ  32,340 ไร่ 

ส่วนให­่เป็นที่ดินของรัฐ  คือ สปก., นิคมสหกรณ์ออป., ป่าไม้  และราชพัสดุ  ส่วนชาวบ้านถือครองที่ดินน้อยมาก  บางครอบครัวมีที่ดินทำกินไม่กี่ไร่  แต่มีหนี้สินจากการทำไร่  ทำนา  ต้องเอาที่ดินไปจำนองนายทุน  เมื่อไม่มีเงินไปไถ่ถอน ที่ดินจึงหลุดมือ  ต้องเช่าที่ดินนายทุนทำกิน  นอกจากนี้ยังมีปั­หาเรื่องที่อยู่อาศัย  ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง  ต้องอาศัย­าติพี่น้องและครอบครัวอยู่กันอย่างแออัด  และจำนวนมากที่มีฐานะยากจน  สภาพบ้านเรือนผุพังทรุดโทรม

 

สถาบันการเงินชุมชนสร้างทุน-แก้ปั­หาหนี้สิน

ในปี 2547 ละอองดาวในฐานะผู้นำชุมชน  รวมทั้งแกนนำในตำบลต่างๆ ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่บ้านสามขา  อำเภอแม่ทะ  จังหวัดลำปาง  ซึ่งทำเรื่องการแก้ไขปั­หาหนี้สินของชุมชน  โดยใช้กระบวนการสำรวจข้อมูลปั­หา  แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปั­หา  โดยจัดตั้งธนาคารหมู่บ้านขึ้นมา  ทำให้ชาวบ้านมีแหล่งทุนกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพและลดปั­หาหนี้สินจากดอกเบี้ยนอกระบบ   

หลังกลับจากการดูงานที่ลำปาง  ละอองดาวจึงนำแนวคิดนี้มาขยายผล  โดยรวบรวมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  กองทุนปุ๋ย  กองทุนหมู่บ้าน  กลุ่มอาชีพต่างๆ ฯลฯ  ที่มีอยู่ในตำบลเข้ามารวมกัน  มีเงินกองทุนรวมประมาณ  4 ล้านบาทเศษ  ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน  2549  จึงเปิดดำเนินการ  ใช้ชื่อว่าสถาบันการเงินชุมชนบ้านบ่อลูกรัง”  ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งทุนให้แก่ชาวบ้านแล้ว  สถาบันการเงินฯ ยังมีเป้าหมายแก้ไขปั­หาที่ดินให้แก่ชาวบ้านด้วย    โดยมีสมาชิกเริ่มต้นประมาณ  100 ราย  ส่วนให­่เป็นชาวบ้านในหมู่ที่บ้านบ่อลูกรัง  

สมาชิกจะต้องถือหุ้นอย่างน้อยคนละ 1 หุ้นๆ ละ 100 บาท  และฝากเงินออมทรัพย์ตั้งแต่ 10 บาทขึ้นไป  สมาชิกสามารถกู้ยืมเงินเพื่อนำไปประกอบอาชีพหรือใช้จ่ายยามจำเป็น  ไม่เกินจำนวน  3 เท่าของเงินที่ตนเองฝาก  บวกอีก 90 %  ของเงินหุ้นที่ตนเองมีอยู่  โดยมีสมาชิกคนอื่นค้ำประกัน  อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ  1 บาทต่อเดือน  

นอกจากนี้สมาชิกที่ไม่มีที่ดินทำกินหรือไม่มีที่อยู่อาศัยก็สามารถนำเงินมาฝากเข้ากองทุนที่ดินและที่อยู่อาศัยอย่างน้อยคนละ 100 บาทต่อเดือน  ในช่วงแรกมีสมาชิกที่ฝากเงินเข้ากองทุนที่ดินประมาณ 20  ราย  คนที่มีมากก็ฝากมาก  บางคนฝากเดือนละ 500-1,000 บาท

 

ใช้กองทุนสวัสดิการฯสภาองค์กรชุมชนแก้ปั­หาที่ดินที่อยู่อาศัย

ในปี 2551 ละอองดาวเป็นแกนนำรวบรวมชาวบ้านในตำบลคลองหินปูนจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลคลองหินปูนขึ้นมา  เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในยามเจ็บไข้ได้ป่วย  ช่วยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวันตาย  แต่ที่ละอองดาวคิดไปไกลกว่านั้นก็คือ   จะใช้กองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นเครื่องมือในการรวมเงิน  รวมคนที่เดือดร้อนทั้งตำบลมาแก้ไขปั­หาที่ดินที่อยู่อาศัยให้ประสบความสำเร็จ !!

ดังนั้นในระเบียบของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลคลองหินปูนจึงได้จัดสรรการบริหารเงินกองทุน โดยกำหนดให้นำเงินกองทุนสวัสดิการฯ จำนวน  25 ของเงินกองทุนทั้งหมดมาให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อแก้ไขปั­หาที่ดิน ส่วนที่เหลือจัดสรรเป็นเงินสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิก  30 % , เงินกู้ยืมทั่วไป  30 % ,  เงินกู้ยืมเพื่อแก้ปั­หาหนี้สิน หนี้นอกระบบ  5 % ,  เงินสำรอง  5 %  และค่าบริหารจัดการ  5 %  

สมาชิกกองทุนสวัสดิการฯ จะต้องสมทบเงินเข้ากองทุนเป็นรายเดือน (วันละ 1 บาท, เดือนละ 30 บาท หรือปีละ 365 บาทสวัสดิการที่จัดให้แก่สมาชิก  เช่น  เกิด  แม่นอนโรงพยาบาลได้เงินช่วยเหลือคืนละ 150 บาท  ปีหนึ่งไม่เกิน  5 คืน  บุตรได้เงินรับขวั­  500 บาท  เจ็บป่วย  นอนโรงพยาบาล  ช่วยเหลือคืนละ 150 บาท   ปีหนึ่งไม่เกิน 5 คืน  เสียชีวิต  ตามอายุการเป็นสมาชิก  เช่น  เป็นสมาชิกครบ  6  เดือนช่วย  2,000 บาท  ครบ 3 ปีช่วย 10,000 บาท  ฯลฯ

ในปี 2552  ตำบลคลองหินปูนจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลขึ้นมา (ตาม พ...สภาฯ พ..2551) โดยสภาฯ มีบทบาทในการรวมกลุ่มต่างๆ ในตำบลเข้ามาพูดคุย  ปรึกษาหารือกัน  เช่น  เรื่องการขยายสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชน  เรื่องการแก้ไขปั­หาที่ดิน  ฯลฯ  โดยมีกลุ่ม อสม. ที่มีบทบาทในการช่วยเหลือดูแลชาวบ้านในเรื่องสุขภาพและอนามัยเข้ามาเป็นสมาชิกของสภาฯ ด้วย  กลุ่ม อสม.ที่มีอยู่ทุกหมู่บ้านจึงได้ช่วยกันขยายผลเรื่องกองทุนสวัสดิการ  ช่วยชี้แจงและประชาสัมพันธ์   ทำให้ชาวบ้านสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการเพิ่มมากขึ้น  ภายในปี 2552  กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลคลองหินปูนมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 2,500 ราย    มีเงินกองทุนประมาณ  2,700,000 บาท

     นอกจากนี้สภาองค์กรชุมชนยังมีบทบาทในการขับเคลื่อนเรื่องปั­หาที่ดิน โดยสภาฯ เป็นเวทีรวบรวมชาวบ้านที่เดือดร้อนเข้ามาแก้ไขปั­หาที่ดินร่วมกัน  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนที่ดินและที่อยู่อาศัยขึ้นมา มีตัวแทนชาวบ้านที่เดือดร้อนหมู่ละ 2 คนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ  รวมคณะกรรมการทั้งหมด 32  คนจาก 16  หมู่บ้าน   หลังจากนั้นจึงมีการสำรวจข้อมูลปั­หาที่ดินทั้งตำบล  

     จากการสำรวจข้อมูลพบว่า  ที่ดินในตำบลคลองหินปูนมีทั้งหมดประมาณ  32,340 ไร่   เป็นที่ดิน สปก. 16,320 ไร่  ที่ดินนิคมสหกรณ์วังน้ำเย็นและโฉนดที่ดิน 13,688 ไร่  พื้นที่กรมป่าไม้  1,500 ไร่  ออป.  1,640 ไร่  และที่ราชพัสด

22 ไร่  ส่วนชาวบ้านในตำบลคลองหินปูนมีประมาณ  3,000  ครอบครัว  มีชาวบ้านที่เดือดร้อนขาดแคลนที่ดินทำกินประมาณ 720  ครอบครัว  ขาดแคลนที่อยู่อาศัยประมาณ  212  ครัวเรือน  

 

กองทุนที่ดินและที่อยู่อาศัยฯ สร้างบ้าน-สร้างชีวิตใหม่

ละอองดาว  สีลาน้ำเที่ยง  ในฐานะประธานกองทุนที่ดินและที่อยู่อาศัยตำบลคลองหินปูนเล่าถึงการแก้ไขปั­หาที่ดินและที่อยู่อาศัยว่า จากข้อมูลผู้เดือดร้อนทั้งตำบล  จึงนำไปสู่การแก้ไขปั­หา  โดยใช้กองทุนที่ดินและที่อยู่อาศัยฯ ที่จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2549 จัดซื้อที่ดินแปลงแรกในหมู่ที่ 6 ในปี 2552 เนื้อที่ 10 ไร่  ราคาไร่ละ 50,000 บาท  รวม 500,000 บาท  โดยใช้เงินจากกองทุนฯ และเงินกู้ยืมจากกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลคลองหินปูน แบ่งที่ดินให้สมาชิกที่มีความเดือดร้อนเร่งด่วนก่อน (โดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกองทุนฯ) ได้ 10 ครัวเรือนๆ ละ 1 ไร่  เพื่อใช้เป็นที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย  นอกจากนี้สมาชิกยังสามารถกู้ยืมเงินเพื่อสร้างบ้านได้ไม่เกินหลังละ 60,000 บาท  คิดค่าบำรุงเงินกู้เพียงร้อยละ 1 บาทต่อปี

เราถือว่าเป็นการช่วยเหลือสมาชิก  ไม่ถือว่าเป็นดอกเบี้ยเงินกู้  แต่สมาชิกที่จะกู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่ดินหรือสร้างบ้าน  จะต้องมีเงินออมอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์  เช่น  จะกู้ 60,000 บาท  ต้องมีเงินออมในกองทุนฯ หรือมีเงินออมในสถาบันฯ อย่างน้อย 6,000 บาท  ผ่อนชำระคืนเดือนละ 500 บาท  ใครมีมากก็ผ่อนมากกว่านั้น  ไม่กี่ปีก็ผ่อนหมด  ละอองดาวยกตัวอย่าง

ขณะเดียวกันในช่วงเวลานั้น  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชนมีโครงการจัดการที่ดินแนวใหม่  เพื่อแก้ไขปั­หาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของชาวบ้านในชนบท  โดยชุมชนจะต้องร่วมกันแก้ไขปั­หา  ใช้พลังและทุนที่ชุมชนมีอยู่  และมีหน่วยงานของรัฐในท้องถิ่นช่วยสนับสนุน   ตำบลคลองหินปูนจึงเข้าร่วมโครงการดังกล่าว  ในปี 2554  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนโครงการแก้ไขปั­หาที่ดินของตำบลคลองหินปูนประมาณ  2 ล้านบาทเพื่อจัดซื้อที่ดิน  โดยชาวบ้านมีส่วนร่วม  ทั้งในแง่เงินสมทบและการใช้กระบวนการแก้ไขปั­หาโดยชุมชน  เช่น  การร่วมกันสำรวจข้อมูลผู้ที่เดือดร้อน   การจัดซื้อที่ดิน  การวางผังชุมชน  การจัดสรรแบ่งแปลงที่ดิน  ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม  จากการซื้อที่ดินแปลงแรก  ในปีต่อๆ มา  กองทุนที่ดินและที่อยู่อาศัยฯ ยังได้ช่วยเหลือสมาชิกให้มีที่ดินทำกินและมีที่อยู่อาศัยได้อีกหลายสิบราย  เช่น  ที่ดินในหมู่ที่ 3  เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน  ราคา 370,000 บาท  เป็นที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย  แบ่งได้ 17 ครอบครัวๆ ละ 100 ตารางวา  ราคาแปลงละ 19,500 บาท  เริ่มสร้างบ้านในปี 2556 ขณะนี้ชาวบ้านเข้าอยู่อาศัยแล้ว

                นอกจากนี้ยังมีที่ดินในหมู่ที่ 2 เนื้อที่ 22 ไร่  แบ่งได้ 11 ครอบครัวๆ ละ 2 ไร่  ใช้เป็นที่ดินทำกินและปลูกบ้าน  และที่ดินในหมู่ที่ 6 เนื้อที่ 14 ไร่  แบ่งได้ 7 ครอบครัว  ซึ่งทั้ง 2 แปลงนี้ชาวบ้านที่เดือดร้อนได้เข้าอยู่อาศัยและทำกินแล้วเช่นกัน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านอีกหลายครอบครัวที่ไม่มีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ต้องอาศัยที่ดินของผู้อื่นอยู่  เมื่อเจ้าของต้องขายหรือใช้ประโยชน์จึงต้องถูกไล่ที่  กองทุนฯ จึงได้ช่วยเหลือให้เข้าเป็นสมาชิก  จนมีบ้านและที่ดินเป็นของตัวเอง  โดยผ่อนส่งที่ดินและบ้านเดือนละไม่กี่ร้อยบาท  รวมแล้วกองทุนฯ ได้ช่วยเหลือชาวบ้านให้มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเองแล้ว 25 ครอบครัว  และมีที่อยู่อาศัยอีก 65 ครอบครัว 

วรรณา  สุขเกษม  อายุ 60 ปี  สมาชิกกองทุนที่ดินฯ หมู่ที่ 3 สร้างบ้านเสร็จไปแล้วเมื่อหลายปีก่อน  บอกว่า  เมื่อก่อนเช่าบ้านอยู่กับครอบครัวเดือนละ 1,000 บาท   เมื่อเป็นสมาชิกกองทุนที่ดินฯ ตำบลคลองหินปูน   จึงได้ที่ดิน 1 แปลง  ขนาด 100 ตารางวา  ราคาที่ดิน 19,500 บาท  ผ่อนส่งที่ดินเดือนละ 600 บาท  และสร้างบ้านใหม่จึงกู้เงินจากกองทุนฯ มา 40,000 บาท   ผ่อนส่งเดือนละ 800 บาท   ตอนนี้ผ่อนส่งที่ดินและบ้านเกือบหมดแล้ว  ดีใจที่มีบ้านและที่ดินเป็นของตัวเอง  ดีกว่าเช่าบ้านคนอื่นอยู่ทั้งปีทั้งชาติ

เช่นเดียวกับ ณัฐวุฒิ   ศรีวันดี  สมาชิกในหมู่ที่ 3 บอกว่า  เมื่อก่อนต้องปลูกบ้านอยู่ในไร่อ้อย  ไฟฟ้า  น้ำประปาก็ไม่มีใช้  ครอบครัวลำบากมาก  แต่ตอนนี้ชีวิตดีขึ้นมาก มีบ้านและที่ดินเป็นของตัวเอง มีน้ำประปา มีไฟฟ้าใช้ ที่ดินที่อยู่อาศัยก็ห่างจากถนนใหญ่ไม่กี่ร้อยเมตร  ไม่ลำบากเหมือนเมื่อก่อน

ปัจจุบันกองทุนที่ดินและที่อยู่อาศัยตำบลคลองหินปูนมีสมาชิกประมาณ 50 ราย  มีเงินกองทุนประมาณ   4 ล้านบาทเศษ  ส่วนกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ มีสมาชิกประมาณ 4,200 คน  มีเงินกองทุนประมาณ 5 ล้านบาทเศษ  ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา  กองทุนสวัสดิการฯ ได้ช่วยเหลือสมาชิกที่บ้านเรือนทรุดโทรม  โดยจัดสรรงบประมาณซื้อวัสดุเพื่อซ่อมแซมบ้านครัวเรือนหนึ่งไม่เกิน 20,000 บาท  จำนวน 70 หลัง  รวมเป็นเงิน 1,400,000 บาท

ผู้ใหญ่ละอองดาวเยี่ยมสมาชิกที่สร้างบ้านใหม่

ละอองดาว บอกในตอนท้ายว่า  ยังมีที่ดินอีกหลายแปลงที่กองทุนฯ จะซื้อหรือขอใช้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เช่น  ที่ดินไร่อ้อยในหมู่ที่ 6 ที่กำลังจะหมดสัญญาเช่าในปี 2563 เนื้อที่ 42 ไร่  กำลังเจรจาซื้อขาย,  ที่ดิน สปก.ที่รัฐบาลยึดมาจากนายทุนเนื้อที่ 318 ไร่, ที่ดินราชพัสดุ 22 ไร่   และที่ดินสาธารณะในตำบลอีก 3 ไร่  อยู่ในระหว่างการขออนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของที่ดิน  ฯลฯ

“โดยเฉพาะที่ดินของรัฐนี้  เรามีแผนจะนำมาจัดสรรให้ชาวบ้านที่ยังไม่มีที่ดินทำกินและไม่มีบ้านเป็นของตัวเองได้เข้าไปอยู่อาศัยและทำกิน  ตามแผนงานจะเริ่มเข้าไปปรับพื้นที่ได้ในช่วงปลายปีนี้  คาดว่าจะรองรับชาวบ้านได้ประมาณ 150 ครอบครัว  รวมกับที่กองทุนฯ ได้แก้ปัญหาทั้งเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยไปแล้ว 90 ครอบครัว  แต่ก็ยังไม่พอเพียง  เพราะทั้งตำบลมีคนที่เดือดร้อนทั้งหมดกว่า 900 ครอบครัว  ก็ต้องหาทางแก้ไขกันต่อไป” ละอองดาวกล่าวทิ้งท้าย 

 

      

“หาดเล็กโมเดล”  บ้านมั่นคงบนที่ดินกรมเจ้าท่า

 

                สุดชายแดนไทยด้านทะเลตะวันออกที่ติดกับจังหวัดเกาะกง  ประเทศกัมพูชา  คือตำบลหาดเล็ก  อ.คลองใหญ่  จ.ตราด  มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 17 ตารางกิโลเมตร   มีครัวเรือนทั้งหมดจำนวน  1,924  ครัวเรือน  ประชากรประมาณ 5,000 คนเศษ  ส่วนใหญ่มีอาชีพประมง  ด้วยสภาพพื้นที่ที่มีลักษณะแคบยาว  ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขาบรรทัดซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทย-กัมพูชา  และด้านตะวันตกติดกับชายฝั่งทะเลอ่าวไทย  มีความราบของพื้นที่จากภูเขาถึงชายฝั่งทะเลไม่เกิน 200 เมตร  จึงทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นที่ดินของกรมเจ้าท่า  มีปัญหาความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย

                กิจปภา  ประสิทธิเวช  นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหาดเล็ก  เล่าว่า  ตำบลหาดเล็กเป็นชุมชนเก่าแก่  ชาวบ้านอยู่อาศัยกันมานานนับร้อยปี  ส่วนใหญ่มีเชื้อสายเกาะกง  เนื่องจากในสมัยก่อนเกาะกงและกัมพูชาอยู่ในปกครองของไทย  จึงมีคนไทยเข้าไปทำมาหากินที่เกาะกงเป็นจำนวนมาก   แต่เมื่อไทยยกเกาะกงและพื้นที่อื่นๆ ให้กับฝรั่งเศสเมื่อเกิดสงครามไทย-ฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีคนไทยส่วนหนึ่งอพยพกลับมาอยู่ที่หาดเล็ก 

นอกจากนี้ในสมัยสงครามในกัมพูชา  ช่วงเขมรแดงเมื่อ 30-40  ปีที่ผ่านมา  คนไทยเกาะกงได้หนีกลับมาอยู่ที่หาดเล็กอีกระลอกหนึ่ง  บ้านเรือนในตำบลหาดเล็กจึงหนาแน่น  บางส่วนต้องปลูกสร้างบ้านลงไปในชายทะเล  รวมทั้งที่ดินส่วนใหญ่ที่ชาวบ้านปลูกสร้างบ้านก็เป็นที่ดินที่กรมเจ้าท่าดูแลอยู่ โดยมีบ้านเรือนที่ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินกรมเจ้าท่าจำนวน 738 หลัง ชาวบ้านจึงไม่มีความไม่มั่นคงเรื่องที่ดินที่อยู่อาศัย  และหากจะซ่อมแซมบ้านหรือดัดแปลงที่อยู่อาศัยก็จะต้องขออนุญาตจากกรมเจ้าท่าก่อน

คำสั่ง คสช.ที่ 32/2560 ชะลอปัญหาบ้านเรือนรุกล้ำลำน้ำ

กรมเจ้าท่า  กระทรวงคมนาคม  ได้ออก ‘พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2560’ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560  เหตุผลในการออก พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว  เนื่องจากในปัจจุบันมีการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งล่วงล้ำลำน้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตเพิ่มมากขึ้น กรมเจ้าท่าจึงแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในการดําเนินการเกี่ยวกับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว  และเพิ่มเติมบทกําหนดโทษ  เช่น  ต้องเสียค่าตอบแทนเป็นรายปี  หากฝ่าฝืน (มาตรา 117) โดยปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต  มีโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่น้อยกว่าตารางเมตรละ 1,000-20,000 บาท  หรือทั้งจําทั้งปรับ  และปรับรายวัน  วันละไม่เกิน ตรม.ละ 20,000 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม  ในเดือนกรกฎาคม 2560  คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เล็งเห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชน  เนื่องจากมีชุมชนและประชาชนปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนอยู่ในที่ดินของกรมเจ้าท่าทั่วประเทศ  โดยเฉพาะที่ดินริมชายทะเลและริมแม่น้ำ คสช.จึงมีคำสั่งที่ 32/2560 ออกมา โดยให้เหตุผลว่า เพื่อไม่ให้การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสังคมโดยรวม  ทั้งในด้านการประกอบอาชีพโดยเฉพาะในภาคการเกษตร   และการอยู่อาศัยของประชาชนริมน้ำซึ่งเป็นวิถีชุมชนดั้งเดิม.....จึงจําเป็นต้องขยายระยะเวลาการดําเนินการตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย  (ฉบับที่  17)  พ.ศ. 2560  ออกไปอีกระยะหนึ่ง”

ทั้งนี้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำที่ไม่เคยได้รับอนุญาตหรือได้รับอนุญาตแต่ปลูกสร้างไม่เป็นไปตามรูปแบบที่ได้รับอนุญาตก่อนวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ให้แจ้งต่อกรมเจ้าท่าภายใน 60 วันนับแต่มีคำสั่ง คสช. จะได้ยกเว้นโทษทางอาญาและโทษปรับ

บ้านมั่นคงบนที่ดินกรมเจ้าท่า

กิจปภา  นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหาดเล็ก  กล่าวว่า จากคำสั่งของ คสช.ดังกล่าว  เทศบาลตำบลหาดเล็กจึงจัดประชุมชาวบ้านเพื่อให้ชาวบ้านไปแจ้งเพื่อขึ้นทะเบียนสิ่งปลูกสร้างตามกำหนดต่อสำนักงานกรมเจ้าท่าภูมิภาคสาขาตราด  นอกจากนี้ทางเทศบาลฯ ยังได้หารือกับกรมเจ้าท่าเรื่องการขออนุญาตซ่อมแซมบ้านเรือนของชาวบ้านในเขตเทศบาลตำบลหาดเล็ก  เนื่องจากบ้านเรือนส่วนใหญ่ปลูกสร้างมานานหลายสิบปี  สภาพบ้านจึงผุพัง  ทรุดโทรม  โดยเฉพาะพื้นบ้านและเสาบ้านที่แช่อยู่ในน้ำจนผุกร่อน  บางหลังบ้านทรุดเอียงจนแทบจะพังลงไปในทะเล

“ชาวบ้านทำเรื่องเพื่อขออนุญาตกรมเจ้าท่าเพื่อซ่อมแซมบ้าน และยืนยันว่าจะไม่มีการบุกรุกที่ดินชายทะเลเพิ่มเติม นอกจากนี้ก็จะช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะและน้ำเสียลงทะเล ช่วยกันดูแลป่าชายเลน ป่าโกงกางที่เทศบาลฯ และชาวบ้านช่วยกันปลูกเอาไว้เมื่อหลายปีก่อนด้วย” นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหาดเล็กกล่าว และว่า เทศบาลฯ ได้ร่วมกับชาวบ้านจัดทำโครงการ ‘บ้านมั่นคง’ โดยเสนอมายังสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณด้วย

 ชุมชนประมงบ้านหาดเล็ก

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2561 พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมคณะ  และผู้บริหารสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจสภาพปัญหาที่อยู่อาศัยของชาวบ้านที่ตำบลหาดเล็ก  และประชุมร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงานกรมเจ้าท่าภูมิภาคสาขาตราด และเทศบาลตำบลหาดเล็ก

พลเอกสุรศักดิ์กล่าวว่า  ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐทั่วประเทศมีจำนวนมาก ทั้งที่ดินกรมเจ้าท่า ป่าไม้ ป่าชายเลน ซึ่งชาวบ้านได้สร้างบ้านสร้างที่อยู่อาศัยมานาน  รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหานี้อย่างระมัดระวัง แต่ไม่ใช่ไล่ชาวบ้านไปอยู่ที่อื่น  และจะมาช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

โดยเฉพาะที่ตำบลหาดเล็ก จะเป็นต้นแบบหรือโมเดลของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินกรมเจ้าท่า โดยที่ไม่รื้อบ้าน ขณะที่ชาวบ้านก็จะไม่มีการรุกล้ำเพิ่ม และช่วยกันพัฒนาบ้าน พัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น ประชาชนจะได้มีบ้านที่อยู่อาศัยอย่างถูกต้องมั่นคงตามนโยบาลของรัฐบาลพลเอกสุรศักดิ์กล่าว

ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา  กรมเจ้าท่าได้ออก ‘ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ’ ให้แก่ชาวบ้านในตำบลหาดเล็กแล้ว  ซึ่งจะมีผลทำให้ชาวบ้านสามารถซ่อมแซมบ้านเรือนได้ภายในระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต

ขณะที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อสนับสนุนการซ่อมแซมบ้านเรือนที่มีสภาพทรุดโทรม (เฟสแรก) จำนวน 60 หลัง  งบประมาณไม่เกินหลังละ 25,000 บาท  รวม  1.5 ล้านบาท และงบพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในชุมชนอีก 1.5 ล้านบาท   ขณะนี้อยู่ในระหว่างการซ่อมแซม (16-24 กันยายน)  โดยมีช่างอาสาจากเครือข่ายบ้านมั่นคงทั่วประเทศ   ทหารหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน 182  ช่างจากเทศบาลฯ และชาวบ้านในตำบลมาช่วยกันซ่อมบ้านประมาณวันละ 100 คน 

                ป้าสงวน  หอยสังข์  อายุ 60 ปี  ชาวบ้านคลองมะขาม  หมู่ 1 ตำบลหาดเล็ก  เล่าว่า  เดิมครอบครัวของป้าอยู่ที่จังหวัดเกาะกง  กัมพูชา  แต่ในช่วงที่เขมรแดงปกครองประเทศ (พ.ศ.2518-2522) เขมรแดงปกครองประชาชนแบบโหดร้ายทารุณ  คนที่ไม่เห็นด้วยกับเขมรแดงจะถูกทำร้าย  ถูกขังคุก  หรือโดนฆ่าทิ้ง  คนไทยเกาะกงจึงหนีมาอยู่ที่บ้านหาดเล็กเพราะอยู่ติดกัน  และส่วนใหญ่มีญาติพี่น้องอยู่ที่นี่  อีกทั้งที่หาดเล็กเป็นที่หลบลมมรสุม  คนที่นี่ซึ่งทำมาหากินอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือประมงพื้นบ้านจึงปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ตามชายฝั่งหรือตามลำคลองมะขามที่ไหลลงสู่ทะเล

                “เมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้ว  มีเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่ามาบอกชาวบ้านเรื่องห้ามซ่อมแซมบ้าน  เพราะเป็นที่ดินของกรมเจ้าท่าที่ชาวบ้านไม่ได้ขออนุญาตปลูกสร้างบ้านอย่างถูกกฎหมาย  จึงห้ามไม่ให้ซ่อมบ้าน  ถ้าซ่อมเองก็จะผิดกฎหมาย  ชาวบ้านก็กลัว  บ้านของป้าสร้างมานานหลายสิบปี  เป็นที่ดินชายเลน  เสาบ้านก็ผุไปแล้วหลายต้น  เพราะตัวเพรียงมันมาเกาะที่เสา  ทำให้เสาบ้านทรุด  กลัวบ้านจะพังลงไป  เพราะเวลามีคลื่นลมมาบ้านมันก็จะสั่น  ตอนนี้ได้ซ่อมบ้านก็ดีใจ  เปลี่ยนเสาใหม่ไป 4 ต้น  มีเพื่อนบ้านมาช่วยกัน 6-7 คน  พอบ้านอื่นซ่อมเราก็ไปช่วย  ผู้หญิงก็ช่วยกันทำอาหาร ผู้ชายก็ช่วยลงแรง” ป้าสงวนบอก

                ขณะที่นายกเทศมนตรีฯ บอกว่า  หลังจากซ่อมแซมบ้าน 60 หลังแรกเสร็จแล้ว  ก็จะซ่อมแซมบ้านเรือนที่ทรุดโทรมและมีฐานะยากจนอีกประมาณ 230 หลังให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ จากเป้าหมายครอบครัวยากจนและบ้านเรือนทรุดโทรมทั้งหมด 504 ครอบครัว  โดยจะทยอยสร้างเป็นเฟส  ใช้แรงงานจากชุมชน  ช่างอาสาบ้านมั่นคง  และทหารนาวิกโยธิน  ทำให้ช่วยประหยัดงบประมาณ  เพราะงบสนับสนุนจาก พอช.หลังละ 25,000 บาท  ถือว่าไม่มากนัก  เพราะวัสดุต่างๆ มีราคาแพงขึ้น  ดังนั้นบ้านที่ต้องซ่อมแซมมาก  เจ้าของบ้านจะต้องควักเงินออกมาร่วมสมทบ  และต้องไปช่วยบ้านอื่นๆ ซ่อมบ้านด้วยจะทำให้ซ่อมบ้านได้เร็ว

                ทั้งนี้การซ่อมแซมบ้าน 60 หลังแรกจะแล้วเสร็จภายในช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้  และจะมีการจัดกิจกรรมเนื่องใน ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ ที่ตำบลหาดเล็กในวันที่ 11 ตุลาคมนี้  โดยจะมีนายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  เดินทางมาเป็นประธานในพิธีมอบบ้าน มอบในอนุญาตอยู่อาศัยและปลูกสร้างบ้านในที่ดินกรมเจ้าท่า  รวมทั้งมีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ  “การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ดินกรมเจ้าท่า ตำบลหาดเล็ก” ระหว่างนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหาดเล็ก  ผู้แทนขบวนองค์กรชุมชน   อธิบดีกรมเจ้าท่า      และผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ

                ถือเป็น “หาดเล็กโมเดล” ต้นแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคงบนที่ดินของกรมเจ้าท่า  เพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป...!!


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"