อุตฯสั่งยกระดับยางพาราดันสู่เวทีโลก


เพิ่มเพื่อน    

 

ก.อุตฯ สั่ง สศอ.-สมอ. พัฒนาเอสเอ็มอีภาคใต้ ยกระดับยางพาราตั้งแต่ต้นน้ำถึงผลิตภัณฑ์ในอนาคต หวังเปิดช่องทางการตลาดใหม่ ดันสู่ไม้ยางพาราโลก พร้อมย่อตั้งศูนย์พัฒนาอาหารฮาลานเปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการนำสินค้ามาพัฒนาต่อยอดธุรกิจสู่เวทีโลก

นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานการประชุมเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อน SMEs 4.0 พื้นที่ภาคใต้ในกิจกรรม เอสเอ็มอี สัญจร : พลิกธุรกิจสู่อุตสาหกรรม 4.0 ครั้งที่ 4 จังหวัดสงขลา ว่ากระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือเครือข่ายภาครัฐและเอกชน 14 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งได้นำเสนอความต้องการของพื้นที่ 5 โครงการ เป็นปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงทางการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน

ประกอบด้วย 1.โครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ยางพารา และยางพาราครบวงจร มุ่งหวังให้ “ไม้ยางพาราไทยสู่ไม้ยางพาราโลก” ยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อุตสาหกรรมไม้ยางพาราทั้งระบบสู่อุตสาหกรรม 4.0 ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมไม้ยางพารา และการสร้างมูลค่าเพิ่มวัสดุเหลือใช้ และสนับสนุนการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

2.โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการยางพาราพันธุ์ใหม่ ต่อยอดขยายผลและขอบเขตการใช้งานของวัตถุดิบยางพาราเพื่อใช้ในวงการอื่น ซึ่งเบื้องต้นได้สั่งการให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) เข้าไปศึกษาและดูการพัฒนาแผนงานที่จะจัดการยางพาราทั้งระบบ โดยเน้นตั้งแต่การเกษตรต้นน้ำไปจนถึงผลิตภัณฑ์ในอนาคต เพิ่มคุณค่าและเพิ่มช่องทางการเข้าสู่ตลาดให้มากขึ้น

“การพัฒนาผู้ประกอบการยางพาราพันธุ์ใหม่จะอาศัยเครื่องมือของกระทรวง เช่น ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ไอทีซี) ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้ามาใช้ศูนย์ทดสอบ (แลป) ยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป้าหมายในอุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป สนับสนุนการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มคุณค่า เป็นการเชื่อมจิ๊กซอว์ให้ครอบคลุมเป็นแนวทางจัดการกับทรัพยากรทุกอย่างให้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งน้ำยาง ต้นยาง และตอต้นยาง ที่จะต้องนำไปแปรรูปให้ได้ทุกส่วนต่อยอดการนำวัตถุดิบไปใช้ในผลิตภัณฑ์การแพทย์และพลังงานทดแทน ทดแทนการนำเข้ายางสังเคราะห์จากต่างประเทศ”นายสมชาย กล่าว

3.โครงการจัดตั้งศูนย์รับรองมาตรฐานฮาลาล เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอรับรองตราสัญลักษณ์ฮาลาล จากปัจจุบันต้องส่งเอกสารไปยังสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยก็สามารถขอได้ในพื้นที่ภาคใต้ คาดว่าหากมีการจัดตั้งศูนย์ฯ แล้วจะส่งผลให้มีสินค้าและบริการที่ได้รับเครื่องหมายฮาลาลเพิ่มขึ้น 30%

นายสมชาย กล่าวว่า เบื้องต้นได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (กอท.) และสถาบันอาหาร ถึงแนวทางจัดตั้งศูนย์พัฒนาอาหารฮาลลาลในภาคใต้ ที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ จ.สงขลา เพื่อช่วยยกระดับการพัฒนาเอสเอ็มอีให้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวในโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยนำสินค้าและผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นมาต่อยอดเชิงพาณิชย์มากขึ้น และแก้ปัญหามาตรฐานสินค้าฮาลานที่ไม่สามารถส่งออกไปยังบางประเทศได้
4.โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 4.0 (ซีไอวี) เพื่อพัฒนาต่อยอดหมู่บ้านทั้ง 5 จังหวัด โดยปี 2562 ตั้งเป้าหมายพัฒนาเป็นจุดเช็คอินศูนย์เรียนรู้ ร้านค้าชุมชน ให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร ยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้ โดยชาวบ้านในพื้นที่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและปลูกพืชเกษตร

และ 5.โครงการแฮนด์ อิน แฮนด์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง ฮับ มุ่งส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปจากยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ด้วยการส่งเสริมให้ภาคใต้ของไทย เป็นฐานของการประกอบธุรกิจการบริการ และการลงทุน สร้างความเป็นหุ้นส่วนกับการพัฒนาประเทศเชื่อมโยงกับภูมิภาค


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"