กทพ.ติดใจระดมทุน TFF ตอบรับดี หารือคลังหาโครงการทำเพิ่ม


เพิ่มเพื่อน    

 

กทพ.ฟุ้งคลังเปิดทางหนุนหาช่องทางระดมทุนเพิ่ม หลังกองทุน TFF  ผลตอบรับดี เดินหน้าอีก2 โครงการเพื่อสนับสนุนกับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 

นายสุรงค์ บุลกุล ประธานคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ได้รับนโยบายจากนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้กทพ.จัดหาเงินทุนเองเพื่อรองรับการลงทุนโครงการทางพิเศษเส้นทางใหม่ได้ หลังจากที่การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนดี และมีประสงค์จะกระจายการลงทุนไปให้นักลงทุนรายย่อยอย่างทั่วถึง

"รมว.คลัง เราไม่ต้องเข้าคิว ถ้าหาเงินทุนเองได้ เราก็จะทำ 3-4 เส้นทางพร้อมๆกัน จากที่ผ่านมาต้องรอสร้างเสร็จแต่ละเส้นทางใช้เวลา 5 ปี จึงจะได้ทางด่วนมา 1 เส้น เราก็คิดว่าทำไมเราไม่ทำทีเดียว 3 เส้น คนกรุงเทพ จะได้มีความสะดวกสบาย"นายสุรงค์ กล่าว

นายสุรงค์ กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังเตรียมจำหน่ายหน่วยลงทุน TFF มูลค่าราว 4.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งการไปโรดโชว์ให้ข้อมูลต่อนักลงทุนต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดี โดยมุ่งเป้าไปที่การจำหน่ายหน่วยลงทุนให้กับประชาชนรายย่อยเป็นอันดับแรกๆ เพื่อประชาชนให้เป็นเจ้าของกองทุน และเป็นการเปิดช่องทางระดมทุนอื่นแทนการกู้ยืมเงิน ซึ่งกองทุนนี้จะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและมีนโยบายจ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง จากการทำรายได้ยาวถึง 30 ปี ขณะที่ความเสี่ยงการลงทุนต่ำ

ทั้งนี้ เงินที่ได้รับจากการจำหน่ายกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ รัฐบาลจะมอบให้ กทพ.นำไปพัฒนาทางด่วน 2 เส้นทาง ได้แก่  โครงการทางพิเศษพระราม 3–ดาวคะนอง–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก มูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านบาท และ โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E-W Corridor ด้านตะวันออก มุลค่าประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท

นายสุทธิศักดิ์ วรรธนวินิจ รองผู้ว่าการฝ่ายกฎหมายและกรรมสิทธิ์ที่ดิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ กทพ. กล่าวว่าขณะนี้ กทพมี2 โครงการจะเร่งดำเนินการเพื่อสนับสนุนกับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คือ โครงการเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) ซึ่งเป็นทางชึ้นลงทางพิเศษที่เชื่อมต่อกับบริเวณพื้นที่ศูนย์กระจายสินค้าของท่าเรือกรุงเทพ ยกระดับไปตามแนวเกาะกลางของถนนภายในท่าเรือกรุงเทพ เชื่อมต่อกับทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังทางพิเศษบูรพาวิถีและเชื่อมต่อกับทางพิเศษฉลองรัชทศทางไปยังถนนจตุโชติและถนนวงแหวนรอบนอกฯด้านตะวันออก  

อย่างไรก็ตามขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการดำเนินงาน โดยคาดว่า สนข.จะเป็นหน่วยงานกลางในการศึกษาความเหมะสมและออกแบบรายละเอียดของโครงการ โดยใช้งบศึกษาโครงการจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)  คาดว่าเริ่มก่อสร้างในปีงบประมาร 65 และเปิดใช้ในปีงบประมาณ 66

สำหรับโครงการทางเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี มีจุดเริ่มต้นแนวเส้นทางโครงการบริเวณจุดสิ้นสุดทางพิเศษสายบูรพาวิถี ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี วิ่งบนทางหลวงหมายเลข 3 จุดสิ้นสุดทางหลักอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับทางเลี่ยงเมืองชลบุรี โดยมีทางขึ้น-ลงบนทางหลวงหมายเลข 361 (ทางเลี่ยงเมืองชลบุรี) บริเวณจุดตัดถนนเทศบาลคลองตำหรุ 12  โดยมีระยะทาง 3.5 กม. โครงข่ายนี้แก้ปัญหาจราจรติดชันด้านหน้านิคมอุตสาหกรรมอมตะนครโดยลดปริมาณรถที่ลงจากทางพิเศษบูรพาวิถีไปยังถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี และยังเป็นการเชื่อมต่อไปยังทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เพื่อไปยังท่าเรือแหลมฉบัง สนับสนุน EEC  

ทั้งนี้ กทพ.อยู่ระหว่างเตรียมการจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมของโครงการ และจะเริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 65 และเปิดใช้ในปีงบประมาณ 68 ในเบื้องต้น คาดว่าจะใช้งบลงทุนใน 2 โครงการนี้รวมประมาณ 2-3 พันล้านบาท


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"