ลุยโครงสร้างพื้นฐานเปิดทาง"อีอีซี" (สถานีอีอีซี)


เพิ่มเพื่อน    

 

คอลัมน์สถานีอีอีซี

ในโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว อุตสาหกรรมกลายเป็นอุตสาหกรรมอีกแบบ ซึ่งขณะนี้ได้เปลี่ยนไปผลิตหุ้นยนต์และทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็มีการพัฒนาไปอีกแบบ ดังนั้นหากประเทศไทยต้องก้าวไปอีกขั้น สิ่งที่รัฐบาลคิดและต้องกระโดดขึ้นไปให้ทันโลก โดยเป็นโลกดิจิทัลโลกของนวัตกรรม โดยเอาฐานเดิมแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีสเทิร์นซีบอร์ด) มาต่อยอดให้เป็นไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้นจะสังเกตว่าอีสเทิร์นซีบอร์ด หรืออีอีซีนั้น ได้ความคิดมาจาการต่อยอดของเดิมที่มีอยู่แล้ว ใช้ฐานเดิมที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  

ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  (อีอีซี) เดินไปสู่จุดหมายที่รัฐบาลต้องผลักดันให้เกิดขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมารองรับภาคอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาลงทุน ดังนั้นกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับหน้าที่ดำเนินการเรื่องนี้ให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ได้จัดทำแผน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้น นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข. เปิดเผยว่า อีสเทิร์นซีบอร์ดถือว่าประสบความสำเร็จเป็นกลไกสำคัญที่สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ ถือว่าเป็นผลงานชิ้นโบแดง และเพื่อให้โครงการอีอีซีเดินหน้าต่อไป จึงจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ
ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเกือบ 1 ล้านล้าน
    

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมทำแผนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคทั้งหมด 168 โครงการ ใช้งบลงทุนประมาณ 988,950 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 ระยะ ในส่วนของ ระยะแรก 99 โครงการ ใช้เงินประมาณ 300,000 ล้านบาท ระหว่างปี 2560-2561 อาทิ โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง) ซึ่งคาดว่าขณะนี้มีเอกชนสนใจเข้าซื้อซองร่างขอบเขตการประมูล หรือ TOR จำนวน 31 ราย คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดดำเนินการภายในปี 2566 

โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานที่อู่ตะเภา (MRO) การลงนามความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่าง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอร์บัส ภายใต้โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก สำหรับรูปแบบการลงทุน ทางการบินไทยและแอร์บัสจะใช้เงินลงทุนประมาณ 3,977 ล้านบาท เพื่อจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์เท่านั้น
  

ขณะที่ภาครัฐจะเป็นผู้ก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมและอาคารประกอบทั้งหมด เงินลงทุนประมาณ 6,333 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้โครงการดังกล่าวมีอัตราผลตอบแทนที่ 14% ระยะเวลาคืนทุน 9 ปี โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน  ก.ค.2565 อย่างไรก็ตาม โครงการนี้จะสามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ในปลายปี 2561 ซึ่งจะช่วยให้การรื้อย้ายศูนย์ซ่อมเดิมและส่งมอบพื้นที่ให้ผู้ลงทุนอาคารผู้โดยสาร 3 ได้ ภายในปลายปี 2563 สามารถร่นระยะเวลาการเปิดให้บริการลงมาเป็นปี 2564 ทำให้ไม่กระทบกับแผนการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการซ่อมอากาศยานของการบินไทยไม่มาก

โครงการท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา เพื่อเป็นเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 2 แสนล้านบาท หรือ 6 พันล้านดอลลาร์ในวันนี้แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนได้ภายในเดือน ต.ค.61 และให้ผู้สนใจยื่นข้อเสนอประมาณเดือน ม.ค.-ก.พ.62 จากนั้นจะประกาศผลการคัดเลือกได้ในช่วงประมาณเดือน ก.พ.62  โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 คาดจะออก TOR ได้ในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ กำหนดเสร็จปี 2567 และ ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 จะออก TOR ได้ในเดือนกันยายนปีนี้ กำหนดเสร็จปี 2568
    

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ในส่วนของท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3, ท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 รวมถึงโครงการมอเตอร์เวย์ก่อสร้างมอเตอร์เวย์ พัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กิโลเมตร คาดว่าเปิดใช้ได้ภายในปี 2562 ที่จะเร่งดำเนินการภายในปีนี้ รวมถึงท่าเรือจุกเสม็ดทำแล้ว นอกจากนี้ยังมีถนนสายรองที่เป็นเส้นเลือดฝอย กระทรวงคมนาคมจะให้มีการเริ่มต้นภายในปีนี้ 
 

  "ทั้งหมดนี้ถือเป็นโครงการในระยะเร่งด่วน เป็นการเอาโครงการที่ทำมาแต่เดิมเอามาจับใส่เข้าไป แต่เลือกโครงการที่ส่งผลต่อกิจกรรมรองรับอุตสาหกรรมในอีอีซี ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยว และเมืองสมาร์ทซิตี้ อย่างไรก็ตามทั้ง 99 โครงการนั้นได้มีการเดินหน้ามาตั้งแต่ปี 2560 โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องนำไปดำเนินการให้แล้วเสร็จ จะอ้างว่าไม่มีงบประมาณไม่ได้ เพราะอีอีซีเป็นเรื่องพิเศษของประเทศ สามารถไปเสนอของบประมาณได้ทั้งหมด" นายชัยวัฒน์กล่าว
 

สำหรับแผนระยะกลาง ระหว่างปี 2562-2564 จะก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางแหลมฉบัง-มาบตาพุด และศรีราชา-ระยอง และเส้นทางแหลมฉบัง-ปราจีนบุรี เป็นประตูเชื่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้านและภาคอีสาน โดยจะดึงแรงงานภาคอีสานไปที่โรงงานภาคตะวันออกให้ได้โดยไม่ต้องเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งหลังจากนี้ภาคตะวันออกจะกลายเป็นอุตสาหกรรมโรงงานขนาดใหญ่ จึงจำเป็นที่ไทยจะต้องมีการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย โดยในระยะกลางมี 62 โครงการใช้เงินประมาณ 400,000 ล้านบาท พร้อมทั้งก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการบินด้วย
 

โครงการระยะยาวตั้งแต่ 2565 หลักการต้องการจะทำให้อีอีซียั่งยืน เมื่อทั้ง 2 ระยะที่ผ่านมาเกิดขึ้นหลังจากนั้นต้องมองว่าทำอย่างไรให้โครงการเกิดความยั่งยืน 50 ปีอยู่ได้ ดังนั้นโครงการกิจกรรมต่างๆ เช่น รถไฟเชื่อมทวาย เชื่อมกัมพูชาต่อไปสินค้าจากเมียนมา, เวียดนาม และลาว มาทางรถไฟรวมถึงจีน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญ รวมถึงการขยายแอร์คาโก้ หลังจากนี้ไปสินค้าจะไม่ใช่มาแค่อีอีซีอย่างเดียว มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นจะเห็นว่าเรามี 3 เกตเวย์ ได้แก่  1.ท่าเรือแหลมฉบัง 2.ท่าเรือมาบตาพุด และ 3.สนามบินอู่ตะเภา ดังนั้นโครงการต่อไปจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้มาก โดยมีทั้งสิ้น 7 โครงการ ใช้งบประมาณ 2.5 แสนล้าน 
เชื่อมอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ความพร้อมในการเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านในระยะต่อไป จะทำระรางเชื่อมประเทศเพื่อนบ้านต่อไปถึงชายแดน เมื่อพูดถึงการขนส่งสินค้า สิ่งที่เกิดขึ้นคือมูลค่าในการขนส่งด้านโลจิสติกส์สูงมาก ดังนั้นจึงหันกลับมามองท่าเรืออ่าวไทยฝั่งตะวันตก เช่น ประจวบคีรีขันธ์, หัวหิน, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี และสงขลา ทั้งหมดนี้อยู่ในฝั่งอ่าวไทย แต่เมื่อกลับไปดูในฝั่งอันดามัน พบว่าท่าเรือมีน้อยมาก ซึ่งก่อนหน้านี้มีแผนที่จะสร้างท่าเรือใหญ่ปากบาราที่สตูล แต่ก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากเกิดการต่อต้านสูงมาก จึงเป็นได้ยากที่ปากบาราจะเกิด ถือว่าเสียดายโอกาสมาก

แต่เรามีท่าเรือระนองอยู่ เพราะว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ ดังนั้นจะใช้ท่าเรือระนองเป็นฐานท่าเรือสินค้าฝั่งอันดามันที่จะไปทางด้านตะวันตก ซึ่งมองถึงส่งไปถึงแอฟริกา, อินเดีย, บังกลาเทศ, ศรีลังกา และปากีสถาน ซึ่งมีประชากรเท่ากับประเทศจีน และปรากฏว่าเศรษฐกิจดีมากกำลังซื้อมีมาก
 

ดังนั้น จึงมีแนวความคิดว่าทำไมเราถึงไม่เจรจาเพื่อทำการค้ากัน อาศัยเขาเป็นทางเป็นตลาดใหญ่เพื่อเข้าไปสู่ทางด้านตะวันออกกลาง ตรงนี้คือโอกาสของประเทศไทยไม่ใช่แค่จีนเพียงเท่านั้น ยังมีช่องแคบทางตะวันตกเราสามารถค้าขายกับเขาได้แ ละสินค้าไทยเป็นสิ่งที่นิยม ดังนั้นจึงเป็นที่มาของยุทธศาสตร์ทางภาคใต้

อย่างไรก็ตาม การเชื่อมยุทธศาสตร์ภาคใต้เข้ากับอีอีซี   ขณะนี้ได้ศึกษาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งทะเลอันดามันจากชุมพร-ระนอง สำหรับการคมนาคมขนส่ง ส่งเสริมการท่องเที่ยว 2 ฝั่งทะเล และเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึกระนอง โดยโครงการมีมูลค่าลงทุน 45,844 ล้านบาท สำหรับแนวเส้นทางอยู่บริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพร และอยู่ด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด ขนานไปกับถนนเพชรเกษม ผ่านพื้นที่เขต อ.เมือง จ.ชุมพร อ.กระบุรี อ.ละอุ่น และ อ.เมือง จ.ระนอง จนสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกระนอง ระยะทาง 102.79 กม.  และจากสถานีท่าเรือระนองจะมีเส้นทางแยก หรือ spur line เข้าสู่เมืองระนอง สิ้นสุดที่สถานีระนอง รวมเป็น 109 กม.

"ทุกโครงการจะต้องเริ่มต้นให้ได้ภายในรัฐบาลชุดนี้  คือต้องให้ได้เซ็นสัญญาเริ่มต้นเดินหน้าโครงการได้ ถ้าไม่ได้ลงมือทำวันนี้ ประเทศต้องแกว่งแน่ๆ ถามว่ารัฐบาลได้ประโยชน์จากการทำพวกนี้ไหม คำตอบคือประเทศได้ประโยชน์ เพราะฉะนั้นอย่ามาโจมตีกันเลยว่าทำไปรัฐบาลหาเสียง รัฐบาลได้ประโยชน์จากโครงการ ผมว่าไม่ใช่ ทั้งหมดคือผลประโยชน์ของประเทศชาติ เรานิ่งมานานมาก 10-20 ปี เวียดนามเขาจะแซงแล้ว ส่วนมาเลเซียเราตามไม่ทันแล้ว ดังนั้นจึงต้องคิดยุทธศาสตร์ของประเทศแบบนี้" นายชัยวัฒน์กล่าว    
 

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า "การทำอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ การทำระบบคมนาคมใหม่ของประเทศจำเป็นต้องทำ เพราะมันเป็นพื้นฐานที่สุดของเศรษฐกิจ ถ้าไม่ทำ เราไม่มีทางจะพัฒนาระบบเศรษฐกิจได้เลย แล้วถ้าเศรษฐกิจของประเทศไม่ดี อย่างหวังว่าประชาชนจะกินดีอยู่ดี ไม่มีทาง ไม่มีการจ้างงาน ไม่มีเศรษฐกิจของประเทศ คนไทยจะไปทำอะไรกิน"

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดจะเห็นได้ว่าอีอีซีถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญได้เริ่มขึ้นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนของรัฐบาล จึงไม่แปลกถ้าจะใช้อีอีซีเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยในอุตสาหกรรมยุคใหม่ และทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาคึกคักได้ เห็นได้จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ และการตอบรับเป็นอย่างดีที่จะเข้ามาลงทุนในไทย คาดการณ์ได้เลยว่าจากนี้ไปเศรษฐกิจไทยสดใสอย่างแน่นอน.

                                                                                                                                               กัลยา ยืนยง


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"