ศาลรธน.รับคำร้อง32สนช. วินิจฉัยปมต่ออายุปปช.


เพิ่มเพื่อน    

26 ม.ค.61 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารผลการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรณีได้พิจารณาคำร้องที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 32 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. .... มาตรา 185 ที่บัญญัติว่าให้ประธานคณะกรรมการป.ป.ช.และกรรมการป.ป.ช.ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนที่กฎหมายนี้ใช้บังคับ ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนครบวาระตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 19 เว้นแต่กรณีตามมาตรา 19 (3) ในส่วนที่เกี่ยวกับการขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา 9 และลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 11 (1) และ (18 ) มิให้นำมาใช้บังคับ นั้น มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

ทั้งนี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเห็นว่าคำร้องดังกล่าวเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1)ประกอบมาตรา 267 วรรคห้า มาตรา 81 มาตรา 145 และมาตรา 263 จึงมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย และให้แจ้งประธานสนช. ทราบและพิจารณามอบหมายให้ผู้แทนสมาชิกสนช.ที่ลงมติเห็นชอบในวาระ 3 และนายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน สมาชิกสนช. ซึ่งเป็นผู้แทนของฝ่ายเสนอความเห็นจัดทำความเห็นเป็นหนังสือรวมทั้งให้ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญและประธานป.ป.ช. จัดทำความเห็นเป็นหนังสือส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญภายในวันที่5 ก.พ.นี้.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการรับคำร้องดังกล่าว สืบเนื่องจากที่ประชุมสนช.เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2560 ได้มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ป..ช. ตามร่างของกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ป.ป.ช.ของสนช. ที่แก้ไขมาตรา 185 ดังกล่าว ที่อยู่ในบทเฉพาะกาล  ไปจากร่างเดิมของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยสนช. มีการแก้ไขเพิ่มเติม อันมีเนื้อหาสำคัญโดยสรุปคือ เป็นการต่ออายุให้กับกรรมการป.ป.ช.ชุดปัจจุบันบางคนที่ขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติต้องห้ามในการเป็นป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญและตามร่างพ.ร.บ.ป.ป.ช.ของกรรมการร่างรธน.เดิม โดยที่ประชุมสนช.เห็นชอบให้การบังคับใช้เรื่องคุณสมบัติต้องห้ามดังกล่าว ไม่ให้ใช้กับป.ป.ช.ชุดปัจจุบันโดยให้ ป.ป.ช.ชุดปัจจุบัน อยู่ครบวาระของแต่ละคน

โดยเฉพาะที่เป็นประเด็นคือ การที่กมธ. วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ป.ป.ช.และที่ประชุมสนช. เห็นชอบด้วยกับให้ป.ป.ช.ที่มีคุณลักษณะต้องห้ามบางประการ ไม่ต้องพ้นจากตำแหน่ง หลังร่างพ.ร.บ.ป.ป.ช.ดังกล่าว ประกาศใช้ ที่มีนักฎหมาย และกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเตือนว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญ จึงทำให้สนช.บางส่วน นำโดยนายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน  มีการเข้าชื่อกันยื่นคำร้องดังกล่าวต่อประธานสนช. 

หลังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า มาตรา 185ของร่างพ.ร.บ.ป.ป.ช. ดังกล่าว ทำให้กรรมการป.ป.ช.อย่างน้อย สองคนได้ประโยชน์โดยตรงคือ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานป.ป.ช.และนายวิทยา อาคมพิทักษ์ กรรมการป.ป.ช.ที่มีคุณลักษณะต้องห้าม เนื่องจาก พล.ต.อ.วัชรพล ได้ลาออกจากการเป็น ข้าราชการการเมืองคือ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ) ไม่ถึง  10 ปี

ขณะที่นายวิทยา ก่อนหน้านี้เคยเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือคตง.มาก่อนจะมาเป็นป.ป.ช. อันเป็นลักษณะต้องห้าม ที่ไม่ให้กรรมการป.ป.ช.เป็นหรือเคยเป็น กรรมการองค์กรอิสระอื่นใดมาก่อน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"