“อนาคตใหม่” รับฟังปัญหาที่ดิน "ระยอง" 47 ปี ยังไม่ได้รับการแก้ไข- จำเป็นต้องปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ โยนท้องถิ่นตัดสินใจ
เมื่อวันที่ 23 กันยายน นายปิยบุตร แสงกนกกุล ว่าที่เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากกลุ่มประชาชนผู้เดือดร้อนจากปัญหาที่ดินทำกิน ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง โดยทั้งหมดเป็นผู้ได้รับผลกระทบที่ดินทำกินทับซ้อนกับพื้นที่ป่าไม้ ทำให้ไม่มีเอกสารสิทธิ์ครอบครอง
นายสินธิ์ กีรตายาคม อดีตกำนัน ต.สำนักท้อน ตัวแทนประชาชนที่ได้รับผลกระทบ กล่าวว่า หมู่บ้านและชุมชนแห่งนี้เริ่มก่อตั้งมาราว พ.ศ.2445 และมีการรับรองการอยู่อาศัย ตั้งเป็นหมู่บ้านชัดเจน แต่วันดีคืนดีก็มีการออก "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน พ.ศ.2492" ซึ่งให้กรมป่าไม้ดูแล และต่อมามีการปักปันเป็นเขตป่าถาวร รวมทั้งเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งที่สภาพพื้นที่นั้นมีชุมชน มีประชาชนอยู่อาศัยทำไร่ ทำสวน ครอบครองต่อเนื่องกันมาก่อนโดยมีวัดและโรงเรียนเป็นหลักฐานยืนยัน ทั้งนี้ แม้ภายหลังมติคณะรัฐมนตรี 19 มกราคม พ.ศ.2514 ให้กรมป่าไม้ประกาศเพิกถอนกำหนดเขตหวงห้ามตาม พ.ร.ฎ.ดังกลาว แต่ยังมีพื้นที่ ต.ห้วยโป่ง อเมือง ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง ที่ยังไม่ได้รับการประกาศเพิกถอนตามมติ ครม.ปีดังกล่าว ประชาชนในพื้นที่ร่วมกันต่อสู้มา 47 ปีแล้ว แต่ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข ยังคงกลายเป็นผู้บุกรุก ไม่มีเอกสารสิทธิ์ครอบครองที่ดินทำกิน มีประชาชนกว่า 8,000 คน ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้
"พ.ร.ฎ. ปี พ.ศ.2492 นั้น ออกมาโดยอ้างเรื่องของการคุ้มครองพื้นที่ป่าให้คงอยู่ ไม่ถูกนายทุนบุกรุก โดยราชการไม่ได้ลงมาสำรวจก่อนว่ามีชุมชน มีประชาชนอาศัยอยู่ในพื้น ต่อมามีการประกาศเขตป่า ซึ่งกำนันในสมัยนั้นโดยไม่รู้ตัวยังเคยรับจ้างขนหลักไปปักเป็นเขตป่าสงวน นอกจากนี้ บางส่วนก็ให้สัมปทานทำป่าไม้ มีกิจการโรงเลื่อยเกิดขึ้น และระยะเวลาเพียง 10 ปี ต้นไม้ในพื้นที่ถูกโค่นเตียน ชาวบ้านลุกขึ้นต่อสู้ก็ถูกลูกปืนขู่ ต้นไม้ที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ล้วนแต่ชาวบ้านช่วยกันปลูกขึ้นมาใหม่ทั้งนั้น ผมได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นกำนัน รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านและต่อสู้ด้วยกันเรื่อยมา ยื่นหนังสือร้องเรียนไปหลายๆ หน่วยงานแล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข" นายสินธิ์ กล่าว
นายปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวว่า ปัญหาของชาว ต.ห้วยโป่ง ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง เมื่อลองพิจารณาดูระยะเวลา 47 ปี ผ่านมาแล้ว 20 รัฐบาล 18 นายกรัฐมนตรี และไม่รู้ว่ากี่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กี่อธิบดีกรมป่าไม้ แต่ก็ยังคงเป็นปัญหา ทั้งที่โดยสภาพแล้วน่าจะแก้ไขได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับปัญหาที่ดินของหลายๆจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ เพราะที่นี่มีมติ ครม. ให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน และมีที่บางส่วนได้ออกเป็นเอกสารสิทธิ์ให้ครอบครองบ้างแล้ว ขึ้นอยู่กับเจตจำนงของเจ้าหน้าที่รัฐว่าจะทำหรือไม่ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นสะท้อนถึง 1.วิธีคิดแบบระบบราชการไทย ที่มองว่าตนมีอำนาจเหนือประชาชน เมื่อประชาชนไปยื่นเรื่องร้องเรียนก็ตั้งต้นปฏิเสธไว้ก่อน มีขั้นตอนวุ่นวาย ร้องผิดช่องผิดที่บ้าง 2.สะท้อนเรื่องการตัดสินใจแบบข้างบนลงมาข้างล่าง โดยไม่เคยลงมาดูหน้างาน ไม่มีการสำรวจ เป็นการตัดสินใจแบบรวมศูนย์อำนาจ ซึ่งเรื่องนี้ต้องเปลี่ยน
"สิ่งที่อนาคตใหม่อยากนำเสนอแนวนโยบายการจัดการปัญหาที่ดินทับซ้อน ในภาพกว้างนั้น ระยะสั้น อะไรที่มีปัญหาตกทอดมานานต้องยุติเป็นการชั่วคราว เช่น ผู้ถูกดำเนินคดี ให้ยุติลงไปก่อน ใครติดคุกอยู่ต้องนิรโทษกรรม เพราะคนที่โดนดำเนินคดีเรื่องนี้ไม่ใช่อาชญากรโดยสันดาน แต่ที่ผิดเพราะเขาอยู่ของเขามาก่อน แล้วจู่ๆ กฎหมายมาบอกว่าผิด เรื่องนี้ต้องหยุดชั่วคราว ตีเส้นว่าอย่ารุกล้ำเพิ่ม และรัฐต้องไม่ดำเนินการจับกุมคุมขัง ส่วนกรณีอย่างพื้นที่ ต.สำนักท้อน ที่มีการรับเรื่องไปดำเนินการแก้ปัญหาแล้วต้องจัดการให้เรียบร้อย ระยะต่อมา ต้องคิดเรื่องทรัพย์สินร่วมกันแบบคอมมอน หรือทรัพย์สินที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่ให้ใช้สอยร่วมกัน ซึ่งต่างประเทศมีใช้แล้ว ทั้งนี้ ในการจะใช้ประโยชน์ทรัพย์สินดังกล่าว ต้องให้ท้องถิ่นเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเอาไปทำอะไร และระยะสุดท้าย ต้องมีการปฏิรูปการถือครองที่ดินทั้งระบบ" นายปิยบุตร กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |