21ก.ย.61-จากเมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมามีการประชุมของ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อหาข้อสรุปการใช้สารเคมีพาราควิต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต โดยนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการรวบรวม วิเคราะห์ และสรุปข้อมูลทางวิชาการชุดใหม่ที่มีหลักฐานน่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับสารเคมี3ชนิด เนื่องจาก ยังมีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย จึงต้องรอหารืออีกครั้งก่อนแต่งตั้งเพื่อให้การทำงานราบรื่น ซึ่งก่อนหน้านี้ทางนักวิชาการและภาคประชาชนได้มีการทำหนังสือคัดค้านถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ จะมีการของขยายเวลาการพิจารณาจากเดิม 60 วัน เพิ่มไปอีก 60 วันไปยังนายกฯ พร้อมขอให้ภาคส่วนที่ต้องการส่งข้อมูลมาประกอบการพิจารณา ให้ส่งมาภายในเดือน ก.ย. นี้เพื่อให้คณะกรรมการฯ มีเวลาพิจารณาอย่างรอบคอบ
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์โรคติดเชื้อโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะกรรมการปฏิรูประบบสาธารณสุข กล่าวว่า ตนไม่ได้เข้าร่วมในการประชุม เท่าที่ทราบในที่ประชุมได้บอกว่า จะยังไม่มีการแต่งตั้งอนุกรรมการ แต่หลังการประชุม ทางนายสุวพันธุ์ได้มีการให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า จะยังคงมีการเดินหน้าแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ทำให้เกิดความสับสน และจะมีการขอยืดเวลาพิจารณาออกไปอีก 60 วัน ซึ่งเป็นการยืดเยื้อเวลาเพื่อพยายามให้มีการใช้สารเคมีต่อไปที่ผ่านมาทางนักวิชาการมีหลักฐานการเสียชีวิต การเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีชัดเจน และมีการส่งข้อมูลทั้งหมดให้แล้ว ทำให้เห็นชัดเจนว่าคณะกรรมการส่อพิรุธ ซึ่งจริงๆส่อพิรุธตั้งแต่คณะกรรมการวัตถุอันตรายทีไม่อ่านข้อมูลที่ส่งไป แต่ไปบรรจุไว้ในภาคผนวกและบอกว่าข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม เห็นว่ามติแบนตามนโยบายของ 5 กระทรวงหลัก นำโดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย.60 เป็นมติที่ดีที่สุดแล้ว การพิจารณาไม่ควรลากยาวมาถึงขนาดนี้
“หลังจากนี้จะได้มีการรวบรวมผลกระทบจากการใช้สารเคมีจากหน่วยงานต่างๆส่งให้กระทรวงสาธารณสุขอีกครั้งเพื่อให้เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลไปยังคณะกรรมการฯ ซึ่งข้อมูลผลกระทบการเจ็บป่วย การตายทั้งหมดมีการรวบรวมไว้ให้หมดแล้ว และเคยส่งให้ไปแล้ว ทุกอย่างชัดเจนขนาดนี้ คิดว่ารัฐบาลควรใช้ ม.44 จัดการกับเรื่องนี้ เพราะหากไม่ทำพยายามยื้อให้ไปต่อ ก็จุเหลือหลายขั้นตอน คง ไม่ทันส่งเรื่องไปยัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ที่จะมีการพิจารณากฎหมายในเดือน พ.ย. หรือ ธ.ค.นี้”ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว.
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า การที่จะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯต่อไป และขอยื้อเวลาออกไป 60 วันเพราะเกรงว่าจะพิจารณาไม่ทันนั้น เห็นว่าเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เป็นการชี้ชัดแล้วว่ากรรมการชุดนี้ต้องการให้มีการยื้อเวลาออกไป ซึ่งในความคิดเห็นของตนนั้นไม่ได้คัดค้านที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาฯชุดดังกล่าวขึ้นมา แต่คิดว่านายกฯมีอำนาจภายใต้ระเบียบการกำกับดูแล ซึ่งเมื่อมีหลักฐานข้อมูลผลกระทบต่อประชาชนในแง่สุขภาพที่ชัดเจน ก็น่าจะสามารถดำเนินการแบนได้เลย โดยไม่ต้องใช้อำนาจพิเศษที่จะทำให้ประชาชนเกิดข้อกังขาในการทำงานตามมา
แหล่งข่าวระบุว่า ได้มีการหารือร่วมกันของกรรมการฝั่งนักวิชาการอิสระและกรรมการภาคประชาชนทั้งหมดในชุดคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ว่าหากยังมีการยืนยันว่าจะเดินหน้าแต่งตั้งคณะกรรมการต่อไป มีแนวโน้มว่าจะไม่ขอพูดคุยหารือทำความเข้าใจอะไรอีกและจะขอลาออกจากคณะกรรมการชุดดังกล่าวทันที เนื่องจาก เห็นว่ามีความชัดเจนว่ารัฐบาลมีเจตนายื้อเวลาออกไป ซึ่งก็ไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่ต่อ โดยขณะนี้รอหารือกันอีกครั้งก่อน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |