จังหวัดระยอง เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ การปลูกผลไม้จึงเป็นอาชีพหลักของชาวระยอง ผลไม้หลากหลายชนิดที่เป็นพืชเศรษฐกิจของชาวระยอง เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ขนุน มะม่วง กล้วย และสับปะรด ซึ่งถือเป็นผลไม้หลักที่ทำรายได้ให้กับจังหวัดระยองอย่างต่อเนื่องตลอดมา
แต่ต่อมาเนื่องจากชาวสวนหันมาปลูกกันมากขึ้นเป็นผลไม้เกิดภาวะผลผลิตล้นตลาด ราคาที่เคยดีกลับถูกลง รายได้ไม่คุ้มกับทุน หลายฝ่ายต่างตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงริเริ่มนำผลผลิตมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้มีรายได้มากขึ้น โดยแปรรูปเพื่อรับประทานในครัวเรือน และจำหน่าย
ซึ่งถือเป็นการถนอมอาหารที่ส่วนใหญ่เป็นผลไม้รับประทานสุกได้ เช่น ทุเรียน ขนุน สับปะรด กล้วย มะม่วง และได้มีการปรับปรุงพัฒนาการผลิตเรื่อยมา จากที่ใช้เครื่องมือจากในครัวเรือน มาเป็นการใช้เครื่องจักรและกรรมวิธีที่ถูกสุขอนามัยมากขึ้น โดยขอรับการสนับสนุนเครื่องมือตลอดถึงวัสดุอุปกรณ์และวิทยาการในการผลิตจากหน่วยงานต่างๆ
นายชาตรี บุญนาค ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ที่ 3 จังหวัดระยอง เปิดเผยว่า จากที่สำนักงานฯ และหน่วยงานในสังกัดพื้นที่ภาคตะวันออกได้ร่วมกันแปลงนโยบายโครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรหรือโครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้ดำเนินการภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของรัฐบาล
ที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรได้รับการเรียนรู้ สามารถปรับตัวอยู่กับบริบทของสังคม เศรษฐกิจ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตได้อย่างยั่งยืน สามารถพัฒนา ต่อยอดเชิงธุรกิจ เกิดแนวทางการพัฒนาในรูปแบบของโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของชุมชนอย่างแท้จริง ก่อให้เกิดความยั่งยืนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมนั้น
ทางสำนักงานฯ จึงจัดทำโครงการ พร้อมเสนอแผนธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรต่างๆ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานร่วมกัน และเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุน โดยได้มีการฝึกอบรมและพัฒนาเกษตรกรรายย่อย ในหลายมิติ ทั้งด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิต ด้านการบริหารจัดการผลผลิต และการบริหารจัดการในเชิงธุรกิจ รวมถึงการส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้และนวัตกรรมด้านการเกษตร เกิดการรวมกลุ่ม นับเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน อันจะสามารถแข่งขันในเชิงธุรกิจการตลาดยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้ เป็นอย่างดี”นายชาตรี บุญนาค กล่าว
ทางด้านนางสาวอภัสนัน ชุ่มจิตร เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ ตำบลวังจันทน์ เปิดเผยว่า เนื่องจากที่ผ่านมาในพื้นที่ชุมชนมีการเพาะปลูกพืชให้ผลมาก เช่นขนุน ทุเรียนและไม้ให้ผลต่างๆ เป็นจำนวนมาก บางครั้งช่วงผลผลิตออกมามากจนล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำ จึงเอาผลผลิตเหล่านี้มาแปรรูป
ขณะเดียวกันทางสำนักงานพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยองมีโครงการเข้ามา ทางกลุ่มจึงตัดสินใจร่วมกันว่า จะทำการแปรรูปขนุนเพิ่มเติมจากที่ทำอยู่โดยรับซื้อขนุนของสมาชิกและเกษตรกรรายย่อยอื่นๆ บริเวณชุมชนวังจันทน์ และใกล้เคียง อย่างบางรายมีเพียงไม่กี่ลูกซึ่งพ่อค่ามักไม่รับซื้อ หรือไม่เข้ามาซื้อเพราะมีน้อยไม่คุ้มทุนกับการเดินทาง ทางกลุ่มก็รับซื้อมาทำให้เกษตรกรรายย่อยเหล่านี้มีรายได้เพิ่มขึ้น
“ทางกลุ่มก็จะทำการตลาดด้วยตนเองด้วยการเปิดช่องทางการรับซื้อจากผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์ มีทั้งเฟสบุ๊ค ไลน์ แอปช็อปปิ้ง เป็นต้น ทำให้มีลูกค้าที่ติดตามอยู่เป็นประจำ โดยสั่งซื้อสินค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่อง บางส่วนก็เพื่อเอาไปจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง การขายปัจจุบันจะอยู่ที่ประมาณ 2-3 ตัน ต่อเดือน โดยขายราคาส่งที่ 180 บาท ปลีกอยุ่ที่ 250 บาทต่อ 1 กิโลกรัม “นางสาวอภัสนัน ชุ่มจิต กล่าว
ส่วนด้านการผลิตนั้น เลขากลุ่ม เผยว่าจะมีการระดมสมาชิกมาช่วยกันหลังจากมีการสั่งซื้อเข้ามา จะไม่ผลิตไว้ก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้สินค้าที่แปรรูปมีคุณภาพและสดใหม่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งขนุนสดจำนวน 1 ตัน เมื่อนำมาผ่านขบวนการแปรรูปจะได้ขนุนอบแห้งที่ 100 กิโลกรัม มีรายได้ประมาณ 25,000 บาท ในขณะที่ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท ซึ่งกลุ่มจะได้กำไรที่ประมาณ 10,000 บาท
และในปี 2561 ได้ทำการขอจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเป็นปีแรก โดยกลุ่มมีสมาชิก 25 ราย ภายหลังจากได้การสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ทางกลุ่มจะทำการพัฒนาขบวนการผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้น เช่นจะมีการปรุงรสชาติ หรือรูปแบบให้ตรงตามความนิยมของตลาด ต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |