ปั้นอุตรดิตถ์เมืองสุขภาพ ต้นแบบชุมชนปลอดNCDs


เพิ่มเพื่อน    

                โรคติดต่อไม่เรื้อรัง หรือ NCDs คือกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตไม่ถูกต้อง ถือเป็นภัยเงียบที่ทำลายชีวิตผู้คนโดยไม่รู้ตัว นำโดยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ และมะเร็ง เป็นต้น ดังนั้นหนทางที่จะหยุดยั้งความสูญเสียเหล่านี้คือ การขับเคลื่อนส่งต่อความรู้ ความเข้าใจ และหยุดปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพลงในทุกระดับ ให้เกิดพลังขับเคลื่อนในเชิงพื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ดังเช่นกรณีของหมู่บ้านพงสะตือ และหมู่บ้านต้นขาม จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ต้นแบบในการสร้างกลไกชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน เพื่อกระจายโอกาสให้แก่บุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน หมู่บ้าน เข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างถูกต้องทุกมิติ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)          

                ทั้งนี้ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข และประธานคณะกรรมการบริหารแผนสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมสุขภาวะ (คณะ 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.ได้ดำเนินงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเชื่อมประสานและบูรณาการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตในประเด็นสุขภาพต่างๆ ของประชาชน ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น และยังคงให้ความสำคัญกับการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ โดยสนับสนุนและผลักดันมาตรการสำคัญด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมพลังภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ จนทำให้พื้นที่หมู่บ้านพงสะตือ และหมู่บ้านต้นขาม จังหวัดอุตรดิตถ์ เกิดชุดโครงการชุมชนน่าอยู่ภาคเหนือ และหน่วยจัดการระดับจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับจังหวัดอุตรดิตถ์ที่เข้มแข็ง มีแนวทางการดำเนินงาน วิธีการสานพลังเครือข่ายในพื้นที่ จนเป็นพลังสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ จากการขับเคลื่อนโครงการด้านสุขภาพในพื้นที่ขึ้น

                นางเข็มเพ็ชร เลนะพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สสส. กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2559-2561 สสส.สนับสนุนโครงการ 146 โครงการใน 65 หมู่บ้าน กลุ่มเยาวชน 77 กลุ่ม เกิดพื้นที่ที่มีผลลัพธ์เชิงประเด็นที่ประสบผลสำเร็จ อาทิ หมู่บ้านพงสะตือ และหมู่บ้านต้นขาม มีกลไกสภาผู้นำเข้มแข็งสู่การเป็นชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการกระจายโอกาสให้แก่บุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน หมู่บ้านในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านการสนับสนุนโครงการปฏิบัติการด้านการสร้างเสริมสุขภาพรายย่อย 4 รูปแบบ ได้แก่ ข้อ 1 โครงการเปิดรับทั่วไป ข้อ 2 โครงการประเด็นเฉพาะ ข้อ 3 โครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก และข้อ 4 กิจกรรมอย่างง่ายสำหรับเด็ก เยาวชน

                โดย สสส.วางกลไกการขับเคลื่อนงานให้มี “หน่วยจัดการ (Node)” เป็นกลไกหลักที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพให้แก่โครงการรายย่อย ให้สามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมาย เกิดเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการดำเนินของชุดโครงการชุมชนน่าอยู่ พัฒนาทักษะวิธีคิดและเพิ่มขีดความสามารถแก่ภาคีเครือข่ายในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้เกิดการขยายผลการทำงานสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป                  

                ด้าน รศ.นพ.อำนาจ ศรีรัตนบัลล์ รองประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 6 สสส. กล่าวว่า ที่ผ่านมาหมู่บ้านพงสะตือมีการใช้สารเคมีในการเกษตร รวมถึง 190 ครัวเรือน จาก 191 ครัวเรือน ประสบปัญหาด้านสุขภาพจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และเกิดกระบวนการจัดการชุดโครงการชุมชนน่าอยู่ภาคเหนือเข้าร่วมโครงการชุมชนน่าอยู่ในปี 2560 เกิด “สภาผู้นำชุมชน” กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานประเด็นการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารเคมีเพื่อบริโภคในครัวเรือนสำเร็จ 58 คน มีมติของชุมชนในการปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน 110 ครัวเรือน จากทั้งหมด 191 ครัวเรือน และขยายผลสู่กลุ่มผู้ปลูกกระเทียมปลอดสารพิษ ร้อยละ 100 ใน 89 ครัวเรือน เกิดรายได้ถึง 590,150 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ลดรายจ่ายต้นทุนด้านสารเคมีได้ถึง 36,500 บาทต่อครัวเรือนต่อปี

                “ยังมีโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านต้นขาม เป็นอีกตัวอย่างความสำเร็จของ สสส. ที่มุ่งเน้นการหนุนเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชมรมผู้สูงอายุ ครอบคลุมจำนวนผู้สูงอายุ จาก 174 คน หรือร้อยละ 20.83 แบ่งเป็นผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ 161 คน ผู้สูงอายุติดบ้าน 11 คน และผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน 2 คน ซึ่งหน่วยจัดการจังหวัดอุตรดิตถ์ได้มีการเข้าไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร่วมกิจกรรมทางกาย อาทิ การรำไม้พลอง รำวงย้อนยุค และการส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยการนั่งสมาธิและสวดมนต์ทุกวันพระ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียง ขยายผลไปสู่การรื้อฟื้นภูมิปัญญาด้านสมุนไพรของท้องถิ่น ผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมโครงการทุกคนจึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเชื่อว่าโมเดลดังกล่าวนี้จะเป็นต้นแบบสำคัญพัฒนาอีก 8 หมื่นหมู่บ้านทั่วประเทศให้ประชาชนมีสุขภาวะดี ห่างไกลโรค NCDs อย่างยั่งยืนต่อไป”.

 

หนุนอาหารสุขภาพขจัดโรค

                ในการประชุมคณะกรรมการองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก สมัยที่ 71 ที่กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.พูนาม เคตราปาล ซิงห์ ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO SEARO) ได้ลงนามความร่วมมือว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อสร้างความเข้มแข็งศักยภาพการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2561-2563 กับ ทพ.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเป้าหมายเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในภูมิภาคสูงเป็นอันดับ 1 โดยมีอัตราสูงถึง 8.8 ล้านคนต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 64 ของอัตราการเสียชีวิตทั้งหมด ขณะที่ในปี 2556 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรคเอ็นซีดีถึง 349,090 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 75.2 ของการเสียชีวิตของประชากรไทยทั้งหมด

                ดร.พูนามกล่าวว่า ที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลกและ สสส.ได้ร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพต่างๆ ที่ลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคเอ็นซีดีจนเกิดเป็นผลลัพธ์ที่ดี อาทิ มาตรการขึ้นภาษีบุหรี่ การวิจัยเกี่ยวกับโทษจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เป็นต้น

                ด้าน ทพ.สุปรีดากล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ สสส.จะสนับสนุนการพัฒนามาตรการลดการแทรกแซงนโยบายจากธุรกิจการค้าที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และส่งเสริมนโยบายที่มาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการปัญหาการบริโภคอาหารที่ส่งผลเสียต่อประชากรในภูมิภาคทั้ง 11 ประเทศ ซึ่งปัจจุบันพบว่าประชาชนมีพฤติกรรมบริโภคอาหารส่งผลเสียต่อร่างกายมากขึ้น ทั้งอาหารหวาน มัน เค็ม มีโซเดียมสูง และมีไขมันเกินปริมาณที่เหมาะสม

                นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.จะร่วมสนับสนุนงานป้องกันโรคเอ็นซีดีในภูมิภาคนี้ มุ่งจัดการปัญหาปัจจัยการค้ากำหนดสุขภาพ สร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย และส่งเสริมนโยบายอาหารเพื่อสุขภาพ.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"