ระเบียบเป๊ะ! "คนในเครื่องแบบ" ห้ามอ้างความเป็น "ทหาร-ตร."


เพิ่มเพื่อน    

     ในแวดวง “ทหาร-ตำรวจ” เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ ทั้งในแอปพลิเคชันไลน์และในเฟซบุ๊กกันอย่างกว้างขวาง จากรูปใส่เครื่องแบบทหารมาเป็นรูปแต่งชุดพลเรือนกันเป็นจำนวนมาก สร้างความแปลกใจ และมีคอมเมนต์ถามไถ่กันมากมายว่าเกิดอะไรขึ้น บ้างแค่สงสัย บ้างก็อยากรู้ข้อเท็จจริง บ้างก็ถามเพราะ “เกรียน” ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าเกิดจากเหตุผลใด 
     ต้นเรื่องเกิดจาก “วิทยุ” ซึ่งเป็นหนังสือเวียนภายใน แจ้งเป็นคำสั่งปฏิบัติสั้นๆ ที่แปลงมาจากนโยบาย จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่สังคมออนไลน์ บางครั้งเป็นภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการเป็นข้าราชการที่ดี ให้ไปแก้ไขรูปโปรไฟล์ ทั้งในเฟซบุ๊ก ไลน์ หรือสื่อสังคมอื่นๆ จากชุดข้าราชการเป็นเป็นชุดอื่นที่เหมาะสม นอกจากนั้น ห้ามถ่ายภาพร่วมกับนักการเมือง หรือยอมให้ผู้อื่นถ่ายภาพเผยแพร่สู่สังคมออนไลน์ 
     ส่งผลให้มีการนำ “เอกสาร” ดังกล่าวส่งต่อในโลกสังคมออนไลน์ กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ว่า ”เอกสาร” ดังกล่าวเป็นของจริงหรือไม่ 
     อีกทั้งมีการชี้แจงผ่าน “ไลน์กลุ่ม” ในลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยอธิบายว่า คำสั่งดังกล่าวมีทั้งในส่วนกองทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ "ห้ามถ่ายรูปเครื่องแบบ" เผยแพร่ต่อสื่อมวลชน ดังจะเห็นได้จาก "เพจหนุ่มนายร้อยไฉไล" ... ก็ได้ประกาศปิดตัวลงไปแล้ว เพราะผู้บังคับบัญชาทั้งฝ่ายทหาร/ตำรวจ ไม่ต้องการให้อวดอ้างการเป็นข้าราชการทหาร/ตำรวจ นอกจากนี้ ทรงผมทั้งของทหาร/ตำรวจ ก็จะต้องสั้นเกรียนตามแบบอย่างที่เห็นได้จาก ผบ.เหล่าทัพ หรือ ผบ.ตร. เป็นต้น 
     ดังนั้นขอให้นักเรียนทหาร/ตำรวจ ข้าราชการทหาร/ตำรวจ ทุกคนระมัดระวังการถ่ายภาพเอง (หรือยอมให้ผู้อื่นถ่ายภาพก็ตาม) หากเผยแพร่ออกสู่สังคมออนไลน์ ท่านจะได้รับความเดือดร้อนและถูกผู้บังคับบัญชาลงโทษอย่างเฉียบขาด
     อีกทั้งมีการตั้งกรรมการสอบฯ นายทหารยศสิบโท ที่ไปออกรายการโทรทัศน์ แต่งเครื่องแบบสนามฯ ผมไม่ถูกระเบียบ ไปร้องเพลง รวมไปถึงการตักเตือนผู้บังคับหน่วยที่ปล่อยปละละเลย หรืออนุญาตให้ไปทำเช่นนั้น 
     ที่สำคัญยังมีหนังสือเวียนไปยังทุกหน่วยในกองทัพบกที่ออกมาเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า มีกำลังพลของกองทัพบกไปประกอบอาชีพเสริมนอกราชการ โดยอาชีพนั้นไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กองทัพบกกำหนด รวมถึงการรับเชิญเข้าสมาคม การไปสมัครเข้าร่วมรายการทางโทรทัศน์ และปรากฏภาพที่ไม่เหมาะสมออกสู่สาธารณะ จึงขอให้ผู้บังคับหน่วยตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาวินัย รวมถึงความประพฤติของผู้ใต้บังคับบัญชาในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 
    1.ให้ปฏิบัติตามคำสั่ง ทบ.ที่ 1301/2534 ลงวันที่ 17 ธ.ค.34 เรื่องให้ข้าราชการไปเกี่ยวข้องกับสถานเริงรมย์ แหล่งอบายมุข เช่น ห้ามข้าราชการไปทำงานหรือเกี่ยวข้องกับสถานเริงรมย์ ร้านค้า ร้านอาหาร สถานบริการ แหล่งอบายมุขต่างๆ หรือกิจการใดๆ ที่ไม่สมควร รวมถึงการประกอบอาชีพเสริมนอกเวลาราชการ จะต้องเป็นงานที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อการปฏิบัติราชการ หรืองานนั้นมีผลกระทบต่อหน้าที่ประจำ และการประกอบอาชีพเสริมจะต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ 
     2.ข้าราชการทหารผู้ใดประสงค์จะสมัครเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของรายการที่มีการเผยแพร่ออกอากาศทางโทรทัศน์ ซึ่งเป็นรายการที่ไม่ใช่ของข้าราชการทหาร จะต้องรายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อขออนุญาต โดยให้ปฏิบัติตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการเข้าสมาคม เข้าศึกษา หรือบอกความในราชการ พ.ศ.2510 และเมื่อได้รับอนุญาติแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาติดตามพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง และหากจะต้องสวมเครื่องแบบร่วมกิจกรรมนั้นๆ ให้คำนึงถึงภาพลักษณ์ของทหาร โดยจะต้องแสดงออกในลักษณะที่เหมาะสม 
     ขณะที่ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ระบุว่า การแต่งเครื่องแบบต้องรักษาเกียรติและรักษาวินัยทหาร หากไปในที่ที่ไม่สมควรไป เช่น การไปดื่มสุรา ก็ไม่สมควรดื่มขณะที่สวมเครื่องแบบ ไม่ได้ไปห้ามว่า อย่าใส่เครื่องแบบถ่ายรูปลงในโซเชียลมีเดีล และเรื่องนี้ได้กำชับไปนานแล้ว ซึ่งสามารถถ่ายภาพลงได้ แต่ไม่ใช่ใส่เครื่องแบบแล้วทำไม่เหมาะสม และห้ามนำเครื่องแบบไปทำในสิ่งที่ไม่ถูกกฎหมาย  
     แต่จากการตรวจสอบพบว่า เอกสารดังกล่าวเป็นของจริง แต่เป็นเอกสารเวียนแจ้งกับการปฏิบัติต่อกำลังพล ที่หน่วยรับนโยบายไปทำเป็นหนังสือเวียน ซึ่งสรุปสาเหตุที่ต้องมีการออกแนวทางปฏิบัติเช่นนั้น คือ  
1.มีการตั้งเพจ สร้างกระแสเป็นเน็ตไอดอล หรือขายความหล่อ ภายใต้เครื่องแบบที่สวมใส่อยู่ รวมไปถึงโพสท่าถ่ายรูปลงในโปรไฟล์ส่วนตัว อัพภาพลงในเฟซบุ๊กของตัวเอง แล้วโพสท่าฟรุ้งฟริ้ง ทำท่าทางที่ไม่สำรวม วางตัวไม่เหมาะสมในการเป็นทหาร-ตำรวจ (หากเป็นรูปใส่เครื่องแบบ ต้องเป็นภาพหน้าตรง สำรวม ทรงผม การแต่งกาย ต้องถูกระเบียบ  
2.มีกำลังพลของกองทัพแต่งเครื่องแบบพรางสนาม ไปออกรายการโทรทัศน์ แต่ทรงผมไม่ถูกระเบียบ อีกทั้งร้องเพลงในรายการวาไรตี้ ลักษณะเชิงสร้างความเฮฮา ร้องเพลงเพี้ยน (ซึ่งหากไม่แต่งชุดทหารไป ก็สามารถไปได้ โดยขออนุญาตผู้บังคับบัญชา)
3.ห้ามใช้ความเป็นทหารไปดูแลรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะการไปทำงานนอกเวลาราชการ หรือ “รับจ๊อบ” ไม่ให้ไปทำงานคุมผับ-บาร์ สถานบันเทิง โดยใช้คุณลักษณะความเป็นทหาร-ตำรวจ ไปควบคุมดูแลนักเที่ยวกลางคืน โดยอ้างอิงคำสั่ง กองทัพบกเมื่อปี 2534 ที่ตอนนั้นกองทัพมีนโยบายในการปราบปราม “ทหารมาเฟีย” ได้นำกลับมาใช้อีกครั้ง
เป็นที่มาที่ไปทั้งหมดที่พอประมวลออกได้ จากปรากฏการณ์เปลี่ยนภาพ “โปรไฟล์” ของทหาร-ตำรวจ รัวๆ ในช่วงนี้
    ถือเป็น “กฎเหล็ก” ที่จัดให้คนในเครื่องแบบอยู่ในแถว-อยู่ในแนว ทั้งมิติการปฏิบัติจริง และโลกในสังคมโซเชียลมีเดียเลยทีเดียว.....อย่าง “เป๊ะ”!!.  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"