"หมอธี"ชี้แก้อธิการเกิน 60 ต้องมองหลายมิติ  ออกเกณฑ์กลางใช้กับทุกคนไม่ได้-แนะสภามหาวิทยาลัยแก้ปม


เพิ่มเพื่อน    

19ก.ย.61- รมว.ศธ. ชี้แการแก้ปัญหาอธิการบดีอายุเกิน 60ปี มีละเอียดอ่อนต้องมองหลายมิติ  การออกหลักเกณฑ์กลาง ไม่ใช่การแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จ  เป็นเหมือนการตัดเสื้อตัวเดียวให้ทุคนใส่ อีกทั้งกรณี มรภ.กาญจนบุรี  เป็นการฟ้องร้องรายกรณี คำตัดสินของศาลไม่ได้หมายรวมทุกสถาบัน  แต่ก็ถือว่าเป็นบรรทัดฐานที่จะมองข้ามไม่ได้  ถามกลับ หรือจะต้องให้ไล่ฟ้องร้องกันหมดทุกที่จึงจะแก้ได้ แนะต้องยึดกฎหมาย และสภามหาวิทยาลัยต้องมีบทบาทหาทางออก

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการะทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้รับรายงานเรื่องแนวทางในการแต่งตั้งอธิการบดีกลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เสนอมาแล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามข้อกฎหมาย คือ คำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น โดยให้เพิกถอนมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) กาญจนบุรี ที่แต่งตั้งนายปัญญา การพานิช เป็นรักษาราชการแทนอธิการบดี มรภ.กาญจนบุรี เพราะเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย และนายปัญญา ก็อายุเกิน 60 ปีนั้น ผูกพันเฉพาะคู่ฟ้องร้องคดี และในกรณีผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีอายุเกิน 60 ปี ศาลชี้ชัดว่าไม่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ผู้ที่เกี่ยวข้องคือ กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐ ดังนั้นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้ คือ ผู้ที่ดำรงอธิการบดีอยู่และอายุเกิน 60 ปี จะทำอย่างไร เนื่องจากคำสั่งศาลดังกล่าวไม่ได้ผูกพัน ซึ่งสิ่งที่ทำได้คือ ไล่ฟ้องร้องกัน มหาวิทยาลัย ต้องการให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นหรือไม่ หรือสภามหาวิทยาลัยจะต้องไปทบทวนแนวทางในการดำเนินการเชิงบริหาร เพราะว่าศาลได้วางบรรทัดฐานแล้ว แม้จะไม่ผูกพันกับเรา แต่ก็ควรที่หาแนวทางว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ รมว.ศธ. ไม่มีอำนาจ เพราะอำนาจของตนจะเกี่ยวข้องกับการเสนอขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตำแหน่งอธิการบดีเท่านั้น และจากนี้คงต้องมีการกลั่นกรองอย่างเต็มที่ และดำเนินการตามที่ศาลได้วางบรรทัดฐานไว้

“อยู่ๆ ผมจะไปไล่อธิการบดีที่อายุเกิน 60 ปี ออกจากตำแหน่ง ทำไม่ได้เป็นเรื่องผิดกฎหมาย สำหรับแนวทางการดำเนินการต่อจากนี้ คงต้องมีการคิดและหารือกัน เพราะในแง่ของกฎหมายหากสภามหาวิทยาลัยยังเสนออธิการบดีที่อายุเกิน 60 ปี เพื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดี ก็จะมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นและมหาวิทยาลัยจะใช้ชีวิตอยู่กับการฟ้องร้องคดี หรือต้องการให้อธิการบดีได้บริหารงาน อีกทั้งในแง่ของหลักการถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่เราจะให้คนที่อายุไม่ถึง 60 ปี ขึ้นมานำ ซึ่งก็เป็นเสียงเรียกร้องของมหาวิทยาลัย และคงต้องมีการไปคิดกันเพราะเรื่องนี้มีหลายมิติ”รมว.ศธ.กล่าว

นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อว่า สำหรับข้อเสนอเรื่องการออกหลักเกณฑ์กลาง เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจนนั้น ตนมองว่าจะเป็นเหมือนการตัดเสื้อตัวเดียว การออกหลักเกณฑ์กลางไม่สามารถทำลายคำตัดสินของศาลได้และไม่สามารถลบล้างระเบียบการสรรหาอธิการบดีของแต่ละมหาวิทยาลัยได้ เพราะฉะนั้นการออกหลักเกณฑ์กลางก็ไม่ได้แปลว่าจะทำได้ ตนจึงยึดตามกฎหมายเป็นหลัก และคำตัดสินของศาลก็เป็นบรรทัดฐานให้เราดูว่าหากมีกรณีที่เกิดขึ้นคล้ายกันก็จะโดนแบบนี้ ตนไม่ได้มีประเด็นอะไรที่มากไปกว่าการยึดตามข้อกฎหมาย ทั้งนี้ในส่วนของการเสนอขอใช้มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 แก้ไขในเรื่องนี้นั้น อย่าลืมว่าเรื่องนี้มี 2 ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายที่อยู่ในตำแหน่ง กับ ฝ่ายที่ต้องการตำแหน่ง ไม่ใช่ว่าต้องการอะไรแล้วจะใช้มาตรา 44 จัดการได้ เรื่องไม่ได้ง่ายอย่างนั้น อีกทั้งหากมีการออกมาตรา 44 ก็จะทำให้มีกระแสต่อต้านไปถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อีกด้วย.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"