กทพ.เล็งเซ็นสัญญาเอกชนสร้างฐานรากเชื่อมทางยกระดับต.ต.นี้


เพิ่มเพื่อน    

 

เอกชนคว้างานทางด่วน 200 ล้านบาท เปิดแนวเส้นทางทางด่วนมิสซิ่งลิงก์ คาดใช้เวลา 1 ปีลุยงานฐานราก แง้มสเปคทีโออาร์ทางด่วนภูเก็ต

แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างตอม่อฐานรากช่วงแรกของโครงการทางเชื่อมโครงข่ายทางยกระดับ อุตราภิมุขและทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานคร (Missing Link) ระยะทาง2.6กม. วงเงิน 200 ล้านบาทนั้นขณะนี้ได้ตัวบริษัทผู้ดำเนินโครงการแล้วหลังในวันเปิดประมูลโครงการพบว่ามีเอกชนยื่นข้อเสนอมาเพียงรายเดียว ดังนั้นกทพ.จะจัดประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อเคาะอนุมัติผลประมูลก่อนลงนามสัญญากับบริษัทเอกชนภายในเดือนนี้เพื่อสามารถเริ่มต้นก่อสร้างได้ตามแผนในเดือน ต.ค. 

อย่างไรก็ตามแม้จะมีบริษัทเข้ายื่นเพียงรายเดียวแต่มั่นใจว่าจะสามารถลงนามสัญญาได้เนื่องจากที่ผ่านมาไม่พบข้อร้องเรียนใดๆในขั้นตอนประกวดราคา รวมถึงขั้นตอนการนำร่างเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา(ทีโออาร์)ขึ้นเว็บไซต์เพื่อเปิดประชาพิจารณ์ ดังนั้นจึงมั่นใจว่าจะเดินหน้าโครงการดังกล่าวได้เพื่อแก้ปัญหาจราจรในเมืองหลวงและเชื่อมต่อการเดินทางสองทางด่วนสายหลัก

สำหรับระยะเวลาการก่อสร้างนั้นจะใช้เวลาทั้งหมด 12 เดือนกำหนดการแล้วเสร็จภายในปลายปี 2562 ซึ่งกทพ.จะสั่งการให้เริ่มดำเนินงานก่อสร้างในจุดวิกฤติเสาตอม่อจำนวน 2 ต้น ซึ่งทับซ้อนกับพื้นที่ก่อสร้างรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการราว 3 เดือน จึงยืนยันว่าจะไม่กระทบกับโครงการก่อสร้างรถไฟดังกล่าวแน่นอน หลังจากนี้จะประสานติดตามหารือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)อย่างใกล้ชิดสำหรับแนวก่อสร้างเสาทั้ง 8 ต้นนั้นมีแนวเส้นทางก่อสร้างนั้นจะเริ่มต้นจากใต้ทางด่วนศรีรัชติดกับชุมชนซอยนิคมรถไฟและซอยบ้านพักรถไฟ จะมีการก่อสร้างเสาตอม่อรวมทั้งหมด 6 เสา ตามแนวทางด่วนขึ้นไปทางถนนกำแพงเพชร ส่วนเสาตอม่ออีก 2 ต้นนั้นจะอยู่ลนพื้นที่ว่างระว่างถนนกำแพงเพชร 6 และ กำแพงเพชร 2 ซึ่งบริเวณดังกล่าวทับซ้อนกับแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟสายสีแดง อย่างไรก็ตามยืนยันว่าการก่อสร้างดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาจราจรเนื่องจากเป็นการก่อสร้างนอกพื้นที่เส้นทางสัญจร

แหล่งข่าวกทพ.กล่าวต่อว่าความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางด่วนช่วงกระทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต ระยะทาง 3.98 กม. วงเงิน 1.3 หมื่นล้านบาทนั้นขณะนี้ได้ส่งรายละเอียดการปรับเงื่อนไขโครงการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเพราะต้องมีการขยายอายุสัมปทานเป็น 35 ปีและกำหนดค่าผ่านทางในอัตราใหม่เพื่อให้โครงการมีความเหมาะด้านตัวเลขผลตอบแทนการเงิน(FIRR) มากขึ้น ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้นรัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินราว6-7พันล้านบาท ขณะที่เอกชนลงทุนงานโยธา งานระบบและงานบริหารพร้อมรับความเสี่ยงโครงการทั้งหมด โดยมีข้อกำหนดว่าตลอดอายุสัมปทานรายได้เกือบทั้งหมดจะตกเป็นของเอกชนโดยจัดสรรบางส่วนจ่ายให้แก่รัฐตามที่ตกลงกัน โดยรัฐจะคัดเลือกเอกชนที่ยื่นข้อเสนอดีที่สุด ส่วนจะเป็นการเปิดให้เอกชนร่วมทุนนั้นจะมาในรูปแบบ PPP Net Cost หรือไม่นั้นต้องทบทวนรายละเอียดอีกครั้งแต่ทั้งนี้หากรัฐต้องเข้าไปร่วมทุนอาจจะใช้แนวทางร่วมทุนค่าก่อสร้างแล้วให้เอกชนบริหารโครงการก่อนคืนทั้งหมดให้แก่รัฐเมื่ออายุสัมปทานสิ้นสุดลง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"