18 ก.ย.61- นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้มีการมอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต (รถไฟฟ้ารางเบา )เพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดภูเก็ตให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพรองรับกาขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการจราจรของจังหวัด โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือ Tramway) กำหนดดำเนินโครงการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42.0 กม. ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจากจุดตัดทางหลวง 402 และ 4026 เพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟสถานีรถไฟท่านุ่น ระยะทาง 16.5 กม. โดยมีสถานีทั้งหมด 24 สถานี โดยจะมีสถานีระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานีและสถานีใต้ดิน 1 สถานี ซึ่งทางวิ่งจะมีระดับพื้นดิน บางช่วงทางวิ่งลอดใต้ดินและทางวิ่งยกระดับ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อจัดทำรายงานตาม พรบ.การให้เอกชนร่วมลงทุน ส่วนในปี พ.ศ. 2563 คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างและจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2566
และล่าสุดเมื่ออังคารที่ 11 ก.ย. 61 ครม.อนุมัติให้ รฟม.ก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาที่ “ภูเก็ต” โดย รฟม.คาด พ.ย.นี้สรุปผลศึกษาเปิดร่วมทุน PPP รถไฟฟ้าภูเก็ต 3.9 หมื่นล้าน ซึ่งนายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และโฆษกกระทรวงฯ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 11 ก.ย.61 มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... จำนวน 2 โครงการ เพื่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สามารถดำเนินโครงการได้เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่สามารถดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยว เส้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือ Tramway) มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟท่านุ่น จังหวัดพังงา ผ่านท่าอากาศยานภูเก็ตและสิ้นสุดที่บริเวณห้าแยกฉลอง จังหวัดภูเก็ต ระยะทาง 58.5 กิโลเมตร ซึ่งได้บรรจุไว้ในโครงการตามมาตรา PPP Fast Track ซึ่ง รฟม.ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 22 ม.ค.-16 ก.พ. 2561 ซึ่งโดยรวมเห็นด้วยกับการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนระบบราง และให้ รฟม.เร่งดำเนินโครงการฯ
ประเมินเงินลงทุน 39,406 ล้านบาท มีโครงสร้างทางวิ่งระดับดินตลอดเส้นทาง ยกเว้นบริเวณสนามบินภูเก็ตจะเป็นสถานียกระดับ มีทั้งหมด 24 สถานี เป็นยกระดับ 1 สถานี ที่สนามบินภูเก็ต และใต้ดิน 1 สถานีที่สถานีถลาง มีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อ.ถลาง
ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวว่า รถไฟฟ้าภูเก็ตนั้น รฟม.ได้จ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษารูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมทุน (PPP) จะสรุปการศึกษาในเดือน พ.ย.และเสนอบอร์ด รฟม.เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ด PPP) ต่อไป เบื้องต้นมีภาคเอกชนภูเก็ตพัฒนาให้ความสนใจที่จะร่วมลงทุน ซึ่งเบื้องต้นจะใช้รูปแบบ PPP Net Cost เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ
อย่างไรก็ตาม รถไฟรางเบาจังหวัดภูเก็ต คาดว่า เริ่มก่อสร้างได้ในปี 2563 สามารถให้บริการได้ในปี 2566
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |