เครือข่ายพิทักษ์สิทธิคนพิการร้อง กสม.สอบสมาคม-มูลนิธิช่วยเหลือผู้พิการ อมเงินสวัสดิการจ้างงาน-ฝึกอบรม แฉ 5 พันคนไม่รู้สิทธิ์ได้รับ 9,500 ต่อเดือน จึงโดนหักหัวคิวเหลือ 500-3,000 บาท เบิกค่าวิทยากร 3 แสน จ่ายจริง 3 หมื่น ทำรัฐเสียหายกว่า 1,500 ล้านบาท จี้สอบ จนท.รัฐละเว้นปฏิบัติหน้าที่ โอดถูกขู่คุกคาม คนพิการที่ร่วมสู้โดนอุ้มให้เซ็นยินยอมไม่ดำเนินคดี
ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) วันที่ 17 กันยายน นายปรีดา ลิ้มนนทกุล ประธานเครือข่ายพิทักษ์สิทธิคนพิการ เข้ายื่นหนังสือต่อนายอัญญะรัฐ เอ่งฉ้วน ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิและปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ
โดยนายปรีดากล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำ สามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่สังคม จึงมี พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งมาตรา 33 กำหนดให้สถานประกอบการที่มีการจ้างงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปต้องจ้างคนพิการ 1 คน หากสถานประกอบการใดไม่สะดวกจะจ้างงานคนพิการ ตามมาตรา 35 กำหนดให้จ่ายเงินสมทบเพื่อเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามสัดส่วนที่ต้องจ้างจริง
"จากการตรวจสอบพบว่าคนพิการได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นไปตามมาตรา 33 ระบุตัวเลขคนพิการถูกจ้างงานจำนวน 25,000 คน แต่มีการทำงานจริงแค่ 20,000 คน ส่วนที่เหลืออีก 5,000 คน นอนอยู่กับบ้านเฉยๆ ไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการการจ้างงานเดือนละ 9,500 บาท จึงถูกสมาคมคนพิการและมูลนิธิช่วยเหลือคนพิการต่างๆ หักหัวคิวโดยจ่ายให้คนพิการเพียงเดือนละ 500-3,000 บาท ทั้งนี้ประมาณการว่าความเสียหายที่เกิดจากมาตรา 33 อยู่ที่ประมาณ 500 ล้านบาทต่อปี"
ประธานเครือข่ายพิทักษ์สิทธิคนพิการกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในมาตรา 35 ที่กำหนดให้สถานบริการที่ไม่ประสงค์จะจ้างงานคนพิการโดยให้จ่ายเป็นเงินค่าจ้างสมทบให้กองทุนฯ แทน เป็นช่องทางทำให้เกิดการคอร์รัปชัน 1,000 ล้านบาทต่อปี โดยช่องทางนี้สมาคมและมูลนิธิต่างๆ จะเป็นผู้รวบรวมรายชื่อคนพิการจากจังหวัดต่างๆ ส่งไปยังกรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพื่อเสนอโครงการจัดอบรมฝึกอาชีพให้คนพิการ ซึ่งช่องทางดังกล่าวเพื่อให้เกิดการทุจริตทั้งค่าจ้างวิทยากรและเงินจัดฝึกอบรม เช่น ตั้งเบิกค่าวิทยากร 300,000 บาท จ่ายจริง 30,000 บาท หรือโครงการอบรม 6 เดือน ดำเนินการจริงแค่ 3 เดือน บางจังหวัดข้าราชการขอหัวคิวคนพิการหัวละ 9,500 ต่อปี แลกกับการอนุมัติจัดฝึกอบรมทุกโครงการ
"การทุจริตเงินคนพิการจากมาตรา 33 และ 35 สร้างความเสียหายถึง 1,500 ล้านบาทต่อปี คนพิการที่ผ่านการฝึกอบรมอาชีพต้องได้รับเงิน 109,500 บาทต่อปี แต่คนพิการไม่รู้สิทธิ์ของตัวเอง เพราะคนพิการที่มีการศึกษาระดับ ปวช.-ปริญญาเอกมีไม่ถึง 30,000 คน การทุจริตดังกล่าวจึงมีความเสียหายมากกว่าการโกงเงินคนจน เพราะตัวเลขคนพิการทั่วประเทศมากกว่า 1.7 ล้านคน เงินกองทุนส่งเสริมคนพิการจึงมีมากถึง 6,000 ล้านบาทต่อปี โดยที่ผ่านมาผมพยายามจะต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมจนถูกข่มขู่คุกคามหลายรูปแบบ คนพิการที่เคยร่วมต่อสู้ด้วยกันมาก็ถูกอุ้มขึ้นรถตู้ไปเจรจาให้รับเงิน 20,000 แลกกับการเซ็นยินยอมไม่ดำเนินคดี จึงเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปสนับสนุนหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ" นายปรีดากล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |