ล่าชื่อทบทวนรับรอง “อี-สปอร์ต” เป็นกีฬา"หมอยงยุทธ"ระบุส่งเสริมให้เด็กเล่นวีดีโอเกมากกว่าอย่างอื่น


เพิ่มเพื่อน    


18ก.ย.61- "หมอยงยุทธ "ล่ารายชื่อ ขอให้กกท.ทบทวน "อี-สปอร์ต"ว่าเป็นกีฬา ชี้คกก.โอลิมปิกไม่รับรองว่าเป็นกีฬา แต่กลับเป็นการส่งเสริมให้เด็กเล่นวีดีโอเกมมากกว่า ขณะที่ WTO วินิจฉัย เป็นโรคกลุ่มใหม่ กำลังเป็นปัญหาใหญ่สุขภาพจิตในปัจจุบัน 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ได้ทำจดหมายเปิดผนึก เรื่องอีสปอร์ต (E-Sport) ส่งถึงผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว “นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์” โดยระบุตอนหนึ่งว่า สืบเนื่องจากการที่การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ได้ให้การรับรองสมาคม E-Sportเท่ากับรับรองว่าเป็นกีฬาด้วย ทำให้เกิดกระแสความห่วงใยเด็ก เยาวชน และครอบครัวเป็นวงกว้าง เพราะมีการโฆษณาและส่งเสริมให้เกิดการเล่นวิดีโอเกม เมื่ออ้างเป็นกีฬาก็ยิ่งทำให้ขยายตัวรุนแรงมากขึ้น ทั้งที่วงวิชาการทั่วโลกยังไม่ได้ยอมรับการแข่งขันวิดีโอเกมว่าเป็นกีฬา และองค์การอนามัยโลกประกาศชัดเจนว่าการเล่นมากเกินไปจะนำไปสู่โรคติดเกมได้ โดยจัดเป็นการวินิจฉัยโรคกลุ่มใหม่ และกำลังเป็นปัญหาใหญ่ทางสุขภาพจิตในปัจจุบัน 

โดยในจดหมายระบุว่า 1.อีสปอร์ตเป็นวาทกรรมของบริษัท ที่จริงคือการแข่งขันวิดีโอเกม คณะกรรมการโอลิมปิกสากลไม่รับรองว่าเป็นกีฬา เพราะ เนื้อหารุนแรง ไม่มีระบบคอยควบคุม ไม่เป็นสาธารณะ แต่เป็นลิขสิทธิ์เอกชน 2. ผลทางเศรษฐกิจ เช่น รายได้ของนักแข่งหรือรายได้จากการโฆษณานั้นเทียบไม่ได้กับผลร้ายที่เกิดขึ้น ในสหรัฐอเมริกามีคนเล่นอาร์โอวี 60 ล้านคน มีผู้เล่นอาชีพที่มีรายได้ประจำแค่ 57 คน หรือทุกผู้เล่น 1 ล้านคนจะมีมืออาชีพ 1 คน แต่มีผู้ติดเกม 2 - 8 หมื่นคน ส่งผลเสียต่อครอบครัว สมรรถนะการประกอบอาชีพมากมายมหาศาล 3. คนที่ติดเกมจะมีปัญหาสุขภาพ สมาธิสั้น เสียพัฒนาการทางสังคม ภาษาล่าช้า องค์การอนามัยโลกประกาศให้เป็นโรคทางจิตเวช 4.การรับรองให้เป็นสมาคมไปแข่งขันระหว่างประเทศ เป็นการรับรองว่าเป็นสมาคมตัวแทน ไม่ใช่รับรองว่าเป็นการกีฬา แต่กรณี กกท.รับรองว่าเป็นกีฬาเท่ากับรับรอง 2 ต่อ ทำให้บริษัทและสมาคมใช้เป็นโอกาสขยายการโฆษณาว่าเป็นกีฬาอย่างรุนแรง 

5. ผลก็คืออัตราเด็กติดเกมเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัว รวมทั้งปัญหาที่ตามมาเป็นพฤติกรรมก้าวร้าว ละทิ้งการเรียน การพูดปด ลักขโมย ภาวะซึมเศร้า โดยแค่ 6 เดือนแรก ระหว่างต.ค. 2560 – มี.ค. 2561หลังกกท.ประกาศรับรองสมาคมอีสปอร์ต มีการเกิดค่ายอี สปอร์ตทำให้มีจำนวนเด็กติดเกมเพิ่มขึ้นเท่าตัว 6.ประเทศต่างๆ ที่มีกลไกการดูแลดีกว่าเมื่อเทียบกับประเทศไทยก็ยังไม่ยอมรับว่าเป็นกีฬา แต่ไทยกลับไปสนับสนุนให้เป็นกีฬา ทั้งที่ยังมีจุดอ่อน 3 ประการ คือเด็กและพ่อแม่ไม่เข้าใจผลเสียและโอกาสที่เกิดการติด ต้องป้องกันด้วยหลัก 3 ต้อง 3 ไม่ คือ ต้องกำหนดเวลา ต้องกำหนดโปรแกรม ต้องเล่นกับลูก พ่อ แม่ไม่เป็นแบบอย่างที่ผิด ไม่เล่นในเวลาครอบครัว ไม่มีในห้องนอน จุดอ่อนที่บริษัทขาดจรรยาบรรณในการโฆษณาและการตลาด และจุดอ่อนจากการที่กกท.และสมาคมฯ ขาดความสามารถในการควบคุม 

ขณะนี้มีผู้ที่ห่วงใยได้ทำให้กระบวนการต่างๆ ผ่านผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง เช่น รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง สภา รวมทั้งสมัชชาสุขภาพก็รับไว้เป็นวาระสำคัญ จึงขอให้ผู้บริหารได้ศึกษาและทบทวนเรื่องนี้อย่างจริงจังโดยไม่อคติและไม่เห็นแก่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจระยะสั้นเฉพาะหน้า โดยไม่คำนึงถึงผลระยะยาว ต้องมีการจัดการแบบหลายประเทศที่ดำเนินการอยู่ อาทิ ออกกฎหมายห้ามนำมาในโรงเรียน , ลงทะเบียนบัตรประชาชนเพื่อควบคุมอายุ , เกมต้องหยุดเมื่อครบ 2 ชั่วโมง เป็นต้น ทั้งนี้ไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ต่อธุรกิจ แต่ธุรกิจก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ได้ห้ามการเล่นเกม แต่คนไทยเด็กและพ่อแม่จะต้องเท่าทัน และองค์กรควบคุมที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง เช่นกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ต้องทำหน้าที่อ่างเข้มแข็ง

นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า จดหมายเปิดผนึกเพื่อกระตุ้นให้สังคมได้เห็นผลกระทบจากการสนับสนุนอีสปอร์เป็นกีฬานั้นส่งผลกระทบต่อเยาวชนของชาติให้กลายเป็นเด็กติดเกมทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่วมลงชื่อเพื่อนำไปยื่นให้ผู้มีอำนานทบทวน โดยการลงชื่อนั้นผู้ที่เห็นด้วยสามารถลงชื่อต่อท้ายจดหมายเปิดผนึกที่ตนเผยแพร่ในเฟสบุ๊คส่วนตัวได้เลยซึ่งขณะนี้มีจำนวนมากขึ้นแล้ว. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"