(“งานจักสาน” ช่วยสร้างสมาธิและฝึกกล้ามเนื้อมือให้ผู้สูงอายุ)
ว่าด้วยการหยิบ “งานจักสาน” เข้ามาช่วยดูแลสุขภาพของผู้สูงวัย นอกเหนือจากหยิบมาใช้งานอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ที่สำคัญสถานการณ์ของคนสูงวัยยุคนี้มักเจ็บป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ รวมถึงโรคซึมเศร้าที่พบได้แทบทุกช่วงวัย โดยเฉพาะวัยหลัก 5 หลัก 6 ที่ไร้การดูแลจากบุตรหลาน หรืออยู่บ้านแบบเหงาๆ โดยที่ไม่มีอะไรทำ ดังนั้นการลุกขึ้นมาทำงานจักสาน สำหรับผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีพื้นฐานดังกล่าวมาก่อน ย่อมเป็นเทคนิคในการรักษาสุขภาพที่น่าสนใจ
(วีรวัฒน์ กังวานนวกุล)
คุณวีรวัฒน์ กังวานนวกุล ผู้จัดการ “พิพิธภัณฑ์เล่นได้” ให้ข้อมูลว่า “ต้องบอกว่าระหว่างของเล่นพื้นบ้านกับงานจักสานนั้นมีความแตกต่าง แต่เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกัน เพราะถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นสถานการณ์ของสังคมผู้สูงวัยนั้นมักป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและโรคอัลไซเมอร์ หลงๆลืมๆ ดังนั้นประโยชน์จากการ “ทำงานจักสาน” ถือเป็นการฝึกสมาธิและการอยู่กับตัวเอง ผ่านการสอดเส้นตอกแนวตั้งสลับกับแนวขวาง เพื่อให้เกิดเป็นลวดลายต่างๆ ซึ่งเรียกกันว่าเป็นการรักษาสุขภาพแบบ “บำบัดทาน” โดยสิ่งที่เกิดขึ้นผู้สูงอายุทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
(ขั้นตอนการจักตอกสำหรับใช้จักสานนั้น เป็นการกระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กและมัดใหญ่ให้กับผู้สูงวัย อีกทั้งการเดินไปตัดไม้ไผ่ที่อยู่หัวไร่ปลายนา ก็ถือเป็นการออกกำลังกายที่คล้ายการเต้นแอโรบิกของผู้สูงวัยในเมือง)
หรือเป็นการสร้างสมาธิ โดยการนับจำนวนในหัวจากการสานเส้นตอกสลับไปมาโดยที่ท่านไม่รู้ตัว ที่น่าสนใจ หากคุณตาคุณยายท่านใดที่สามารถครีเอตลวดลายการจักสานใหม่ๆ ได้เอง ท่านก็จะรู้สึกภาคภูมิใจ หรือหากผู้สูงวัยท่านที่ไม่มีเงินบำนาญก็สามารถทำงานฝีมือดังกล่าวเพื่อสร้างรายได้เสริมในครอบครัว แม้บางคนจะมองว่าเป็นตลาดเล็กๆ แต่สำหรับงานคราฟต์ หรืองานฝีมือดังกล่าว ค่อนข้างมีเสน่ห์และคนทั่วโลกมักให้ความสนใจ ทั้งนี้ หากคุณตาคุณยายทำด้วยความเชื่อมั่นและใจรัก ตลอดจนมีหน่วยงานที่ดูแลด้านครอบครัว และผู้สูงอายุเข้ามาร่วมสนับสนุน แน่นอนว่าจะยิ่งช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างรุ่นต่อรุ่นได้ ที่สำคัญ “งานจักสาน” จะกลายเป็น “แบบอย่างให้กับลูกหลาน” ซึ่งดีกว่าการพร่ำสอนเขา หากว่าผู้สูงอายุทำงานฝีมือดังกล่าวให้เขาดู ตรงนี้ไม่เพียงช่วยลดการพร่ำบ่นได้ แต่ยังเป็นแบบอย่างในการทำงานที่รักและถนัดเป็นงานอดิเรก ตรงนี้ลูกหลานจะซึมซับไปด้วยโดยไม่รู้ตัว
(ประโยชน์ของงานจักสานไม่ได้แค่เชื่อมคนวัยเก๋ากับคนรุ่นใหม่เข้าไว้ด้วยกัน หากผู้หลักผู้ใหญ่หยิบงานฝีมือสุดเอ็กซ์คลูซีฟขึ้นมาทำบ่อยๆ รับรองว่าสุขภาพดีแน่นอน ว่าไหมค่ะ...)
ที่ลืมไม่ได้ สำหรับเสน่ห์ของงานจักสานที่มาจากฝีมือของคนวัยเกษียณซึ่งอยู่ต่างที่กัน ทั้ง ภาคเหนือ กลาง ใต้ ออก ตก คือเป็นงานฝีมือที่มีมากกว่า 100 ปี หรือก่อนงานเครื่องปั้นดินเผา และงานจักสานยังเล่าเรื่องราวผ่านลวดลายที่ต่างกันของแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ศิลปินรุ่นใหม่ที่ได้เห็นงานจักสานก็มักจะถอดรหัสจนกระทั่งเข้าใจ ดังนั้นสิ่งที่ได้จากการจักสานจะมีทั้งเรื่องความเชื่อและประเพณี วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น เรียกได้ว่างานฝีมือดังกล่าวเป็นต้นแบบหรือไอเดียในการสร้างสรรค์ผลงานให้กับศิลปินรุ่นใหม่นั่นเอง
“สิ่งที่ผู้สูงอายุจะได้จากการทำงานจักสานในมุมของสุขภาพนั้น อย่าลืมว่า เส้นตอก 1 เส้น กว่าที่จะได้มานั้น ผู้สูงวัยจะต้องปลูกต้นไผ่ไว้ที่หัวไร่ปลายนา หรืออย่างน้อยๆ ก็ต้องเดินออกไปตัดไม้ราว 200 เมตร ก็ทำให้ได้ออกกำลังกายแขนและขา เช่นเดียวกับผู้สูงอายุที่อยู่ในเมือง ซึ่งมักเอกเซอร์ไซส์ด้วยการเต้นแอโรบิก นอกจากนี้ เมื่อได้ไม้ไผ่แล้วก็ต้องมานั่งจักตอกทีละเส้นๆ และต้องลบคมเส้นตอก ทำให้ได้ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ สิ่งที่ลืมไม่ได้ ผู้สูงอายุจะต้องไม่ทำงานจักสานแบบหักโหม เช่น นั่งทำวันละ 4 ชั่วโมง แต่แนะนำให้ใช้กิจกรรมดังกล่าวเพื่อเป็นเครื่องมือกระตุ้นการมีสังคม และเชื่อมความสัมพันธ์กับบุตรหลานและเพื่อนฝูง โดยให้ทำวันละ 1 ชั่วโมง สลับกับการทำงานบ้านอย่างอื่น ก็จะเป็นประโยชน์กับสุขภาพของท่านไม่น้อย”
ประโยชน์ของงานจักสานไม่ได้แค่เชื่อมคนวัยเก๋ากับคนรุ่นใหม่เข้าไว้ด้วยกัน หากผู้หลักผู้ใหญ่หยิบงานฝีมือสุดเอ็กซ์คลูซีฟขึ้นมาทำบ่อยๆ รับรองว่าสุขภาพดีแน่นอน ว่าไหมค่ะ...
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |