บันทึกหน้า4


เพิ่มเพื่อน    


    ไทยโพสต์ "อิสรภาพแห่งความคิด" storage.thaipost.net "ประชาธิปไตยไทยนิยม" ของ "บิ๊กตู่" เริ่มเห็นรูปเห็นร่างบ้างแล้ว นับแต่วันแรกที่ผุดขึ้นมาเมื่อวันที่ 13 ม.ค. ระหว่างให้โอวาทเนื่องในวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2561 ก่อให้เกิดคำถามมากมายจากหลายฝ่ายถึงนิยามคำนี้ โดยเฉพาะจากฝ่ายการเมือง เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทยพัฒนา ประสานเสียงถล่มว่าคือประชาธิปไตยสืบทอดอำนาจ ถึงแม้ว่าวันต่อๆ มา ทั่นผู้นำจะพยายามชี้แจงอธิบายความหมายเป็นซีรีส์รายวันก็ตาม "ประชาธิปไตยไทยนิยมในแบบของผม คือทำอย่างไรคนไทยจะเข้าใจประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ทำอย่างไรคนไทยจะทำในสิ่งที่ดีงาม ถ้าทุกคนมุ่งไปสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้ว นั่นแหละคือไทยนิยม คนไทยชอบทำ เราต้องทำสิ่งดีๆ จะเกิดผลดีต่อบ้านเมือง", "ประชาธิปไตยที่คนไทย ทุกพวกทุกฝ่ายเข้าใจ และมีอุดมการณ์เดียวกันที่ทำให้ประเทศชาติ มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน นั่นแหละคือไทยนิยมของผม", "ไทยนิยมคือ การขับเคลื่อน ในแกนวายลงมา บนลงล่าง ระดับข้างล่างก็มี ประชารัฐอยู่ข้างล่างนะครับ ในระดับพื้นที่ เพราะฉะนั้นวันนี้ เราขับเคลื่อนไทยนิยม คือ ประชาชนร่วมมือกันทำในสิ่งที่เขาตรงกับความต้องการของเขา นั่นคือไทยนิยมของผม"
    ๐ ในเมื่อประกาศตัวเป็นนักการเมืองก็ไม่มีกั๊กแล้ว เพิ่งเซ็นคำสั่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน เจ้าตัวคุมทัพชุดใหญ่เอง แล้วก็งอกทีมงานระดับอำเภอ ระดับตำบล เรียกว่าปูพรมทั่วประเทศ ถ้าเปรียบ "ไทยนิยม" เป็นพรรคก็มีหัวคะแนนทุกระดับลงถึงรากหญ้าทีเดียว ขณะที่ "บิ๊กตู่" เดินหน้าขายฝันแก้จนต่อ คลอดมาตรการช่วยผู้มีรายได้น้อยมาเป็นระลอก โดยมีหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญอย่างหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" รองนายกฯ ที่ลั่นวาจาไว้ว่าจะทำให้คนไทยหายจนในปี 61 จากนั้นค่อยเลือกตั้ง โรดแมปก็เลยขยับไปปี 62 ถึงเวลานั้นก็มีแต่คนรวยกับคนเคยจนมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ค่อยมาลุ้นกันว่า "ประยุทธ์นิยม" จะใช้ได้ผล กระตุ้นคนไทยนิยมประยุทธ์ ต่ออายุเก้าอี้นายกฯ สมัย 2 ฉลุยหรือเปล่า
    ๐ นอกจากลงพื้นที่เจาะรากหญ้าแล้ว เรื่องชิงพื้นที่สื่อก็สำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งช่วงนี้ขาลงแล้วลงอีก มีแต่เรื่องร้อนๆ หนักๆ รุมเร้า เขย่ารัฐบาล เก้าอี้นายกฯ ก็สั่นคลอน เลยต้องรุกประชาสัมพันธ์ผลงานตัวเองบ้าง ล่าสุดยืมไอเดียของรายการดังของทีวีอเมริกา จัดงาน "Meet The Press" หรือในชื่อภาษาไทยว่า "สื่ออยากรู้ รัฐบาลอยากเล่า" เชิญทั้งสื่อไทยและสื่อนอกมาร่วมรับฟัง วันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา เป็นคิวของเนติบริกร "วิษณุ เครืองาม" รองนายกรัฐมนตรี หัวข้อ "กฎหมายหลายรส กับอนาคตประเทศไทย" มี น.ส.นารากร ติยายน ทำหน้าที่พิธีกร ช่วงแรกให้พิธีกรถามชงให้ตอบ ก่อนจะเปิดโอกาสให้สื่อทั้งหลายได้ซักกันบ้าง ส่วนใหญ่ก็ติดใจเรื่องโรดแมปเลือกตั้ง ที่ยืดเวลากฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.ออกไป 90 วัน งานนี้เนติบริกรเฉลยเอง โรดแมปส่อขยับไปถึงเดือน ก.พ.62 พร้อมออกตัวแทน "บิ๊กตู่" ว่าไม่ได้เบี้ยวสัจจะ อ้างถึงขนาดนับนิ้วมือนิ้วตีนแล้วก็ยังฟันธงไม่ได้ เพราะมีปัจจัยใหม่ๆ โผล่ขึ้นมาตลอด 
    ๐ และแล้วก็เป็นไปตามออเดอร์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่าน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.เรียบร้อย โดยเฉพาะประเด็นสำคัญที่มีการถกเถียงกันร่วม 3 ชั่วโมง กับมาตรา 2 ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมาย ที่ กมธ.เสียงส่วนใหญ่มีมติแก้ไขให้มีผลบังคับใช้ภายหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว 90 วัน จากเดิมที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา "วิทยา ผิวผ่อง" ประธาน กมธ. อ้างว่า เพื่อให้ประชาชน พรรคการเมือง ได้ศึกษา ทำความเข้าใจกฎหมายล่วงหน้า จะได้ไม่กระทำผิดโดยไม่เจตนา อีกทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 1.5 ล้านคน จะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้โดยไม่ผิดพลาด ขณะที่ กมธ.หลายคนแสดงความเห็นสนับสนุนให้ขยายเวลาบังคับใช้ มากกว่า 90 วัน 120 บ้าง 180 บ้าง แต่ที่มาแรงสุดต้องยกให้ "พ.ต.ท.พงษ์ชัย วราชิต" เสนอไปไกลถึง 60 เดือนหรือ 5 ปี ให้เหตุผลว่าเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เล่นเชลียร์ คสช.ขนาดนี้ หวังขอจองโควตาเก้าอี้ ส.ว.ไว้ล่วงหน้าหรือเปล่า.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"