วิกฤติไฟใต้ความรับผิดชอบของใคร


เพิ่มเพื่อน    

    ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศนั้นมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ถือว่ามีหน้าที่หลักในการจัดหาพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้ โดยที่ผ่านมานั้นภาคใต้ถือว่ามีปัญหามากสุด และเสี่ยงกับการเกิดปัญหาไฟฟ้าดับ ซึ่ง กฟผ.เองก็ยอมรับว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้เพิ่มขึ้นปีละ 5%
    ในขณะที่มีโรงไฟฟ้าหลักอยู่ 9 โรง เป็นโรงไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำ 2 โรง กำลังผลิต 312 เมกะวัตต์ พลังงานหมุนเวียน 2 แห่ง กำลังผลิต 30.5 เมกะวัตต์ น้ำมันเตา 1 โรง ขนาด 315 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าดีเซล 26 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าก๊าซฯ 3 แห่ง รวมกำลังผลิต 2,406 เมกะวัตต์ รวมกำลงผลิต 3,059.5 เมกะวัตต์
    แต่ต้องเข้าใจว่า โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำและพลังงานหมุนเวียน เป็นพลังงานที่พึ่งไม่ได้แน่นอน มีอยู่ถึง 342.5 เมกะวัตต์ ในขณะที่โรงไฟฟ้าดีเซลและน้ำมันเตาและก๊าซที่พึ่งได้นั้นจะมีอยู่เพียง 2,747 เมกะวัตต์ ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดหรือพีกของภาคใต้เมื่อปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 2,713 เมกะวัตต์ ดังนั้นเมื่อความต้องการใช้ไฟฟ้าเติบโตเพิ่มขึ้น 5% หรือประมาณ  150 เมกะวัตต์ ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงอย่างรุนแรง
    ซึ่งในเรื่องนี้ กฟผ.ในฐานะที่เป็นผู้มีหน้าที่จัดหาพลังงานไฟฟ้ามาป้อน แต่จนแล้วจนรอด โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ขนาด 800 เมกะวัตต์ ที่ตามแผนจะต้องก่อสร้างและจ่ายเข้าระบบในปี 2562 ก็มีความชัดเจนค่อนข้าง 100% ว่าต้องเลื่อนออกไป ตามคำเรียกร้องของกลุ่มชาวบ้านที่บอกว่าเป็นตัวแทนของคนกระบี่    
    ดังนั้น ให้เป็นที่ยอมรับกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน กฟผ.ได้กลับมาเริ่มต้นใหม่ ด้วยการเปิดรับฟังความคิดเห็น (ค.1) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ 28 ม.ค.นี้ เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
    อย่างไรก็ตาม สหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่ กฟผ. ได้ระบุว่า การเปิดเวที ค.1 เป็นไปตามหนังสือของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันที่ 27 ก.พ.2560 ที่ให้ กฟผ.ศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ใหม่ โดยมุ่งเน้นกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการแสดงความคิดเห็นและการตัดสินใจในการจัดทำรายงาน EHIA จากทุกฝ่าย
    “กฟผ.จะขยายขอบเขตการจัดรับฟังความคิดเห็นตามกฎหมายในเชิงพื้นที่ จากเดิม 2 ตำบล คือ อบต.คลองขนาน และ อบต.ปกาสัย ได้เพิ่มอีก 2 ตำบล คือ อบต.คลองท่อมใต้ และ อบต.โคกยางด้วย ในส่วนประเด็นหัวข้อการศึกษาเพิ่มเติม โครงการฯ ได้นำข้อคิดเห็นของคณะกรรมการไตรภาคี คณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ รวมถึงข้อคิดเห็นจากคณะอนุกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ภาคประชาชน มาศึกษาเพิ่มเติม เช่น ประเด็นฝุ่นละออง PM2.5 สมดุลมวลปรอท ผลกระทบโครงการต่อวิสัยทัศน์กระบี่ เป็นต้น ส่วนโครงการท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้วก็ได้พิจารณาเพิ่มเติมเรื่องการฟุ้งกระจายของตะกอนเนื่องจากใบพัดเรือ ศึกษาการกัดเซาะชายฝั่งครอบคลุมถึงฝั่งท่าเรือ และฝั่งตรงข้าม เป็นต้น” นายสหรัฐกล่าว
    อย่างไรก็ตาม แม้ว่า กฟผ.จะนับ 1 กระบวนการทางด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ เพื่อสร้างความเข้าใจ ให้กับชาวบ้านในเรื่องสิ่งแวดล้อมและสิ่งสำคัญอีกเรื่องที่ทำให้มีผลกระทบกับการเกิด ไม่เกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ได้ คือ การที่ยังไม่มีความชัดเจนจากฝ่ายนโยบายว่าจะอนุมัติให้สร้างเมื่อไร และหากสามารถเคลียร์ในด้านสิ่งแวดล้อมสร้างความเข้าใจชาวบ้านแล้วเสร็จ จนสามารถอนุมัติและก่อสร้างได้ภายในปีนี้ การก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่กว่าจะแล้วเสร็จและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ก็ปี 2564 
    แต่ถ้าไม่มีโรงไฟฟ้ากระบี่ จะเกิดวิกฤติความมั่งคงทางพลังงาน เสี่ยงไฟฟ้าดับที่สุดในปี 2563 โดย กฟผ.ต้องปรับไปใช้เชื้อเพลิงอื่น โดยเฉพาะการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีกระทบต่อค่าไฟฟ้าให้สูงขึ้น
    ดังนั้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้คงต้องรอความชัดเจนในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 17 ก.พ.นี้ ว่าจะมีการพิจารณาโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่หรือไม่ 
    และเมื่อเกิดปัญหาแล้วภาระที่เกิดขึ้นนั้นประชาชนจะเป็นผู้รับผิดชอบเหมือนที่ผ่านมาหรือเปล่า.

บุญช่วย ค้ายาดี 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"