คอลัมน์ อาทิตย์เอกเขนก
“ดนุภพ กมล” จากใจรักนำไปสู่โลกธุรกิจที่มีศูนย์กลางเป็นดนตรี
ในอุตสาหกรรมเพลงก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจ ที่ต้องปรับตัวตามโลกดิจิทัลไม่แตกต่างกับวงการอื่น และศิลปินก็สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าอดีต เนื่องจากมีโซเชียลมีเดียมาเป็นอีกหนึ่งช่องทาง “ดนุภพ กมล” ผู้ช่วยรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท มิวซิกมูฟ จำกัด หนุ่มนักบริหารรุ่นใหม่ ที่อยู่ในวงการเพลงมาหลายปี หรือจะเรียกว่าอยู่ในสายเลือดมาตั้งแต่เยาว์วัยก็ไม่ผิดนัก
“สมัยเรียนผมเองก็มีโอกาสได้เล่นดนตรีกับทางมหาวิทยาลัย พอทำงานก็เริ่มจากซาวด์เอ็นจิเนียร์ (Sound Engineer)ที่แกรมมี่เป็นลำดับแรก มีโอกาสได้ร่วมงานและอัดเสียงให้กับหลายวงดนตรีชื่อดังของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นวงซีล แบล็ดเฮด ฟาร์เรนไฮ หรืออีกหลายๆ วง จากนั้นก็ขยับมาสตูดิโอกลางเลยได้มีโอกาสขยายขอบเขตการทำงานของตนเองกับศิลปินอีกหลายคนมากขึ้น พอเวลาผ่านไปเกือบ 10 ปี ผมก็รู้สึกว่าเริ่มอิ่มตัว อยากหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ รวมถึงอยากเห็นมุมอื่นของอุตสาหกรรมดนตรี จึงตัดสินใจไปเรียนต่อในสาขามิวสิค แมนเนจเม้นท์ ประเทศอังกฤษ”
นับเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ “ดนุภพ” ได้กลายมาเป็นผู้อยู่เบื้องหน้าในอุตสาหรรมเพลงและดนตรี เมื่อก่อนเป็นคนเบื้องหลังทำงานในห้องอัด การไปศึกษาต่อต่างประเทศเปรียบเสมือนได้เปิดโลกทัศน์ทางดนตรี มีการแปลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนชาวต่างชาติ ก่อให้เกิดมุมมองใหม่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการรันธุรกิจ หรือแม้แต่กระแสของดนตรี โดยในช่วงเวลานั้นเป็นยุคที่กำลังเปลี่ยนเข้าสู่ดิจิทัล กระแสของผู้บริโภคเริ่มใช้จ่ายเพลงในดิจิทัลเริ่มมีมากขึ้น
ดนุภพ เล่าต่อว่า ช่วงที่เราไปฝึกเรียนภาษาอังกฤษ ผมต้องบอกว่าค่อนข้างเป็นจุดที่วิกฤติเหมือนกัน การที่ทำงานแต่ในสตูดิโอ ไม่ค่อยพูด แต่เราต้องมาฝึกภาษาและพูดค่อนข้างมาก ขณะที่ครูมาจากหลายประเทศมาก สำเนียงการฟังอาจจะยาก เป็นช่วงปรับตัว รู้สึกว่าท้อเหมือนกัน แต่พอตั้งสติก็คิดว่าเรามีความตั้งใจ ก็ต้องทำให้ดีที่สุด สิ่งสำคัญต้องกล้าพูดไม่กลัวที่จะผิด เพื่อนก็ไม่ได้มานั่งจับผิดกัน ใช้เวลาปีกว่าที่พัฒนาภาษาของตนเอง เป็นจุดเปลี่ยนตัวเอง พอกลับมาก็กล้าที่จะทำอะไรหลายอย่างมากขึ้น เหมือนพาตัวเองออกจากคอมฟอร์ทโซน
หลังจากกลับมาในเมืองไทย เขายังบอกต่ออีกว่า อยากพัฒนาวงการ โดยเริ่มทำงานในค่ายเพลงสหภาพดนตรี ดูในส่วนการตลาด กระทั่งรีแบรนด์มาเป็น “มิวสิคมูฟ”(Muzik Move) เพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ค่ายเพลงในการตอบโจทย์คนฟังที่หลากหลาย ได้แก่ 1.มิวสิคมูฟเรคคอร์ดส เน้นแนวเพลงป๊อป 2. มีเรคคอร์ดส เน้นไปทางร็อคเสียส่วนใหญ่ อาจจะมีป๊อปผสมบ้าง 3. บ็อกซ์มิวสิค ค่ายเพลงที่มีความเป็นอินดี้ผสมเออร์เบิร์นป๊อปอย่างลงตัว
ตอนที่กลับมานอกจาทำงานธุรกิจแล้วยังอยากทำงานมิกซ์ควบคู่กันไปด้วย หลังจากบริษัทรีแบรนด์ก็ขยับมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ในส่วนของเรื่องของการขาย ดิจิทัล ฟิซเคิล บริหารศิลปิน การขายศิลปิน โชว์บิซ และแอคทิเวชั่น อยู่มาแล้ว 6 ปี รีแบรนด์เข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว
สำหรับการรีแบรนด์ได้เข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว ผลลัพธ์ก็พบว่าการดำเนินธุรกิจดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด “ค่ายต้องปรับกับผู้บริโภคทีเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสื่อและดิทิจัล แนวเพลงอาจจะต้องโฟกัสมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีสื่อในการรับค่อนข้างกว้าง เขาจะโฟกัสสิ่งที่ต้องการได้ ค่ายเพลงก็ต้องมีความชัดเจนเพื่อให้คนติดตาม จากเดิมมีค่ายเดียวก็ต้องแยกย่อยออกมา”
ความหมายของ Muzik Move คือการทำงานบนพื้นฐานที่มีใจกลางเป็นดนตรี หรือจะเปรียบว่าทุกอย่างเคลื่อนที่ผ่านดนตรี แนวทางของการดำเนินธุรกิจ จะเส้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับดนตรี เพื่อชูความสำคัญของดนตรี เช่นเดียวกับการขยายบริษัทออกมาดังกล่าว ก็ทำให้เกิดวงกว้างมากขึ้น และแต่ละส่วนจะโตได้ด้วยตัวเอง
ส่วนกลยุทธ์ที่จะใช้ในการดำเนินธุรกิจ จะเป็นในส่วนของความร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมบันเทิง เนื่องจากบริษัทมีจุดเด่นทางดนตรีดีแล้ว จึงเลือกมือกับค่ายหลังค่ายละคร ในส่วนของหลังบ้าน ทางค่ายเองก็ยังมีการจ่ายรอยัลตี้กับคนแต่งเพลงให้มีระบบมากขึ้น ขระที่การบริหารศิลปิน เริ่มขยายงานการขายศิลปิน เพื่อให้คนรู้จักมากขึ้น ในยุคนี้ศิลปินตัวจริงก็สำคัญ หากถามว่าค่ายเพลงยังสำคัญไหม ขณะที่หลาย ๆคน ทำเพลงของตนเองได้เอง เป็นศิลปินได้เองผ่านโซเชียลมีเดีย ค่ายเพลงมีหน้าที่คัดเลือกศิลปินจากทุกช่องทาง นำเสนอต่อสาธารณะว่าเขาเป็นศิลปินตัวจริง
“การทำงานของผมต้องบอกว่าทุกอย่างอยู่บนแพชชั่นของมิวสิค คือความสุขที่ได้อยู่กับอะไรที่เป็นพื้นฐานที่เราชอบ เช้ามาก็เปิดเพลงฟังว่ายุคนี้เขาชอบเพลงอะไรกัน ก็จะเห็นว่าสังคมตอบรับกับเพลงแบบไหน หรือดนตรีแบบไหนที่ตอบโจทย์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมงานในบริษัท หากความสุขในการทำงานคืออยู่บนสิ่งที่เราชอบ เวลาท้ออุปสรรคจะได้มีแรงต่อสู้ แต่สุดท้ายก็ยังจะอยู่ในสิ่งที่เรารักเหมือนเดิม” ดนุภพ กล่าวปิดท้าย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |