ซูเปอร์โพลเผยผลสำรวจ ประชาชนละอายที่การเมืองขัดแย้งรุนแรง และภูมิใจมากต่อประเทศชาติและความเป็นคนไทยในยามบ้านเมืองสงบในขณะนี้ เชื่อพวกป่วนเมืองบนโซเชียลฯ ไม่ใช่คนไทย เป็นพวกต่างชาติ รับจ้างจากฝ่ายการเมือง
เมื่อวันเสาร์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลโพลเรื่อง ความภูมิใจของประชาชนวันนี้ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,089 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-14 กันยายน พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา
พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.9 รู้สึกภูมิใจน้อยถึง ไม่ภูมิใจเลย ละอายใจช่วงการเมืองขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ในขณะที่ร้อยละ 8.1 ภูมิใจมากถึงมากที่สุด
ที่น่าสนใจคือ เมื่อจำแกนกลุ่มคนตอบออกเป็น กลุ่มที่จะได้เลือกตั้งครั้งแรกกับกลุ่มที่เคยเลือกตั้งมาแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่ของกลุ่มที่จะได้เลือกตั้งครั้งแรก หรือร้อยละ 94.7 ซึ่งมากกว่ากลุ่มเคยเลือกตั้งมาแล้ว ร้อยละ 90.1 ภูมิใจน้อย ถึงไม่ภูมิใจเลย ละอายใจต่อการเมืองขัดแย้งรุนแรงบานปลาย
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความภูมิใจต่อประเทศชาติและความเป็นคนไทยในสถานการณ์บ้านเมืองวันนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.8 ภูมิใจมากถึงมากที่สุดในสถานการณ์ความสงบของบ้านเมืองวันนี้ และเมื่อจำแนกตามกลุ่มคนที่จะได้เลือกตั้งครั้งแรกและกลุ่มคนที่เคยเลือกตั้งมาแล้ว พบว่า กลุ่มคนที่จะได้เลือกตั้งครั้งแรก ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.8 ซึ่งมากกว่ากลุ่มคนที่เคยเลือกตั้งมาแล้วที่มีอยู่ร้อยละ 90.7 ภูมิใจมากถึงมากที่สุดในสถานการณ์ความสงบของบ้านเมืองวันนี้
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.3 ต้องการมากถึงมากที่สุด ให้เกิดความสงบเรียบร้อย ไม่มีขัดแย้งการเมืองรุนแรง และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.1 ระบุคนที่คอยยุยง ปั่นป่วนความไม่สงบของบ้านเมืองบนโลกโซเชียลฯ หน้าจอคอมพ์และมือถือ ไม่ใช่คนไทย เป็นพวกต่างชาติ ผู้ไม่หวังดีต่อประเทศไทย รับจ้างจากฝ่ายการเมือง นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.4 ต้องการให้จัดการขั้นเด็ดขาด มากถึงมากที่สุด ต่อพวกสร้างสถานการณ์การเมืองขัดแย้งรุนแรงบานปลาย
กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “การเลือกตั้งบนสมรภูมิโซเชียล” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,201 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.0 อยากเห็นพรรรคการเมืองใช้สื่อโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ก/เฟซบุ๊กไลฟ์ ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง รองลงมาร้อยละ 39.6 อยากเห็นใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ไลน์ และร้อยละ 36.5 ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ยูทูบ
เมื่อถามความเห็นต่อการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของพรรคการเมืองต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.4 เห็นว่าจะเกิดผลดี โดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่า ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลพรรคการเมืองได้ง่ายขึ้น (ร้อยละ 54.8) รองลงมาคือ คนรุ่นใหม่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น (ร้อยละ 53.4) ขณะที่ร้อยละ 48.6 เห็นว่าจะเกิดผลเสีย โดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่า ข้อมูลที่ได้อาจไม่น่าเชื่อถือ มีการบิดเบือนข้อมูล (ร้อยละ 45.2) และจะมีการแสดงความเห็นใส่ร้ายโจมตีคู่แข่ง ทำให้เกิดความขัดแย้ง (ร้อยละ 33.5)
ส่วนความเห็นต่อการเสนอข้อมูลต่างๆ ทางการเมืองของเน็ตไอดอล หรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด จะมีผลต่อการเลือกตั้งที่จะถึงมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.0 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 37.0 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
สุดท้ายเมื่อถามว่า รู้สึกอย่างไรหากมีการห้ามใช้สื่อโซเชียลมีเดียหาเสียง พบว่า ร้อยละ 47.9 รู้สึกเหมือนถูกปิดกั้นข้อมูล รองลงมาร้อยละ 34.6 รู้สึกเหมือนประเทศยังไม่พัฒนา ไม่มีอิสระ และร้อยละ 34.3 รู้สึกว่าถ้าใช้โซเชียลฯ หาเสียง ประเทศจะวุ่นวายแตกแยก.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |