สอบทุจริตวันเอ็มดีบีลามถึงทนายความส่วนตัวของอดีตนายกฯ นาจิบ ราซัค คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตของมาเลเซียจับกุม "มูฮัมหมัด ชาฟี อับดุลลาห์" ทนายคู่ใจของนาจิบ โดยตั้งข้อหาฟอกเงินหลังจากพบว่าได้รับเช็คจากนาจิบเกือบ 75 ล้านบาท และยังปกปิดข้อมูลเมื่อขอคืนภาษี
ชาฟี อับดุลลาห์ (กลาง) ทนายของอดีตนายกฯ นาจิบ ราซัค ถูกเจ้าหน้าที่พาตัวขึ้นศาลในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันพฤหัสบดี / AFP
การจับกุมและตั้งข้อหาทนายความวัย 66 ปีรายนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนทุจริตในกองทุนวันมาเลเซียดีเวลอปเมนต์เบอร์ฮัด (วันเอ็มดีบี) ที่เดินเครื่องอย่างเต็มที่ภายหลังมหาเธร์ โมฮัมหมัด นำกลุ่มแนวร่วมฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้งอย่างเหลือเชื่อเมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งทำให้นาจิบถูกตั้งข้อหาอาญา ทำผิดต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย, ฟอกเงิน และใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เขาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ศาลนัดเริ่มการพิจารณาคดีวันที่ 12 กุมภาพันธ์ปีหน้า
รัฐบาลของมหาเธร์ยังติดตามเงินและทรัพย์สินที่ได้มาอย่างผิดกฎหมายจากการยักยอกกองทุนนี้ แต่ล่าสุด ลิม กวน เอ็ง รัฐมนตรีคลังมาเลเซีย ยอมรับว่า การทวงคืนทรัพย์สินคืบหน้าช้ามากกว่าที่คาด และในความเป็นจริง อาจนำทรัพย์สินกลับคืนมาได้เพียง 30%
รายงานของรอยเตอร์และเอเอฟพี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2561 กล่าวว่า ชาฟีโดนจับกุมที่สนามบินเมื่อเช้าวันพฤหัสบดี ขณะเตรียมขึ้นเครื่องเดินทางภายในประเทศเพื่อไปทำคดีอีกคดีหนึ่ง เขาถูกแจ้งข้อหาฟอกเงิน 2 กระทง และแจ้งภาษีเงินได้เป็นเท็จอีก 2 กระทง
เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปราบปรามการทุจริตรายหนึ่งบอกกับเอเอฟพีว่า ชาฟีถูกกล่าวหาว่ารับเช็คจากนาจิบ 2 ฉบับ รวมเป็นเงิน 9.5 ล้านริงกิต (ราว 74.8 ล้านบาท) โดยฉบับหนึ่งเข้าบัญชีของเขาเมื่อปี 2556 และอีกฉบับในปี 2557 นอกจากนั้นเขายังไม่ได้แจ้งทรัพย์สินที่ได้มานี้ในเอกสารยื่นขอคืนภาษีเงินได้ในปีนั้น
ชาฟีปฏิเสธข้อกล่าวหา และได้รับการประกันตัวด้วยวงเงิน 1 ล้านริงกิต (7.87 ล้านบาท) หากเขาถูกตัดสินว่ามีความผิดตามข้อกล่าวหาฟอกเงิน เขาอาจถูกจำคุกสูงสุดกระทงละ 5 ปี และเสียค่าปรับ 5 เท่าจากยอดเงิน หรือสูงสุด 5 ล้านริงกิต
โคปาล ศรี ราม อัยการ กล่าวว่า คดีของทนายความผู้นี้เป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนการทุจริตในวันเอ็มดีบี แต่เขาไม่กล่าวชัดว่าเงินที่ชาฟีได้มานั้น มาจากการทุจริตวันเอ็มดีบีหรือไม่
ฝ่ายตรงข้ามของชาฟีกล่าวกันว่า เงินเหล่านี้เป็นค่าว่าความที่ได้จากนาจิบ จากการดำเนินคดีกับอันวาร์ อิบราฮิม ประธานของพรรคฝ่ายค้าน ปาร์ตี เคดิลัน รัคยัค (พีเคอาร์) ซึ่งถูกจำคุกเมื่อปี 2558 จากความผิดฐานร่วมเพศทางทวารหนัก ชาฟีปฏิเสธคำกล่าวอ้างนี้ อันวาร์ได้รับอิสรภาพเมื่อเดือนพฤษภาคมภายหลังมหาเธร์ ซึ่งเป็นคู่ปรับของเขาชนะการเลือกตั้ง และตอนนี้เขาอยู่ระหว่างรอคอยรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนที่มหาเธร์.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |