ส่องเส้นทางเปิดดีลหุ้นโกลว์ 


เพิ่มเพื่อน    

    ช่วงนี้เราๆ มักจะได้ยินเรื่องของ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ หรือจีพีเอสซี บริษัทในกลุ่มของ ปตท.ที่ทำธุรกิจด้านไฟฟ้ากันอยู่ทุกวัน โดยเฉพาะการถูกร้องเรียนเกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการของ บมจ.โกลว์ พลังงาน หรือ GLOW ว่าเป็นการผูกขาด มีอำนาจเหนือตลาด ซึ่งถ้าย้อนกับไปดู กระบวนการซื้อหุ้นนั้นไปถึงไหนแล้ว  
    ซึ่งจะเห็นว่าหลังจากที่คณะกรรมบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) GPSC หรือจีพีเอสซี ได้ทุบโต๊ะ มีมติซื้อหุ้นบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) GLOW หรือโกลว์ จำนวน 69.11% จากกลุ่ม Engie Global Developments B.V. (ผู้ถือหุ้นเดิม) ราคาหุ้นละ 96.50 บาท มูลค่า 97,560 ล้านบาท และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ด้วยคะแนนเสียงที่เป็นเอกฉันท์ 99.98% ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด ซึ่งสะท้อนได้ว่า ผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่ รายเล็ก รายย่อย ต่างสนับสนุนการทำดีลนี้ให้เกิดขึ้น 
    เส้นทางจากนี้ไป เมื่อได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นทั้งหมด จีพีเอสซียังต้องผ่านขั้นตอนอีกหลายด่าน เพื่อให้กระบวนการเป็นไปตามกฎหมายของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยเฉพาะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะเป็นหน่วยงานกลาง และกำกับดูแลธุรกิจไฟฟ้า ที่ต้องเข้าไปตรวจสอบและกำกับการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ความมั่นใจอีกชั้นหนึ่งว่า การดำเนินธุรกิจไฟฟ้าถูกต้อง เป็นธรรม และไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบทางธุรกิจ หรือการเข้าข่ายการครอบงำกิจการ ซึ่งเรื่องดังกล่าว ทั้ง จีพีเอสซีและโกลว์ ได้มีการนำเสนอข้อมูลกับ กกพ.อย่างต่อเนื่อง เพื่อประกอบในการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว 
    อย่างไรก็ตาม ด้วยเป้าหมายของจีพีเอสซีที่ให้ความสำคัญในการธุรกิจ และพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการด้านพลังงานของประเทศ ซึ่งทุกขั้นตอนการดำเนินงานจะต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ทำให้ นายเติมชัย บุนนาค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท จีพีเอสซี ออกมายืนยันถึงกระบวนการต่างๆ ที่เป็นไปด้วยความโปร่งใส พร้อมเดินหน้าชี้แจง และทำความเข้าใจกับกลุ่มลูกค้า ทั้งของจีพีเอสซี และโกลว์มาอย่างต่อเนื่อง  
    พร้อมคำยืนยันที่ย้ำอีกว่า “จีพีเอสซี ยังคงยึดมั่นในสัญญาเดิม ทั้งในด้านราคาและการบริการกับลูกค้าทุกราย  ด้วยธรรมชาติของธุรกิจไฟฟ้าจะเป็นสัญญาระยะยาว มีการระบุถึงราคา ปริมาณซื้อขายที่ชัดเจน  ส่วนการกำหนดราคาซื้อขายจะเป็นไปตามราคาตลาด และที่สำคัญภายใต้สัญญาของลูกค้า GLOW ที่มีอยู่เฉลี่ย ยังมีอายุการซื้อขายไฟฟ้ามากกว่า 10 ปี ขณะเดียวกัน GPSC ได้เตรียมจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับลูกค้า เพื่อลดข้อกังวลและให้ความมั่นใจว่าจะไม่ให้มีการบริการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อลูกค้า” 
    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการยืนยันกันอย่างชัดเจนว่าการซื้อหุ้น GLOW นั้นเป็นไปอย่างโปรงใสและได้เห็นชอบจากผู้ถือหุ้นแล้ว แต่ก็ยังไม่วายที่จะถูกเรียกร้องจากบางกลุ่ม โดยกล่าวหาว่ามีชอบธรรม ดังนั้น ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานบอร์ด ปตท. ได้ออกมาตอกย้ำอีกว่า ปตท.เข้าทำธุรกิจไฟฟ้าเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศ แม้จะมีผู้ผลิตไฟฟ้าหลายราย แต่ กฟผ.ยังคงดูแลความมั่นคงโดยเป็นเจ้าของสายส่งและเป็นเจ้าของศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าอิสระเป็นผู้ซื้อไฟฟ้าแต่เพียงรายเดียว
    และกรณีที่มองว่าการร้องเรียนของกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าในมาบตาพุด เกิดจากความกลัวเรื่องของการเลือกปฏิบัติ อาจจะถูกปฏิบัติด้วยความไม่เป็นธรรม หากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและไอน้ำเป็นสัญญาระยะยาวกับลูกค้าทั้งหมด ถ้า GPSC ซื้อ GLOW ก็ต้องปฏิบัติตามสัญญา จะมาเลือกปฏิบัติไม่ได้ โดยมี  กกพ.กำกับอีกที
    อย่างไรก็ตาม เรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นจะถูกหรือผิด จะดีหรือไม่ดี คงต้องรอ อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจ อย่าเพิ่งกลัว คงต้องรอการตัดสินใจของคณะกรรมการ กกพ.ว่าเขาว่าอย่างไร 
    แต่ทั้งที่สงสัยคือทำไมถึงเพิ่งมาร้องเรียนกันตอนนี้  และทำไปเพื่ออะไร และก็มีความกังวลนิดๆ คือการลากเอาเรื่องเศรษฐกิจเข้าไปพัวพันกับการเมืองมันทีไร มันอันตราย และฉุดให้การค้าการลงทุนในบ้านเราซบเซาลงอีกหรือเปล่า.  

บุญช่วย  ค้ายาดี  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"