12ก.ย.61-ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ - โครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน -คอนเน็กซ์-อีดี (CONNEXT ED) ภายใต้ โครงการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) ได้จัดงานประกาศความร่วมมือ "การสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมด้านการศึกษา" โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ประธานเปิดงานพร้อมทั้งกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การศึกษากับการเตรียมคนไทยในอนาคต" ตอนหนึ่งว่า ตนรู้สึกตื้นตันที่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้และได้เห็นความร่วมมือของทุกภาคส่วน ซึ่งรัฐบาลมุ่งจะขับเคลื่อนพัฒนาประเทศไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ด้านหลัง และการศึกษาถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้หลักชัยของการแก้ปัญหา คือ การต่อสู้กับความไม่รู้ การศึกษาจึงต้องปรับตัว ปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เราต้องยอมรับว่าโลกเปลี่ยนเข้าสู่ยุคที่ 4 แล้ว รัฐบาลจึงพยายามปฏิรูปอุตสาหกรรมและเป็นที่มาของไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งหลายคนถามว่า ตอนนี้ประเทศไทยอยู่ตรงไหนของไทยแลนด์ 4.0 และมีหลายคนที่ไม่รู้และแสดงความคิดเห็นในโลกโซเซียลมีเดีย
"วิกฤตที่เกิดขึ้นในโลกตอนนี้ คือการใช้โซเชียลมีเดียที่ควบคุมไม่ได้ ดังนั้นเราจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับคน รองรับการอยู่ในโลกยุคใหม่ และการที่เราจะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ เราต้องมองให้เห็นว่าเขาอยู่ตรงไหนในเรื่องอะไร และเราอยู่ตรงไหนมีศักยภาพอย่างไร ทุกฝ่ายต้องเข้ามามีส่วนร่วมขณะนี้ทุกคนรู้ว่าการสร้างคนในศตวรรษที่ 21 สร้างได้อย่างไร ซึ่งเป็นการสร้างอนาคตจะต้องสร้างเพื่อรองรับคนในอีก 20 ปีข้างหน้า มองว่าเขาจะมีงานทำ มีอาชีพที่มั่นคง ครองเรือนครองตนได้อย่างไร ไม่ใช่อนาคตข้างหน้าแล้วยังขึ้นทะเบียนสวัสดิการรัฐอยู่ สิ่งที่รัฐบาลทำวันนี้เป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดมา 80 ปี เราติดกับดักในความไม่รู้ ความขัดแย้ง ซึ่งจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ต้องสร้างคน"นายกฯ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า โครงการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษา จะต้องทำให้ครอบคลุมทุกกลุ่มจังหวัดตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ เพราะการค้าและการลงทุนต้องผูกติดกับการศึกษาแทบทั่งสิ้น ต้องสอนคนให้รักแผ่นดินในทางที่ถูกต้อง พร้อมกับลดความเหลื่อมล้ำให้ได้ อย่างไรก็ตาม โลกโซเชียลมีเดียรวดเร็วมากคนแสดงความคิดเห็นทั้งที่รู้จริงบ้างไม่จริงบ้าง ศธ.ต้องไปสร้างหลักคิดที่ถูกต้อง สร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและประชาชน ไม่ใช่ครูเปิดหนังสือแล้วสอนอย่างเดียว โดยสถานศึกษาต้องมีส่วนสร้างความเข้าใจให้เด็กได้รู้จักท้องถิ่นของตัวเอง เพราะเชื่อว่าเป้าหมายในการพัฒนาคนไทยทำได้ไม่ง่าย ซึ่งสถานศึกษาต้องไปคิดการผลิตผู้เรียนให้เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ ไม่ใช่จัดการเรียนการสอนพอเด็กเรียนจบสาขาต่างๆ ออกมาแล้วไม่มีงานทำก็มาด่ารัฐบาล ต้องสอนเด็กให้เรียนรู้ว่าเรียนในตำราแล้วจะไปทำงานอะไร ชีวิตในโลกการทำงานจะเป็นอย่างไร หรือสิ่งที่เรียนมาเพื่ออะไร สถานศึกษามีหน้าที่ทำสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งทราบมาว่าเด็กหลายคนไม่ชอบเรียนอะไรยากๆ เช่น วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เป็นต้น และพบว่าอาชีพที่ทุกคนอยากเป็นส่วนใหญ่ก็ทหาร หมอ ตำรวจ หรือบางเด็กบางคนก็อยากเป็นนายกรัฐมนตรี ดังนั้นจึงขอฝากโรงเรียนประชารัฐไปดูการสร้างความเป็นผู้นำด้วยจะทำอย่างไร ทั้งนี้ ไทยมีโรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาหลากหลายจำนวนมากแต่ทำไมคนไม่เก่งสักที เรื่องนี้ก็ต้องไปดูแก้ไขกันต่อไป แต่ทั้งนี้คนเชื่อว่าอีก 5 ปีข้างหน้านับจากวันประกาศเลือกตั้งประเทศไทยจะเข็มแข็งมากอย่างแน่นอน
ด้านนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานภาครัฐ กล่าวว่า โครงการโรงเรียนประชารัฐเกิดขึ้นมากกว่า 2 ปีแล้ว ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวไม่ใช่เป็นการทำงานบริการเพื่อสังคม แบบผ่านมาและผ่านไป แต่โครงการประชารัฐพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีโรงเรียนประชารัฐตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน จำนวน 3,351 แห่ง จากเป้าที่ตั้งไว้ 7,000 แห่ง และในระยะที่ 2 นี้ จะดำเนินการ 4,600 แห่ง โดยภาคเอกชนได้เข้ามาช่วยรัฐในการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพไม่ว่าจะเป็นการจัดทำเกณฑ์ประเมิน ซึ่งทำให้รู้ว่าต่อไปต้องพัฒนาคุณภาพโรงเรียนได้ และจะนำมาใช้ในการประเมิน รอบ 4 ในโรงเรียน 40,000 แห่ง ขณะเดียวกันโครงการประชารัฐยังทำให้เกิดผลเชิงระบบในด้านต่างๆทั้งด้านเทคโนโลยี โรงเรียนไฮสปีดอินเตอร์เน็ต โรงเรียนคุณธรรม ซึ่งทำให้ตนเห็นว่าการปฎิรูปการศึกษาทั่วโลกก็ไม่มีที่ไหนทำได้แบบประเทศไทยที่มีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมจนทำให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษามีทิศทางที่ถูกต้องจนขณะนี้จากเดิมที่เรามีภาคเอกชนเข้าร่วมเพียง 12 บริษัทจนเพิ่มเป็น 33 บริษัทเข้ามาร่วมมากขึ้นแล้ว ซึ่งถือว่าเกินเป้าหมาย
ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในฐานะหัวคณะทำงานภาคเอกชน กล่าวว่า การดำเนินโครงการสานพลังประชารัฐภาคเอกชนได้กำหนดเป้าหมายของการทำงาน คือ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพคน และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ โดยอยู่ภายใต้ของเกณฑ์การดำเนินการใน 5 ด้าน คือ 1.ความโปร่งใส 2.กลไลตลาดและวัฒนาธรมการมีส่วน 3.การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน 4.เด็กเป็นศูนย์กลางสร้างเสริมคุณธรรมและความมั่นใจ และ 5.การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐนดิจิทัลของสถานศึกษา
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |