คลังเตรียมชง ครม. ผุดมาตรการบรรเทาผลกระทบผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เปิดช่องนำรายจ่ายจากค่าแรงทั้งก้อนหักลดหย่อนภาษีได้ 1.15 เท่า
25 ม.ค. 61 - นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์หน้า กระทรวงการคลังจะเสนอให้มีการพิจารณามาตรการบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มียอดขายไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี และมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับลูกจ้าง ให้สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการจ้างแรงงานทั้งหมดมาหักลดหย่อนภาษีได้ 1.15 เท่า จากเดิมสามารถหักลดหย่อนได้ 1 เท่า โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. – 31 ธ.ค. 2561
โดยกระทรวงการคลังเชื่อว่ามาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าว จะช่วยลดภาระให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อย่างมาก เพราะการนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาคำนวณเป็นรายจ่าย ไม่ใช่เฉพาะค่าจ้างในส่วนที่ปรับเพิ่มขึ้นเหมือนมาตรการที่ผ่านมา ดังนั้นหากมีการคำนวณคร่าว ๆ จะพบว่ารัฐสามารถเข้าไปชดเชยค่าแรงให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้กว่าครึ่งหนึ่ง เช่น หากมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มอีก 20 บาทต่อวัน เมื่อนำมาคำนวณเป็นรายจ่ายจากค่าจ้างทั้งจำนวน จะพบว่ารัฐให้หักลดหย่อนภาษีได้ถึง 9-10 บาท
“เศรษฐกิจเริ่มดี ผู้ประกอบการก็มีรายได้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ควรเก็บไว้คนเดียว ต้องมีการกระจายรายได้ออกไปด้วย แรงงานก็ควรได้รับผลตอบแทนที่ดี จากที่ผ่านมาในช่วง 4 ปี ค่าแรงเพิ่มขึ้นแค่ 4% หรือเฉลี่ยปีละ 1% ซึ่งถือว่าต่ำมาก แม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้แต่ก็ไม่มากนัก เมื่อมาพิจารณาถึงผลที่ได้พบว่าสามารถช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้เอสเอ็มอีได้มาก” นายอภิศักดิ์กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |