11 ก.ย.61- ที่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงพฤติกรรมการดื่มสุราเป็นระยะเวลานาน ว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานานมีโอกาสกลายเป็นพิษสุราเรื้อรังได้ นั้น ตามนิยามจะพิจารณาจากการดื่ม คือ ต้องมีการกินเหล้าวันละแบน เบียร์วันละ 5ขวด ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จึงจะบอกว่าป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังได้ ซึ่งจะส่งผลให้เสียค่าใช้จ่ายและมีผลต่อเกือบทุกเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ประสาท คือจะทำให้การยับยั้งชั่งใจไม่ค่อยทำงาน ในขณะที่สมองสั่งการทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีผลต่อเซลล์ร่างกาย ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือด สูงกว่าคนปกติ 2-3 เท่า เส้นเลือดหัวใจตีบ และที่พบบ่อยมากที่สุดคือจะส่งผลทำให้ตับแข็ง
นพ.สมศักดิ์ ส่วนการเลิกเหล้านั้น ในภาวะถอนพิษสุรานั้นต้องดูความพร้อมของร่างกาย หากเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หากเลิกเหล้าจะมีอาการลงแดง โดยพบว่าการลงแดงรุนแรงประมาณ 5-10 % ของการลงแดงทั้งหมด ซึ่งจะมีอาการทางจิตเพราะแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นให้ประสาทเสื่อม ทำให้จิตหลอน คิดว่าจะมีคนมาทำร้าย ซึ่งต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ หากอาการไม่รุนแรงอาจจะรักษาเป็นผู้ป่วยนอกได้ ส่วนใหญ่พอไม่ดื่มแรกๆจะมีอาการซึม เหมือนออกอาการ พลุ่งพล่านอยู่ไม่สุข ควบคุมตัวเองไม่อยู่ จนถึงขั้นชักได้ ต้องให้ยากันชักไว้ก่อน ซึ่งจะพบใน 24-48 ชั่วโมงแรก หรือ 2 วันแรก ซึ่งการรักษานั้นใช้ระยะเวลาทั่วไปไม่เกิน 7 วัน แต่ที่ต้องระวังคือ ต้องไม่กลับไปดื่มซ้ำ และการเลิกอีกอย่างคือ ต้องขึ้นอยู่กับบุคคล คือในรายที่ดื่มมานานแล้วแต่ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวก็อาจจจะเลิกโดยหักดิบ และมีครอบครัวดูแล ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัวก็ควรพบแพทย์ โดย สธ.จะมีกรมที่รับผิดชอบดูแลเรื่องนี้ใน 2 กรม คือ กรมสุขภาพจิต โดยโรงพยาบาลจิตเวชและกรมการแพทย์ โดย รพ.ธัญลักษณ์ ที่ดูแลผู้ป่วยจากการได้สารเสพติดทุกชนิด รวมทั้งสุรา
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ยังไม่มีข้อมูลปัจจุบันถึงจำนวนผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรังว่ามีมากน้อยแค่ไหน แต่ต้องยอมรับว่าอัตราการดื่มในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่จากข้อมูลเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีคนเข้ารับการรักษาโรคพิษสุราเรื้อรังในโรงพยาบาล โดยพบว่า เป็นอาการทางจิตราวๆ 5 หมื่นกว่าคน และอาการทางกายอีกประมาณ 5 หมื่นคน แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่าแต่ไม่มีคนพูดถึง คือ พิษอาการสุราเฉียบพลัน เพราะแม้จะนานๆ ดื่มที แต่หากดื่มปริมาณมากๆ ระดับดีกรีสูง ก็จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเจ็บตายได้ ซึ่งจากการประเมินของห้องฉุกเฉินตามโรงพยาบาลต่างๆ พบว่า ผู้ประสบอุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่มา 50% มีสาเหตุมาจากการเมาสุราเป็นหลัก
ผู้สื่อข่าวถามว่า คนที่ติดสุราเรื้อรังมานานกว่า หลังรักษาแล้วสุขภาพจะต่างกับคนที่ติดสุราเรื้อรังเป็นเวลาน้อยกว่าหรือไม่ นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า คนที่ติดสุราเรื้อรังสั้นกว่า เมื่อรักษาแล้วย่อมมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็ว นั่นเพราะเมื่อติดสุราไปนานๆ ร่างกายอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงจนมีโรคประจำตัวต่างๆ หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ ขึ้นมาได้ แต่หากคนที่ติดสุราเรื้อรังมานาน แต่ยังไม่มีโรคประจำตัวเกิดขึ้น หลังรักษาแล้วสุขภาพก็จะไม่แตกต่างกับคนที่ติดมาสั้นกว่าแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า หากติดสุราแล้วและเลิกได้ไวกว่าย่อมดีที่สุด เพราะยิ่งดื่มนาน ติดสุรานานกว่า ย่อมมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ มากกว่า ส่วนที่ว่าหลังรักษาแล้วจะมีโอกาสเป็นโรคประจำตัวมากกว่าคนทั่วไปหรือไม่นั้น อย่างที่บอกว่า หากยังไม่มีโรคเกิดขึ้นก็กลับมามีสุขภาพที่ดีได้ แต่หากมีโรคเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องมาดูแลรักษาโรคเหล่านี้กันต่อ เพราะบางคนอาจเกิดความดัน หรือตับเริ่มมีปัญหาไปแล้ว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |