กลุ่มพยาบาลยื่นข้อเสนอสามารถจ่ายยา กรณีฉุกเฉิน ภาวะวิกฤต เพื่อช่วยชีวิตได้ ด้านสธ.ขอไปปรึปษาผู้บริหารก่อนสรุป


เพิ่มเพื่อน    


11 ก.ย.61- ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองปลัด สธ. ว่าที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) คนใหม่ นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการ อย. ได้ประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. ยา พ.ศ. ...ร่วมกับวิชาชีพพยาบาล โดยใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมหารือว่า ในการประชุมเพื่อขอความคิดเห็นร่วมกับตัวแทนวิชาชีพพยาบาลต่างๆ  อาทิ สภาพยาบาล  สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สมาคมผู้บริหารการศึกษาพยาบาล พยาบาลด้านบริหารพยาบาล และ พยาบาลผู้ปฏิบัติงานใน รพสต.และ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ.... ในภาพรวมวันนี้ถือว่าวิชาชีพพยาบาลที่เข้าร่วมหารือเห็นพ้องกันว่าร่างดังกล่าวมีประโยชน์ต่อประเทศ  ซึ่งมีความมีความเห็นพ้องทั้งการคุ้มครองผู้บริโภค การวางมาตรการขายยาออนไลน์  การวางมาตรการเพื่อสนับสนุนการผิตยาในประเทศ ที่เป็นเนื้อหาหลักของตัวร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ที่มีการพูดถึงกันน้อยส่วนประเด็นที่มีความเห็นต่างกัน ก็คงเป็นประเด็นเดิม ซึ่ง สธ.ก็รับฟังความคิดเห็น และสามารถสรุปออกมาได้เป็น 3 ประเด็น คือ 1.ประเด็นเห็นต่างในมาตรา22(5) ที่กำหนดเรื่องการจ่ายยา โดยพยาบาลต้องการให้เพิ่มวิชาชีพพยาบาลเข้าไปด้วย โดยขอย้ำว่า การจ่ายยาและ ขายยาไม่เหมือนกัน 2. การแยกประเภทยา ที่นิยามตามมาตรา4 เดิมกำหนดให้มี 3 ประเภท ซึ่งทางสภาพยาบาลมีความเห็นว่า หากจะให้การทำงานของพยาบาลเป็นไปได้ในปัจจุบัน ควรมีการแยกประเภทที่ชัดเจน ซึ่งอาจต้องมี 4 ประเภทและ3. กรณีภาวะฉุกเฉิน วิกฤต กับชีวิตประชาชน ผู้ป่วยให้พยาบาลสามารถให้ยาเพื่อช่วยชีวิตฉุกเฉินได้ โดยมีการยกตัวอย่างว่าตาม รพสต.ไม่มีแพทย์หรือเภสัชอยู่เลย

ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูเหมือนว่ายังคงเป็นความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันกับกลุ่มวิชาชีพเภสัชกรที่มีมีการหารือกันก่อนหน้านี้ ฉะนั้นทางออกต้องทำอย่างไรต่อไป นพ.โอภาส กล่าวว่า ได้มีการพูดคุยกับที่ประชุมในประเด็นนี้ ว่า ตามขั้นตอนออกกฎหมาย ต้องมีการเสนอเข้า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการ ก่อนจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไปคือ เข้าสู่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ซึ่งก็จะมีการเชิญผู้เกี่ยวข้องไปชี้แจง และกลับมาสู่ ครม. และเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป โดยยังต้องใช้เวลาอีกนาน เพราะฉะนั้น การที่มีความเห็นต่างกันหรือมีข้อขัดแย้งการนำเข้าสู่ ครม.ก็คงลำบาก เพราะฉะนั้นต้องหาข้อสรุปโดยเร็ว ก่อนนำเรื่องเข้าสู่ ครม.ดังนั้นทางกระทรวงจะได้นำข้อเสนอ ทั้ง 3 ข้อของวิชาชีพพยาบาล เข้าหารือกับผู้บริหารให้รับทราบ และส่งเรื่องเข้าคณะกรรมการร่าง พ.ร.บ. อีกครั้ง ในประเด็นที่เห็นต่างกันว่าจะทำอย่างไรให้ได้ข้อสรุปก่อนส่งเรื่องเข้า ครม.ต่อไป ซึ่งหากหาข้อสรุปไม่ได้ จนเสนอ ครม.ไม่ได้ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันว่า สุดท้ายก็ต้องกลับไปใช้ พ.ร.บ. พ.ศ.2510  ซึงแปลว่าประเทศชาติจะเสียประโยชน์ในข้อดีของกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศในข้ออื่นๆต่อไป เพราะกฏหมายใหม่จะส่งเสริมการผลิตยาในประเทศ และขอย้ำในในประเด็นที่หลายคนไม่ค่อยพูดถึง  คือการทำให้การคุ้มครองผู้บริโภคโดยเฉพาะเรื่องการโฆษณาทางออนไลน์ โซเชียลมิเดียมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เมื่อถามว่า ผลการสำรวจของสำนักโพลแห่งหนึ่ง พบว่าประชาชนยังมีความมั่นใจให้เภสัชกรเป็นคนจ่ายยา และยังไม่มีความมั่นใจในวิชาชีพอื่น ในข้อนี้ได้มีการพูดคุยกันอย่างไรบ้าง  นพ.โอภาส กล่าวว่า โดยหลักการเห็นพ้องว่า แต่ละวิชาชีพมีความเชี่ยวชาญที่ต่างกัน แต่บางทีในสถานการณ์ที่อยู่ชายแดน ต่างจังหวัด เช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่สามารถหาวิชาชีพไปอยู่ได้ครบเพราะฉะนั้นบางครั้ง ดังนั้นต้องดูบริบทที่เป็นจริงและปรับให้สอดคล้องกัน ก็ต้องอนุญาตให้บางวิชาชีพดำเนินการจ่ายยาบางอย่างทดแทนได้ เพื่อประโยชน์ประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาวิชาชีพพยาบาลก็ทำหน้าที่แทนและเกิดผลดีกับประชาชน แต่โดยหลักการสากลที่ให้แยกวิชาชีพก็เห็นด้วย เพียงแต่จะเหมาะกับประเทศไทยและมีขั้นตอนอย่างไรก็คงต้องหารือกัน และพิจารณาอย่างรอบคอบ

รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า วันนี้พยาบาลเรามา 10 องค์กรด้วยกัน ก็ได้ทำความเข้าใจกับทาง สธ.ถึงภารกิจในการรักษาโรคเบื้องต้น ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายวิชาชีพ ส่วนร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับใหม่ ภาพรวมเกิดประโยชน์ต่อประเทศหลายด้าน ซึ่งปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปมาก การปรับปรุงกฎหมายจึงควรครอบคลุมถึงการประกอบวิชาชีพการพยาบาลในการรักษาโรคเบื้องต้นด้วย เราจึงสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่ที่ผ่านการประชาพิจารณ์แล้ว โดยเฉพาะมาตรา 4 ที่แบ่งยาแผนปัจจุบัน 4 ประเภท จะครอบคลุมยาแผนปัจจุบันที่พยาบาลจะจ่ายได้ตามที่กำหนดไว้ในการรักษาโรคเบื้องต้น ซึ่งเรามีข้อกำหนดการรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับพยาบาลและคู่มือการใช้ยารักษาโรคเบื้องต้น โดยได้รับความเห็นชอบจากแพทยสภา ทันตแพทยสภา และสภาเภสัชกรรม ส่วนมาตรา 22(5) ก็สนับสนุนให้วิชาชีพพยาบาลเป็นอีกชาชีพหนึ่งนอกจาก 3 วิชาชีพทีจ่ายยาได้

 นางประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการพยาบาล กล่าวว่า การแบ่งยาเป็น 4 ประเภทที่พยาบาลเสนอ คือ เป็นไปตามร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่ คือ ยาควบคุมพิเศษ ยาอันตราย ยาแผนปัจจุบันที่ไม่ใช่ยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษ ซึ่งยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่วิชาชีพพยาบาลและวิชาชีพอื่นสามารถจ่ายได้ และยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งเราไม่เห็นด้วยกับสภาเภสัชกรรมที่ให้เหลือเพียง 3 ประเภท โดยยาแผนปัจจุบันที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ก็สามารถออกกฎกระทรวงออกมารองรับได้ว่า เป็นยาอะไรบ้าง อย่างไรก็ตาม ตนไม่เข้าใจว่าทำไมเรื่องการจ่ายยาถึงบิดกลายเป็นเรื่องการขายยา เพราะการขายยาหรือเปิดร้านยานั้นในกฎหมายระบุชัดอยู่แล้วว่า จะต้องเป็นเภสัชกร และพยาบาลคงไม่ไปเปิดร้าน แต่เราแค่จ่ายยาในผู้ป่วยที่เราดูแลรักษาโรคเบื้องต้น ซึ่งมียา 18 กลุ่ม และจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ที่ให้ผู้ป่วยมารับ เช่น มารับที่ รพ.สต. เท่านั้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"